การอธิษฐานในศาสนาพุทธ

อธิษฐาน ( อ่าน อะ-ทิด-ถาน ) มีสองความหมาย ความหมายแรกคือ การตั้งมั่นหรือการตัดสินใจ และความหมายที่สองคือ การตั้งใจหรือการผูกใจ

อธิษฐานในความหมายของการตั้งมั่น แก้

อธิษฐาน แปลว่า การตั้งมั่น การตัดสินใจ การตั้งความปรารถนา ทั่วไปหมายถึงการตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, การตั้งจิตร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์, การนึกปรารถนาสิ่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระ นึกอธิษฐานในใจ ขอให้เดินทางแคล้วคลาด เป็นต้น

คำว่า อธิษฐาน ในคำวัด หมายถึง ความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจรักษาสัจจะ ตั้งใจประกอบความเพียร ตั้งใจเสียสละ ตั้งใจทำบุญ ตั้งใจหาความสงบ เป็นต้น

อธิษฐานในความหมายของการตั้งใจ แก้

อธิษฐาน แปลว่า การตั้งใจไว้ การผูกใจไว้ ใช้คู่กับคำว่า ปัจจุธรณ์ ที่แปลว่า ถอนคืน, การถอนคืน เป็นภาษาพระวินัย คือมีธรรมเนียมว่าเมื่อพระสงฆ์ได้ผ้ามาใหม่ ตั้งใจจะใช้เป็นผ้าชนิดใด เช่น เป็นสบงสำหรับนุ่ง เป็นจีวรสำหรับห่ม ก็อธิษฐาน คือตั้งใจกำหนดผูกใจไว้ ว่า จะใช้สอยเป็นผ้าชนิดนั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วเป็นอันถูกต้อง และใช้สอยได้ตามพระวินัย เรียกผ้านั้นว่า ผ้าอธิษฐาน ผ้าครอง หรือ สบงอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน

แม้บาตรก็ต้องอธิษฐานก่อนนำใช้บิณฑบาตทุกครั้งเช่นกัน โดยว่าดังนี้ ๓ หน “อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ” เมื่ออธิษฐานแล้วเรียกว่า บาตรอธิษฐาน

มีคำสำหรับอธิษฐานตามพระวินัยโดยเฉพาะเมื่อต้องการจะเลิกใช้หรือเปลี่ยนใหม่ก็ทำได้โดยการปัจจุธรณ์เสียก่อน

คำขอขมาและอธิฐานจิต

อธิฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดมนต์ก่อนนอน

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะคะตัง สัพพัง ทะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต



อ้างอิง แก้