การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)

การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา [1][2] การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้

รูปแบบ แก้

การเรียนเชิงสัมพันธ์ แก้

การเรียนเชิงสัมพันธ์ (อังกฤษ: Associative learning) คิอกระบวนการที่บุคคลหรือสัตว์เรียนผ่านการสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าสองสิ่ง หรือเหตุการณ์สองเหตุการณ์[3] ในการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม สิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางจะถูกจับคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนอง จนในที่สุดสิ่งเร้านั้นจะทำให้ตอบสนองด้วยตัวมันเอง ในการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ พฤติกรรมที่ถูกส่งเสริมหรือลงโทษระหว่างที่ได้รับสิ่งเร้านั้น จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยลงเมื่อมีสิ่งเร้านั้น ๆ ในบริเวณ

อ้างอิง แก้

  1. "Jungle Gyms: The Evolution of Animal Play". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-26.
  2. What behavior can we expect of octopuses?
  3. Plotnik, Rod; Kouyomdijan, Haig (2012). Discovery Series: Introduction to Psychology. Belmont, CA: Wadsworth Cengage Learning. p. 208. ISBN 978-1-111-34702-4.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้