การสัมพันธ์

การเชื่อมโยงระหว่างมโนคติกับสภาพจิตใจเนื่องมาจากความคล้ายหรือใกล้เคียงในจิตวิทยา

การสัมพันธ์ (อังกฤษ: association) หมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ทางจิตระหว่างแนวคิด (concept), เหตุการณ์ (event) หรือสภาวะจิต (mental state) ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์เฉพาะ[1]   เราสามารถพบแนวคิดเรื่องการสัมพันธ์ได้ในหลายสำนักคิด (schools of thought) ในสาขาวิชาจิตวิทยาเช่น พฤติกรรมนิยม, สนธิการนิยม (associationism) , จิตวิเคราะห์, จิตวิทยาสังคม, และ โครงสร้างนิยม (structuralism) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในวิชาจิตวิทยาร่วมสมัยในหลายสาขา เช่น ความจำ, การเรียน และในการศึกษาวิถีประสาท[2] มโนทัศน์ (idea) นี้เริ่มมาจากเพลโตกับแอริสตอเติล โดยเฉพาะเรื่องการสืบทอดความจำ และถูกนำไปต่อยอดโดยนักปรัชญาเช่น จอห์น ล็อก, เดวิด ฮูม, เดวิด ฮาร์ตลี (David Hartley) และเจมส์ มิลล์ (James Mill)[3]

การ์ตูนล้อเลียนในนิตยสาร เลอชารีวารี ฉบับวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1834 สัมพันธ์พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสกับลูกแพร์ วาดโดยชาร์ล ฟีลีปง

การสัมพันธ์ที่เกิดจากการเรียน

แก้

การเรียนเชิงสัมพันธ์คือ เมื่อมนุษย์หรือสัตว์สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (ทางเสียง หรือภาพ) หรือพฤติกรรม (ทางเสียง หรือภาพ) อย่างใดอย่างหนึ่ง กับสิ่งเร้าเดิม (ทางเสียง หรือภาพ) ยิ่งสิ่งเร้ามีความเป็นรูปธรรมมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสปลุกภาพความรู้สึกที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางของการเรียนเชิงสัมพันธ์และการจำได้[4] ความสามารถในการสัมพันธ์เป็นรากฐานของการเรียนรู้[5] ความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี มีงานวิจัยเพียงพอที่แสดงถึงความสามารถในการสร้างหรือนึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ที่ลดลงอันเนื่องมาจากชราภาพ[6] การเรียนรู้ในรูปแบบนี้สามารถพบเจอได้ในทั้งการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมและการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (operant conditioning)

กฎแห่งผล

แก้

เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์ (Edward Thorndike) ได้พัฒนากฎแห่งผล (อังกฤษ: law of effect) ขึ้นมา โดยผลพวงของการตอบสนองจะส่งผลต่อการสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าหนึ่งกับการตอบสนองนั้น ๆ[7] เช่น พฤติกรรมจะเกิดบ่อยและ/หรือแรงขึ้นหากผลที่ตามมาคือรางวัล สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับภาพแทนทางจิต ( mental representation) ของรางวัล (เช่น อาหาร) ในทางกลับกันการได้รับผลพวงที่เป็นลบก็จะลดอัตราการเกิดของพฤติกรรม เนื่องจากการสัมพันธ์ที่เป็นลบ[7]

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม

แก้

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมเป็นตัวอย่างของการสัมพันธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ กระบวนการการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมประกอบไปด้วยสี่องค์ประกอบ: สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus (UCS)), การตอบสนองไม่มีเงื่อนไข (unconditioned response (UCR)), สิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditioned stimulus (CS)), และการตอบสนองมีเงื่อนไข (conditioned response (CS))[1]

แม้ไม่มีการวางเงื่อนไขแต่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขกับการตอบสนองไม่มีเงื่อนไขมีอยู่แล้ว เมื่อจับคู่สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขกับสิ่งเร้าสิ่งอีกอันหนึ่ง การตอบสนองไม่มีเงื่อนไขก็จะสัมพันธ์กับสิ่งเร้าทั้งสองนั้น สิ่งเร้าอันที่สองเรียกว่าสิ่งเร้ามีเงื่อนไข และมันจะกระตุ้นการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข[8]

ในขณะที่สิ่งเร้ามีเงื่อนไขกำลังถูกสัมพันธ์กับสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข ความแรงของการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีเงื่อนไขจะเพิ่มขึ้นตามเวลาของการเรียนรู้ ความแรงของการตอบสนองอาจลดลงได้หากสิ่งเร้ามีเงื่อนไขถูกนำเสนอโดยไม่มีสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข[8] ในการทดลองอันโด่งดังของปัฟลอฟ เขาใช้การตอบสนองแบบไม่มีเงื่อนไขของสุนัขที่จะน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหารและจับคู่มันกับเสียงกระดิ่งซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขเมื่อให้อาหาร หลังจากนั้นเมื่อสั่นกระดิ่งสุนัขจะน้ำลายไหลเป็นการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข แม้จะไม่มีอาหารอยู่ก็ตาม แสดงให้เห็นถึงการสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาระหว่างกระดิ่งและอาหาร[9][10]

การวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ

แก้

ในการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (อังกฤษ: operant conditioning) พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปเนื่องจากผลของการกระทำที่ได้ประสบในภายหลัง สิ่งเร้าไม่ได้ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบในการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม แต่เกิดการสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับผลที่ตามมา เป็นการขยายความโดยธอร์นไดค์ในกฎของผลของเขา[10][8]

บี. เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) โด่งดังจากการศึกษาเรื่องตัวเสริม (reinforcer) พฤติกรรม งานของเขารวมถึงลักษณะของเงื่อนไข (contingency) ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงความระหว่างการกระทำกับผลที่ตามมาหรือการเสริม (reinforcement)[8] สกินเนอร์บรรยายถึงเงื่อนไขสามรูปแบบ: การเสริมบวก การเสริมลบ และการลงโทษ การเสริมสร้างการสัมพันธ์ด้านบวกระหว่างการกระทำและผลที่ตามมาเพื่อสนับสนุนการกระทำนั้นต่อไป นี่สามารถทำได้สองรูปแบบคือการเสริมบวกจะนำเข้าสิ่งเร้าที่เป็นรางวัลและในทางตรงกันข้ามการเสริมลบจะเอาสิ่งเร้าซึ่งรังเกียจออกไปเพื่อให้สิ่งแวดล้อมน่ารังเกียจน้อยลง การลงโทษจะสร้างการสัมพันธ์ลบระหว่างการกระทำและผลที่ตามมาซึ่งจะทำให้ไม่มีการกระทำนั้นต่อไปอีก[8]

พื้นอารมณ์

แก้

เนื้อหาโดยรวมของพื้นอารมณ์ (อังกฤษ: mood) เมื่อเทียบกับความรู้สึก, อารมณ์, และสภาวะอารมณ์ (affect) จะมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าและมีโอกาสถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าและเหตุการณ์มากกว่า การศึกษาในปัจจุบันสืบหาส่วนประกอบของประสบการณ์โดยตรงของพื้นอารมณ์อย่างหนึ่งเช่น สภาวะเศร้า หรือโกรธ พื้นอารมณ์ปกติถูกนิยามด้วยการเปรียบเทียบกับอารมณ์ มีหลายเกณฑ์เพื่อแยกแยะพื้นอารมณ์ออกจากอารมณ์แต่มีการตกลงกันอย่างกว้างขวางว่าคุณสมบัติแยกแยะที่สำคัญคือพื้นอารมณ์นั้นกระจัดกระจายและสากลกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอารมณ์[11] วอตสันได้แนะนำกระต่ายขนปุยสีขาวต่อเด็กทารกและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกระต่ายและเสียงดัง การทดลองนี้ทำให้หนูน้อยอัลเบิร์ตซึ่งเป็นเด็กทารกคนนั้นสัมพันธ์กระต่ายกับความกลัว[5]

ความจำ

แก้

ความจำ (อังกฤษ: memory) ดูแล้วปฏิบัติการเป็นลำดับของการสัมพันธ์: แนวคิด, คำ, และความคิดเห็น (opinion) ถูกนำมาพัวพันกัน จนสิ่งเร้าเช่นใบหน้าคนจะทำให้จำชื่อคนนั้นที่สัมพันธ์ไว้ได้[12][13] การเข้าใจผลกระทบของพื้นอารมณ์ต่อความจำเป็นเรื่องหลัก ๆ ในหลายปัญหาของวิชาจิตวิทยา มันเป็นหัวข้อหลักในหลายทฤษฎีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอารมณ์กับการรับรู้ ผลกระทบของพื้นอารมณ์ต่อความจำอาจเป็นตัวกลางให้อิทธิพลของพื้นอารมณ์ต่อพฤติกรรมและการตัดสิน (judgement) อันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ, การช่วยเหลือ, และการรับรู้ตัวบุคคล (Social perception) [14] การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุต่าง ๆ เป็นพื้นฐานของความจำแบบอาศัยเหตุการณ์ และความเสียหายต่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัสถูกพบว่าทำให้การเรียนการสัมพันธ์ระหว่างวัตถุถดถอย[15]

การทดสอบการสัมพันธ์

แก้

การสัมพันธ์ในมนุษย์สามารถวัดได้ด้วยการทดสอบการสัมพันธ์โดยนัย (อังกฤษ: implicit association test) การทดสอบทางจิตวิทยาที่วัดความสัมพันธ์โดยนัย (ใต้สำนึก) ระหว่างแนวคิดสองอย่าง ถูกสร้างขึ้นโดย แอนโธนี จี. กรีนวอลด์ ในปีค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)[16]. มันถูกใช้ในการสืบค้นความลำเอียงต่อเชื้อชาติ, เพศหรือรสนิยมทางเพศใต้สำนึก, ความพอใจของผู้บริโภค (Preference (economics)) , ความพึงใจทางการเมือง, ลักษณะบุคลิกภาพ, การดื่มสุราและการเสพยา, สุขภาพจิต และ ความสัมพันธ์ (interpersonal relationship)[17]การทดสอบนี้วัดการสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพต่าง ๆ เช่นเชื้อชาติกับอาชญากรรม ใช้เวลาตอบสนอง (mental chronometry) ในการแยกแยะการสัมพันธ์ เวลาตอบสนองที่เร็วเป็นตัวบ่งบอกถึงการสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกว่า[18]

โดยในการทดลองนี้ใช้คะแนน D (effect size) เพื่อแทนเวลาตอบสนองเฉลี่ยของผู้เข้าร่วม ถ้าคะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมเป็นลบ บุคคลนั้นจะถือว่ามีความเอนเอียงโดยนัย (implicit stereotype) น้อย ถ้าเวลาตอบสนองเฉลี่ยเป็นบวก จะถือว่ามีความเอนเอียงโดยนัยมากกว่า คะแนน D นี้คำนวณโดยการลบผลการทดลองที่มากกว่า 10,000 มิลลิวินาทีทิ้ง และลบผู้เข้าร่วมที่ตอบเร็วกว่า 300 มิลลิวินาทีเกินหนึ่งในสิบผลการทดลองทิ้ง เพื่อกำหนดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมของการทดลองทั้งหมดในส่วนที่ 3 กับ 4 และส่วนที่ 6 กับ 7 เวลาตอบสนองเฉลี่ยถูกกำหนดสำหรับส่วนที่ 3, 4, 6 และ 7 ค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างส่วนที่ 6 และ 3 (ค่าเฉลี่ยส่วนที่ 6 - ค่าเฉลี่ยส่วนที่ 3) กับ ค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างส่วนที่ 7 และ 4 (ค่าเฉลี่ยส่วนที่ 7 - ค่าเฉลี่ยส่วนที่ 4) จะถูกคำนวณโดยนำค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมของแต่ละอัน จะเท่ากับค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนทั้งสองที่คิดมาได้[19]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Klein, Stephen (2012). Learning: Principles and Applications (6 ed.). SAGE Publications. ISBN 978-1-4129-8734-9.
  2. Smith, E. E. & Kosslyn, S. M. (2007)
  3. Boring, E. G. (1950)
  4. Paivio, Allan (1969). "Mental Imagery in Associative Learning and Memory". Psychological Review. 76 (3): 241–263. doi:10.1037/h0027272.
  5. 5.0 5.1 Eich, Eric; Forgas, Joseph (2003). "Mood, Cognition, and Memory". ใน Healy, Alice; Proctor, Robert (บ.ก.). Handbook of Psychology. Vol. 4. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
  6. Clark, Rachel; Hazeltine, Eliot; Freedberg, Michael; Voss, Michelle (2018). "Age Differences in Episodic Associative Learning". Psychology and Aging. 1 (33): 144–157. doi:10.1037/pag0000234. PMID 29494185.
  7. 7.0 7.1 Miller, Ralph; Grace, Randolph (2003). "Conditioning and Learning". ใน Healy, Alice (บ.ก.). Handbook of Psychology. Vol. 4. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Klein, Stephen (2012). Learning: Principles and Applications (6 ed.). SAGE Publications. ISBN 978-1-4129-8734-9.
  9. Timberlake, 1994
  10. 10.0 10.1 Shettleworth, S. J. (2010)
  11. Siemer, Matthias (1954). "Mood-congruent cognitions constitute mood experience". Emotion. 5 (3): 296–308. doi:10.1037/1528-3542.5.3.296. JSTOR 2005. PMID 16187865.
  12. Watier & Collin 2012
  13. Gazzaniga, Ivry & Mangun, 2009
  14. Parrot, Gerrod; Sabini, John (1990). "Moody and Memory Under Natural Conditions: Evidence for Mood Incongruent Recall" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 59 (2): 321. doi:10.1037/0022-3514.59.2.321.
  15. Stark, Bayley & Squire, 2002
  16. Greenwald, Anthony G.; Banaji, Mahzarin R. (1995). "Implicit social cognition: Attitudes, self-esteem, and stereotypes". Psychological Review. 102 (1): 4–27. doi:10.1037/0033-295x.102.1.4. ISSN 1939-1471. PMID 7878162.
  17. Uhlmann, Eric Luis Greenwald, Anthony Poehlmann, Andrew Banaji, Mahzarin. Understanding and Using the Implicit Association Test: III. Meta-Analysis of Predictive Validity. OCLC 802355222.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Greenwald, McGhee & Schwartz, 1998
  19. Lane, K.A.; Banaji, M.R.; Nosek, B.A.; Greenwald, A.G. (2007). Understanding and Using the Implicit Association Test:IV. What we know (So Far). Implicit measures of attitudes: Procedures and controversies. New York: Guilford Press. pp. 58–102.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้