การสังหารหมู่ที่โฆจาลือ

การสังหารหมู่ที่โฆจาลือ (อังกฤษ: Khojaly massacre) เป็นการสังหารหมู่พลเรือนชาวอาเซอร์ไบจานในเมืองโฆจาลือเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1992 โดยกองกำลังติดอาวุธชาวอาร์มีเนียและกรมทหารราบยานยนต์ที่ 366 พิทักษ์รัฐของเครือรัฐเอกราช[3][6][7][5][8] เหตุการณ์นี้ได้กลายมาเป็นการสังหารหมู่ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในคราเดียวตลอดทั้งความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค[9]

การสังหารหมู่ที่โฆจาลือ
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่ 1
อนุสรณ์ถึงการสังหารหมู่ที่โฆจาลือที่เฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
สถานที่โฆจาลือ นากอร์โน-คาราบัค
เป้าหมายพลเรือนชาวอาเซอร์ไบจาน
ตายมากกว่า 200 คน (ตามฮิวแมนไรตส์วอตช์)[1][2]
485 คน (ตามรัฐสภาอาเซอร์ไบจาน)[3]
613 คน (ตามรัฐบาลอาเซอร์ไบจาน)[4]
ผู้ก่อเหตุกองกำลังอาร์มีเนีย
กรมทหารราบยานยนต์ที่ 366 พิทักษ์รัฐ[5]

ในปี 1992 โฆจาลือเป็นเมืองที่มีประชากรหลักเป็นชาวอาเซอร์ไบจานในแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน มีประชากรราว 6,300 คน และเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งเดียวในภูมิภาค[10] เมืองตกอยู่ภายใต้การระดมยิงรายวันและการปิดกั้นเมืองของกองกำลังชาวอาร์มีเนียในระหว่างสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่ 1 เมืองตกอยู่ในสภาพที่ถูกตัดขาดจากไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปา อยู่ภายใต้การป้องกันของกองกำลังอาวุธเบา 160 คน กองกำลังของอาร์มีเนียร่วมกับกรมทหารราบยานยนต์ที่ 366 ได้เปิดการรุกเมืองในต้นปี 1992 บังคับให้ประชากรชาวอาเซอร์ไบจานเกือบทั้งหมดในเมืองต้องหลีกหนีออกไป และ "ก่อความรุนแรงเกินเหตุแก่พลเรือน" ในขณะที่พวกเขาหลบหนีออกจากเมือง[1]

ในคืนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1992 กองกำลังของอาร์มีเนียยึดครองเมืองได้และจับพลเรือนที่เหลืออยู่เป็นตัวประกัน บางส่วนถูกสังหาร ในเวลาเดียวกัน พลเรือนชาวอาเซอร์ไบจานกลุ่มใหญ่รวมถึงสมาชิกกองกำลังป้องกันตนเองบางส่วนได้พยายามหลบหนีออกจากเมืองและมุ่งหน้าไปยังพื้นที่ที่อาเซอร์ไบจานควบคุม อย่างไรก็ตาม กองกำลังของอาร์มีเนียได้ระดมยิงใส่ฝูงชนที่กำลังหนีนี้ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย[11][10][2]

การสังหารหมู่ครั้งนี้เป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่ 1 ยอดผู้เสียชีวิตตามข้อมูลของทางการอาเซอร์ไบจานอยู่ที่ 613 ราย ในจำนวนนี้เป็นสตรี 106 ราย และเด็ก 63 ราย[4] ส่วนฮิวแมนไรตส์วอตช์รายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 ราย กระนั้นยอดผู้เสียชีวิตอาจสูงถึง 500–1,000 ราย[2][11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Human Rights Watch World Report 1993 – The Former Soviet Union". Hrw.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015. สืบค้นเมื่อ 28 April 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 Human Rights Watch/Helsinki (1994). Azerbaijan: Seven Years of Conflict in Nagorno-Karabakh. New York [u.a.]: Human Rights Watch. p. 5. ISBN 1-56432-142-8. สืบค้นเมื่อ 12 March 2014.
  3. 3.0 3.1 de Waal, Thomas (2004). Black garden: Armenia and Azerbaijan through peace and war. ABC-CLIO. pp. 172–173. ISBN 0-8147-1945-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2016.
  4. 4.0 4.1 "Letter dated 26 February 2015 from the Permanent Representative of the Republic of Azerbaijan to the United Nations Office at Geneva addressed to the President of the Human Rights Council". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2016.
  5. 5.0 5.1 Denber, Rachel; Goldman, Robert K. (1992). Bloodshed in the Caucasus: Escalation of the Armed Conflict in Nagorno Karabakh (ภาษาอังกฤษ). Human Rights Watch. p. 24. ISBN 978-1-56432-081-0.
  6. "New York Times – massacre by Armenians Being Reported". Commonwealth of Independent States; Azerbaijan; Khojaly (Armenia) ; Armenia: Select.nytimes.com. 3 March 1992. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2014.
  7. Smolowe, Jill (16 March 1992). "TIME Magazine – Tragedy Massacre in Khojaly". Time.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2005. สืบค้นเมื่อ 28 April 2014.
  8. Small Nations and Great Powers: A Study of Ethnopolitical Conflict in the Caucasus By Svante E. Cornell
  9. "Armenian and Azerbaijani leaders embrace denialism". eurasianet.org. Eurasianet. 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.
  10. 10.0 10.1 "ДОКЛАД ПРАВОЗАЩИТНОГО ЦЕНТРА «МЕМОРИАЛ» О МАССОВЫХ НАРУШЕНИЯХ ПРАВ ЧЕЛОВЕКА, СВЯЗАННЫХ С ЗАНЯТИЕМ НАСЕЛЕННОГО ПУНКТА ХОДЖАЛЫ В НОЧЬ С 25 НА 26 ФЕВРАЛЯ 1992 г. ВООРУЖЕННЫМИ ФОРМИРОВАНИЯМИ" (PDF). memohrc.org. Memorial. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  11. 11.0 11.1 "Response to Armenian Government Letter on the town of Khojaly, Nagorno-Karabakh". hrw.org. Human Rights Watch. 23 March 1997. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021. Yet we place direct responsibility for the civilian deaths with Karabakh Armenian forces.