การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (ออสเตรเลีย)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การสังหารหมู่ที่พอร์ตอาร์เทอร์ เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญในออสเตรเลีย ที่ในเหตุการณ์นั้นมีผู้เสียชีวิต 35 ราย และบาดเจ็บ 37 ราย เกิดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยนาย มาร์ติน ไบรแอนต์ (Martin John Bryant) ชายวัย 28 ปีจากเมืองนิวทาวน์ โดยบริเวณเกิดเหตุส่วนใหญ่คือสวนประวัติศาสตร์พอร์ตอาร์เทอร์ เขาถูกพิพากษาว่าเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตถึง 35 ชีวิต[1] และถูกจองจำตลอดชีวิตโดยไม่มีโอกาสได้รับการอภัยโทษ ปัจจุบัน ผู้ต้องหารายนี้ถูกคุมขังอยู่ที่ ศูนย์จองจำวิลเฟรด (Wilfred Lopes Centre) ใกล้กับเรือนจำริสดอน (Risdon Prison) [2] เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่สุดในออสเตรเลีย และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สะเทือนขวัญของโลกในปัจจุบัน
การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ | |
---|---|
พอร์ตอาร์เทอร์ในแทสเมเนียซึ่งเกิดเหตุกราดยิง | |
สถานที่ | พอร์ตอาร์เทอร์, แทสเมเนีย, ออสเตรเลีย |
พิกัด | 43°8′12″S 147°51′10″E / 43.13667°S 147.85278°E |
วันที่ | 28 เมษายน พ.ศ. 2539 13.00 น. (UTC+10) |
เป้าหมาย | สวนประวัติศาสตร์พอร์ตอาร์เทอร์ |
ประเภท | การสังหารหมู่ |
อาวุธ | ปืนเออาร์-15 |
ตาย | 35 ราย |
เจ็บ | 23 ราย |
ผู้ก่อเหตุ | มาร์ติน ไบรแอนต์ |
ที่มา
แก้นายมาร์ติน ไบรแอนต์ ได้รับมรดกก้อนใหญ่จากครอบครัวของเพื่อนเขา เฮเลน ฮาร์วี ที่ทิ้งสมบัติเอาไว้ให้เขา เขาใช้เงินเหล่านี้ท่องเที่ยวไปทั่วโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นที่ทราบว่าเขาเคยไปทั้ง สิงคโปร์, กรุงเทพมหานคร, ลอนดอน, สวีเดน, ลอสแอนเจลิส, แฟรงก์เฟิร์ต, โคเปนเฮเกน, ซิดนีย์, โตเกียว, โปแลนด์ และออกแลนด์ บางที่เขาเคยไปมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร เขายังท่องเที่ยวไปในรัฐต่าง ๆ ของออสเตรเลียด้วย ในหลายครั้งเขาเปลี่ยนใจเปลี่ยนเที่ยวบินในนาทีสุดท้ายไปในที่ ๆ ไม่รู้จัก และเป็นที่แน่นอนว่าผู้จัดการมรดกของเขาบังคับให้เขาเข้มงวดต่อการใช้เงิน และเขาก็หยุดท่องเที่ยวแบบถี่ ๆ
ไบรแอนต์ยังถอนเงินออกมาหลายพันเหรียญออสเตรเลียในช่วงนี้ และเขายังใช้เงินบางส่วนซื้อปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ เออาร์-10 ผ่านโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของแทสเมเนียในปลายปี พ.ศ. 2536 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 เขานำปืนเออาร์-10 นั้นไปซ่อม และต้องการปืนเออาร์-15 กระบอกใหม่ และเขาก็ซื้อมันจาก เทอรรี ฮิล เจ้าของร้านขายปืนในพื้นที่ เขายังซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดปืน .30 และปืนลูกซองเกจ 12 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2538 อีกด้วย เขาซื้อถุงกีฬา โดยเขาบอกพนักงานขายว่า เขาต้องการถุงกีฬาที่สามารถรับน้ำหนักของกระสุนจำนวนมากได้ และเขาก็วัดมันด้วยตลับเมตร เขาโกหกแฟนสาวและคนสวนของเขา พีตรา วิลมอท เกี่ยวกับจุดประสงค์ของถุงกีฬา และหล่อนก็ไม่เคยพบอาวุธปืนในบ้านของเขาเลย
พ่อของไบรแอนต์เคยพยายามจะซื้อบ้านที่ซีสเคป แต่เดวิท และ โนว์ลีน มาร์ติน ตัดหน้าซื้อไปก่อนที่พ่อเขาจะมีเงินพอ ซึ่งทำให่พ่อของเขาผิดหวังมาก ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเรื่องนี้จะทำให้พ่อของเขารู้สึกกดดันจนฆ่าตัวตายหรือไม่ ไบรแอนต์เคยขอซื้อที่ดินของสองสามี-ภรรยามาร์ตินที่ถนนพอลเมอรส์ ลูกเอาท์ แต่ถูกปฏิเสธ
28 เมษายน 2539
แก้ลำดับเหตุการณ์ในวันนี้ นำมาปะติดปะต่อกันในภายหลังโดยตำรวจสืบสวน ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้แถลงต่อศาลเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[3]
เหตุการณ์ภาคเช้า
แก้ไบรแอนต์ตื่นนอนเวลา 06.00 น. เมื่อนาฬิกาปลุกส่งเสียงปลุก แฟนของเขาและสมาชิกในครอบครัวกล่าวว่า เขาไม่เคยใช้นาฬิกาปลุกมาก่อนเพราะเขาไม่ได้ทำงานและไม่มีภาระหน้าที่อันใด 08.00 น. แฟนสาวของเขาออกจากบ้าน (ที่เคยเป็นของนางสาว ฮาร์วี) ไปเยี่ยมครอบครัว ไบรแอนต์ออกจากบ้านและเปิดระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งบันทึกเวลาไว้ที่ 09.47 น. เขาทิ้งกระสุนปืนจำนวนมากไว้บริเวณห้องโถง
ประมาณ 10.30 น. เขาซื้อไฟแช็กที่ร้านขายหนังสือพิมพ์ มิดเวย์ พอยต์ เขาจ่ายค่าไฟแช็กด้วยแบงก์ใหญ่และไม่เอาเงินทอน ในตอนแรกเขาไม่ได้พกเงินเข้าไปในร้าน แต่ไปถามก่อนว่าร้านนั้นขายไฟแช็กหรือไม่ หลังได้รับคำตอบแล้วเขาจึงเดินกลับไปที่รถเพื่อหยิบเงิน หลังจากนั้นเขาไปที่ ซูเปอร์มาร์เก็ต "โซเรล" เพื่อซื้อซอสมะเขือเทศ 1 ขวด แต่คราวนี้เขาจ่ายเป็นเหรียญแทน (ในออสเตรเลียจะมีเหรียญ 1 และ 2 เหรียญ ซึ่งเป็นเหรียญทอง และ เหรียญ 50, 20, 10 และ 5 เซนต์ ที่เป็นเหรียญเงิน) จากนั้นเขาเดินทางไปที่หมู่บ้านโฟร์เซทท์ และถึงที่หมายเวลาประมาณ 11.00 น. แวะที่ปั๊มเชลล์ ซื้อกาแฟหนึ่งแก้วและจ่ายด้วยเหรียญ 5 และ 10 เซนต์ (1เหรียญ เท่ากับ 100 เซนต์) (โดยปกติ กาแฟในออสเตรเลียราคาไม่ต่ำกว่าสองเหรียญต่อแก้ว) เขาบอกพนักงานว่าเขาจะไปโต้คลื่นที่หาดโรอ์ริง แต่พนักงานเตือนว่าวันนี้ลมสงบมาก ๆ (ไม่มีคลื่นให้โต้) จากนั้นเขาขับรถผ่านบริเวณช่องแคบอีเกิลฮอร์ค เน็ค (ช่องแคบในอ่าวแทสมัน) และแวะเติมน้ำมันที่ปั๊ม "คอนวิกท์ เบเกอรี" (Convict Bakery) เป็นจำนวน 15 เหรียญ พนักงานเห็นเขาจ้องมองไปที่อ่าวอันเงียบสงบ ไบรแอนต์มีกระดานโต้คลื่นบนแร็คหลังคาเหนือรถวอลโว่สีเหลือง พนักงานย้ำว่าวันนั้นอากาศไม่เหมาะแก่การโต้คลื่นอย่างมาก
เขาขับรถเข้าไปที่พอร์ตอาร์เทอร์ และหยุดรถที่เกสต์เฮาส์ ซีสเคป ซึ่งเป็นของนายเดวิด และนางแซลลี มาร์ติน มีผู้พบเห็นไบรแอนต์ขับรถออกจากถนน อาร์เทอร์ ไฮเวย์ เข้าไปในซีสเคป เวลาประมาณ 11.45 น. เขาเข้าไปข้างในบ้านและยิงปืนหลายนัด จากนั้นจึงมัดปากนายมาร์ติน และแทงเขา พยานให้การในศาลเกี่ยวกับจำนวนกระสุนที่ยิงในเวลานี้แตกต่างกันไป แต่เชื่อได้ว่าไบรแอนต์น่าจะสังหารคู่สามีภรรยามาร์ตินแล้วตั้งแต่เวลานี้
จากนั้นมีคนคู่หนึ่งมาที่ซีสเคป ไบรแอนต์ปรากฏตัวออกมา คนคู่นั้นต้องการขอดูสถานที่พัก แต่ไบรแอนต์ตอบปฏิเสธอย่างหยาบคาย โดยอ้างว่า พ่อแม่เขาไม่อยู่ และแฟนของเขาก็อยู่ในบ้าน คนทั้งสองรู้สึกไม่พอใจ และจากไปเมื่อเวลาราว 12.35 น. รถของไบรแอนต์จอดอยู่ในลักษณะกลับทิศ เอาหน้ารถหันออก สันนิษฐานว่าเขาขนกระสุนลงจากรถ[3]
จากนั้นไบรแอนต์ขับรถไปที่พอร์ตอาร์เทอร์ เขาล็อกบ้านซีสเคปแล้วเอากุญแจไปด้วย เขาหยุดดูรถคันหนึ่งซึ่งจอดเสียอยู่เพราะเครื่องยนต์ร้อนจัด เขาเข้าไปคุยกับคน 2 คนที่นั่น และแนะนำให้พวกเขาแวะมาดื่มกาแฟที่ร้านกาแฟพอร์ตอาร์เทอร์ในภายหลัง
เขาผ่านสวนประวัติศาสตร์พอร์ตอาร์เทอร์ทางถนนลุคเอาท์ของมาร์ติน และพบนายโรเจอร์ ลาร์เนอร์กำลังขับรถสวนออกมา นายลาร์เนอร์เคยพบเขาเป็นครั้งคราวเมื่อ 15 ปีก่อน แต่ในช่วงแรกเขาจำไม่ได้ ไบรแอนต์บอกนายลาร์เนอร์ว่าเขาไปโต้คลื่นมาและซื้อที่ดินชื่อว่า ฟอกก์ ลอดจ์ (Fogg Lodge) ตอนนี้กำลังคิดจะซื้อวัวจากนายลาร์เนอร์บ้าง ไบรแอนต์ยังเล่าถึงเรื่องการซื้อที่ดินของมาร์ตินที่อยู่ติดกับที่ดินของลาร์เนอร์หลายครั้ง จากนั้นเขาถามว่านางมาเรียน ลาร์เนอร์อยู่บ้านหรือไม่ และแสดงความจำนงที่จะไปเยี่ยมเธอที่ฟาร์ม นายลาร์เนอร์ตอบตกลงและบอกว่าเขาจะไปด้วย ไบรแอนต์กลับเปลี่ยนใจและจากไป โดยบอกว่าเขาจะกลับมาใหม่ในตอนบ่าย
เหตุการณ์ในสวนประวัติศาสตร์พอร์ตอาร์เทอร์
แก้ประมาณ 13.10 น. ไบรแอนต์เข้าแถวหลังรถคันอื่นเพื่อจ่ายเงินค่าผ่านประตู พอใกล้จะถึงช่องจ่ายเงิน เขากลับออกจากแถวแล้วไปต่อแถวใหม่อีก สุดท้ายเขาก็เข้าถึงช่องจ่ายเงิน และบ่นว่าคนอื่นย้อนหลังหาเขา เขาจ่ายค่าผ่านประตูแล้วเข้าไปยังที่จอดรถบริเวณบรอดแอโรว์ คาเฟ่ ใกล้ วอเตอร์ส์ เอจ์ด ผู้จัดการหน่วยรักษาความปลอดภัยขอให้เขาย้ายไปจอดที่อื่น เพราะบริเวณนั้นเป็นที่สำหรับจอดรถแวนสำหรับการตั้งค่ายพักแรม และวันนั้นบริเวณจอดรถก็หนาแน่น ไบรแอนต์ย้ายรถไปที่อื่นและนั่งอยู่ในรถสักพัก ผู้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัยเห็นเขาเดินเข้าไปที่ร้านกาแฟ พร้อมทั้งหิ้วกระเป๋าใบใหญ่และกล้องถ่ายวิดีโอ แต่เขาไม่ได้ใส่ใจอะไร
เขาเข้าไปในร้านและสั่งอาหารมากิน และไปนั่งกินที่โต๊ะข้างนอกร้าน มีคนเปิดประตูให้เขาและสัพยอกถึงอาหารจำนวนมากที่เขาสั่งมากิน ซึ่งเขาก็ตอบไปว่าเพราะหิวจากการไปโต้คลื่นมา ไบรแอนต์สนทนากับผู้คนเรื่องต่อเยอรมัน (waspes) ในบริเวณนั้นและความขาดแคลนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการพึมพัมกับตัวเองมากกว่า เขาดูเหมือนว่าจะหวาดกลัว และมองย้อนไปที่ลานจอดรถและในคาเฟ่อย่างต่อเนื่อง เขาถูกเห็นว่ายกมือขึ้นไล่ปัดต่อเยอรมันในบริเวณนั้น ("waspes" ที่ไบรแอนต์พูดถึงนั้น ในสื่อของออสเตรเลียและต่างประเทศนั้น ตีความว่าคือ WASP ซึ่งหมายถึง "พวกโปรเตสแตนท์ แองโกล-แซกซอน ผิวขาว" (White Anglo-Saxon Protestants) แต่ก็ไม่มีหลักฐานสรุปถึงเรื่องนี้)
ฆาตกรรมที่บอร์ด แอโรว์ คาเฟ่
แก้หลังไบรแอนต์ทานอาหารเสร็จ เขาเดินเขาไปในร้านเพื่อคืนถาด มีคนช่วยเปิดประตูให้เขา เขาวางกระเป๋าลงบนโต๊ะและหยิบ เออาร์-15 ที่ได้รับการบรรจุซองกระสุนขนาด 30 นัดเอาไว้แล้วออกมา เขาทิ้งกระเป๋าที่มีของอย่างอื่นอยู่ รวมทั้งมีดที่เขาใช้ฆ่านายมาร์ตินด้วย เชื่อกันว่าซองกระสุนนั้นเป็นซองเดียวกับที่ใช้ไปในซีสเคป
คาเฟ่นั้นเล็ก โต๊ะแต่ละโต๊ะนั้นชิดติดกัน ร้านก็ค่อนข้างวุ่นวายเพราะผู้คนกำลังรอเรือเฟอรีเที่ยวถัดไป เหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วมาก เขาเล็งจากท่าประทับสะโพก ไบรแอนต์เล็งยิงไปที่นาย Moh Yee Ng และ นางสาว Sou Leng Chung จากมาเลเซีย ที่อยู่ที่โต๊ะข้าง ๆ ทั้งคู่ถูกยิงในระยะเผาขนและตายในทันที จากนั้นไบรแอนต์เปลี่ยนสู่ท่าประทับบ่า ลั่นกระสุนไปที่ ไมค์ เซอร์เจนท์ ที่กำลังเกาหัวอยู่ตาย และยิงนัดที่ 4 ไปที่ เคท อลิซาเบท สก็อตต์ แฟนของไมค์ที่หลังหัว
นักทำไวน์จากนิวซีแลนด์ เจสัน วินเทอร์ที่กำลังช่วยบริกรอยู่ เห็นไบรแอนต์หันมาทางภริยาของเขา, โจแอนนา และมิชเชล ลูกชายวัย 15 เดือนของเขา เขาจึงขว้างถาดมาที่ไบรแอนต์เพื่อดึงดูดความสนใจของเขา พ่อของวินเทอร์จับลูกสะใภ้และหลานชายหมอบลงใต้โต๊ะ ส่วนวิทเทอร์ถูกยิง
แอนโทนี ไนติงเกล ยืนขึ้นเมื่อได้ยินเสียงปืนนัดแรกแต่ไม่มีเวลามากพอจะขยับ เขาตะโกนว่า "ไม่ ไม่ใช่ที่นี่!" ไบรแอนต์เล็งมาที่เขาและเขาถูกยิงปางตายเข้าที่คอและซี่โครง
โต๊ะข้าง ๆ มีกลุ่มคนสิบคนอยู่ แต่บางคนเดินออกจากโต๊ะไปคืนถาดและดูของในร้านขายของฝาก ไบรแอนต์ยิงสองนัด นัดแรกยิงที่นายชาร์ปตายคาที่ นัดสองยิงไปที่ วอเทอร์ เบนเน็ท ทะลุร่างไปที่นายชาร์ป ตายตามกัน ทั้ง3คนนั้นหันหลังให้ไบรแอนต์ ไม่ได้เอะใจว่ามัจจุราชกำลังมาเยือน หนึ่งในนั้นกล่าวขึ้นว่า "ไม่ตลกนะ" หลังจากได้ยินเสียงปืนนัดแรก ๆ แต่ไม่คิดว่าเป็นปืนจริง การยิงนั้นเป็นการยิงแบบเผาขน ระยะไม่เกิน 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) จากหัวของเหยื่อ เจราจ บรูม ที่มาด้วยกันเศษกระสุนพุ่งเข้าใส่หน้าและรอดตาย กาเย ไฟด์เลอร์ จากโต๊ะเดียวกันถูกเศษกระสุนพุ่งเข้าใส่หลังบาดเจ็บ จอห์น ไฟด์เลอร์ ก็บาดเจ็บที่หัวจากเศษกระสุน แต่ทั้งคู่รอดตาย
ไบรแอนต์หันไปที่อีกโต๊ะที่มีอีกสองคู่นั่งอยู่คือ นายโทนี่, นางคิสแทน, นายแอนดริว และนางมิลส์ ชายทั้ง2ยืนขึ้นหลังเสียงบินนัดแรก ๆ แต่ก็หนีไม่ทัน นายแอนดริว มิลส์ถูกยิงที่หัว ส่วนนายโทนี คิสแทนถูกยิงห่างจากหัวประมาณสองเมตร และที่หัว แต่ในวินาทีก่อนถูกยิง เขากดหัวภรรยาเขาให้หมอบลงใต้โต๊ะ ภรรยาทั้งสองนั้น ไม่ถูกพบโดยไบรแอนต์เนื่องจากอยู่ใต้โต๊ะเลยไม่ถูกยิง
เทลมา วองค์เกอร์ และ พาเมเลีย ลอว์ นั่งโต๊ะข้างหลัง บาดเจ็บเพราะเศษกระสุนที่สังหารนายคิสแทน และนายมิลส์ ปีเตอร์ ครอสเวลกดสองสาวให้หมอบลงใต้โต๊ะและบาดเจ็บจากเศษกระสุนที่ยิงไปที่ แพททริเซีย เบอเกอร์ (ไม่ตาย)
ผู้คนในคาเฟ่เพิ่งจะเริ่มรู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้นในร้าน และเริ่มระลึกได้ว่าเสียงปืนนั้น ไม่ได้มาจากการจำลองเหตุการณ์ในสวนประวัติศาสตร์ ทุกคนสับสน ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่ไบรแอนต์ก็ใกล้จะถึงประตูทางออกแล้ว
ไบรแอนต์ขยับต่อไปอีกไม่กี่เมตรก็ยิงใส่โต๊ะอื่น ถูก เกรแฮม โครเยอร์ที่คอ ถึงแม้ร่างของเขาจะเต็มไปด้วยเลือดแต่เขาก็ไม่ตาย
ไบรแอนต์หมุนตัวยิง เมอร์วีน โฮวาร์ด ที่ยังนั่งอยู่ กระสุนทะลุร่างเขา ทะลุกระจกร้านไปชนโต๊ะที่ระเบียงด้านนอก ผู้คนด้านนอกเริ่มรู้ถึงเงามัจจุราชและเริ่มวิ่งหนี ไบรแอนต์ยิงนัดถัดมาเข้าที่ อลิซาเบท โฮวาร์ดอย่างรวดเร็ว และขยับไปทางข้างและยิงเข้าที่หัวของหล่อนอีกนัด
ซารา ลองห์ตัน เห็นนายโครเยอร์ถูกยิง จึงวิ่งผ่านแม่ของหล่อนที่กำลังเคลื่อนที่ระหว่างโต๊ะ แม่จับลูกของหล่อนหมอบและตัวเองก็บังลูกเอาไว้ด้านบน ไบรแอนต์ยิง คารอยน์ ลองห์ตันที่หลังแล้วยิงลูกสาวที่หัว นางลองห์ตันหูชาจากเสียงโซนิกบูมจากการที่กระสุนวิ่งผ่านใกล้หู คนแม่รอดตาย แต่มารู้เอาที่หลังว่าลูกสาวได้จากไปแล้วที่โรงพยาบาล
ฆาตกรรมที่ร้านขายของฝาก
แก้ไบรแอนต์อยู่ใกล้ทางออก ไม่มีใครพยายามวิ่งผ่านเขาเพื่อหลบหนี ไบรแอนต์เดินจากคาเฟ่ไปที่ร้านขายของฝาก มีประตูทางออกที่บริเวณจัดแสดงสินค้า สำหรับเดินออกไปที่ระเบียงด้านนอก แต่ถูกลงกุญแจ เปิดได้ด้วยกุญแจเท่านั้น หลังจากไบรแอนต์เดินไปมา นาย อีลลอต์คิดว่าเขาคงถูกพบในไม่ช้า เขาไม่สามารถหลบใต้โต๊ะที่เต็มไปด้วยคนอีกต่อไป เขาจึงวิ่งไปที่เตาผิงและถูกยิงที่แขนและหัว แต่รอดตายจากการผ่าตัด
เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นภายในเวลา 15 วินาทีเท่านั้น[3] จากเหตุการณ์ข้างต้นนี้ มีคนตายไปแล้ว 12 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 9 ราย ในช่วงเวลานี้ คนส่วนใหญ่หมอบอยู่ใต้โต๊ะ และหลังชั้นแสดงสินค้า นางลีเวอร์, นางเจรี, นางมอร์ และนางวานเดอร์พีร์ซ่อนตัวอยู่หลังฉากผ้า
ปีเตอร์และนางแนสช์พยายามเปิดประตูที่ล็อกเอาไว้แต่ไม่สำเร็จ นายแนสช์ทับร่างภรรยาเขาไว้ เพื่อซ่อนหล่อนจากไบรแอนต์ที่เดินเข้ามาในร้านขายของฝาก และคนอื่นก็แหงกอยู่กับที่ ไปไหนไม่ได้นอกจากหมอบอยู่ตามมุม ไบรแอนต์ย่างก้าวอย่างช้า ๆ เข้าหา นิโคล เบอร์เกสส์ และยิงหล่อนที่หัว แล้วหันมาจ่อยิงหัวนายลีเวอร์ปางตาย นางนีนเดอร์ก็ถูกยิงที่หัวตาย
ไบรแอนต์เห็นการเคลื่อนไหวในคาเฟ่ จึงเดินเข้าไปใกล้ประตูหน้า เขายิงโต๊ะถูกนายครอสเวลล์ที่ซ่อนอยู่ใต้โต๊ะที่แก้มก้น นายวินเทอร์ที่ซ่อนอยู่ในร้านขายของฝาก คิดว่าไบรแอนต์ออกไปจากตึกแล้ว จึงบอกกับกับคนข้าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ด้วยกันว่าคนร้ายน่าจะไปแล้ว ก่อนออกจากที่ซ่อนตัว ไบรแอนต์พบวินเทอร์ที่กำลังลุกขึ้นจึงยิงเขาที่มือ, คอ และอก ไบรแอนต์เดินไปหาวินเทอร์แล้วยิงที่หัวตายคาที่ เศษกระสุนจากการยิงไปชน เดนนิส ออเซน ที่ซ่อนตัวในที่นั้น แต่เขาไม่ถูกพบเห็น
ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นต่อ เขาอาจจะบรรจุกระสุนใหม่ก่อนหรือหลังฆ่าคนอื่นต่อก็ได้ ไบรแอนต์เดินกลับไปในคาเฟ่ แต่แล้วก็กลับมาที่ร้านขายของอีก คราวนี้เขามองไปที่มุมอื่น พบหลายคนซ่อนตัว ไปไหนไม่ได้ เขาเดินไปหาคนหลุ่มนั้น ยิงโรนาลด์ เจรีที่คอตายคาที่ แล้วยิงไปที่ ปีเตอร์ แนสช์ และ พอลลีน มาสเตอรส์ ตายไปอีกคู่ บางช่วง ก่อน หรือหลังจากสังหาร 3 คนนี้ เขาเล็งไปที่ชายเอเชียไม่ทราบชื่อ แต่กระสุนหมด เขาเดินกลับไปบรรจุกระสุนใหม่ที่เคาท์เตอร์ของร้านขายของฝาก ทิ้งซองเปล่าไว้ที่นั่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้นั้น ลำดับเวลาสับสนมาก แต่สุดท้าย เขาก็เดินจากไป
ฆาตกรรมที่ลานจอดรถ
แก้ระหว่างเหตุการณ์ในคาเฟ่ พนักงานบางคนหนีออกไปได้ทางห้องครัว และร้องเตือนผู้คนข้างนอก ที่นั้นมีรถโค้ชหลายคันจอดอยู่และมีการเข้าคิวของผู้คน หลายคนหลบอยู่ในรถบัสนอกอาคาร นอกนั้นงงสถานการณ์ หรือไม่รู้ว่าจะไปไหนดี บางคนเชื่อว่าเป็นการจำลองเหตุการณ์ของสวนประวัติศาสตร์ และเดินเข้าไปในพื้นที่
แอสลีย์ จอหน์ ลอว์ ลูกจ้างของสวนประวัติศาสตร์กำลังย้ายผู้คนให้ห่างจากคาเฟ่ ไปที่ศูนย์ข้อมูล และถูกไบรแอนต์ยิงจากระยะ 50-100 เมตร เดชะบุญกระสุนพลาดเป้าไปถูกต้นไม้แทน
ไบรแอนต์เดินไปที่รถโค้ชที่ที่ บริจิด คุก กำลังนำผู้คนบริเวณรถบัสและท่าน้ำไปซ่อนตัว หล่อนแค่ได้รับข้อมูลมาเท่านั้น และกำลังกังวลว่าเธอกำลังถูกหลอกให้ตื่นตูมหรือไม่ แต่แน่นอนว่าการกระทำของเธอได้ช่วยชีวิตอีกหลายชีวิต หนึ่งในพนักงานขับรถโค้ช รอยซ์ ทอมฟ์สัน ถูกยิงที่หลังขณะกำลังหนีไปกับผู้โดยสาร เขาล้มลงแต่ยังมีแรงคลานและกลิ้งตัวหลบเข้าใต้ท้องรถอย่างปลอดภัย แต่ก็ทดพิษบาดแผลไม่ไหว ตายในภายหลัง ไบรแอนต์เดินไปที่หน้ารถ แล้วเดินต่อไปที่คันถัดไป ผู้คนหลบหนีอย่างว่องไวไปทางท้ายรถเพื่อหากำบัง ไบรแอนต์เดินไปรอบ ๆ เห็นคนหนีไวไวจึงยิง กระสุนถูกน่องขวาของบริจิด คุก กระดูกแตก กระสุนฝังใน พนักงานขับรถ ไออัน แม็คเอลวี ถูกเศษกระดูกของบริจิดพุ่งใส่ แต่ทั้งคู่ก็หนีไปได้
ไบรแอนต์เดินรอบรถอย่างรวดเร็วและยิงกลุ่มคนที่พบ วินเฟรด แอปริน ถูกยิงปางตายที่คางขณะกำลังหนีไปที่รถคันอื่น อีกนัดถากแก้มของ ยอนนี ลอคเลย์ แต่หล่อนก็หนีไปซ่อนในรถได้
บางคนเริ่มหนีไปทางท่าน้ำ แต่ก็ได้ยินเสียงตะโกนบอกว่าไบรแอนต์ไปทางนั้น จึงหนีกลับมาที่จุดที่นางคุกถูกยิง อย่างไรก็ตาม ไบรแอนต์ก็เดินไปรอบ ๆ และเดินกลับมา เจเน็ทท์ ควิน ถูกยิงที่หลัง ล้มลงขยับไม่ได้
ผู้คนพยายามหนีไปตามชายฝั่ง มีการยิงมากขึ้น ผู้คนเริ่มตัดสินใจซ่อนตัวในรถมากกว่าการหลบหนี นายแฮชชินสันพยายามหลบเข้าไปในรถโค้ชและถูกยิงที่แขน เขาเปลี่ยนทิศทางอย่างว่องไว หนีไปทางหน้ารถเลียบทางชายฝั่งและซ่อนตัว
ไบรแอนต์เดินไปที่รถของเขา ที่อยู่ใกล้ ๆ รถโค้ช เปลี่ยนอาวุธเป็น FN FAL (ไรเฟิลเบาอัตโนมัติของเบลเยียม) เขายิงเดไนส์ ครอมอร์ที่อยู่ใกล้ ๆ ซากเรือนจำแต่พลาด กระสุนตกพื้นกระแทกก้อนหินกลมให้ลอยผ่านหน้าเธอ ไบรแอนต์เข้าไปนั่งในรถสักพักแล้วจึงออกมา แล้วเดินไปที่รถโค้ช มีคนพยายามซ่อนหลังรถในลานจอดรถ เนื่องจากการยกพื้น ไบรแอนต์เห็นพวกเขาและรถก็ไม่สามารถกำบังได้มาก พวกเขาเชื่อว่าถูกพบแล้ว จึงหนีเข้าไปดงไม้ ไบรแอนต์ยิงกราดพวกเขา แต่ไม่มีนัดไหนเข้าเป้าเลย อย่างน้อยหนึ่งนัดถูกต้นไม้ที่มีคนใช้กำบังอยู่ ดักลาส ฮัทชินสันวิ่งหนีไปทางท่าน้ำ และถูกยิง แต่ไม่เข้าเป้า เธอหนีรอดไปได้
ไบรแอนต์เดินไปที่รถบัสที่นางควินฟุบอยู่เพราะถูกยิงก่อนนี้ เขายิงหล่อนซ้ำที่หลังแล้วจากไป หล่อนทนพิษบาดแผลไม่ไหว ตายในภายหลัง ไบรแอนต์เดินไปที่รถโค้ชแล้วยิง เอลวา เกย์ลาร์ดที่ซ่อนในรถ ถูกที่แขนและอกตายคาที่ ที่รถคันถัดมา กอร์ดอน ฟรานซิส เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด จึงเคลื่อนตัวไปตามทางเดิน พยายามปิดประตูรถที่เขาซ่อนแต่ถูกพบ และถูกยิงจากรถโค้ชคันตรงข้าม เขารอดตาย แต่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ถึง 4 ครั้ง
เนวิลเล ควิน สามีของเจเน็ทท์ ควินหนีไปทางท่าน้ำ แต่กลับมาตามหาภรรยา เขาถูกบังคับให้หนีหลังจากภรรยาเขาถูกยิง ไบรแอนต์ออกมาจากรถและเห็นเขา บาเบนท์ยิงควิน แต่พลาด บาร์เยนท์เดินหาตัวควิน และยิงเขาอีกครั้งก่อนที่เขาจะหนีขึ้นรถโค้ชไปได้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของควินไม่ประสบผล ไบรแอนต์ขึ้นรถตามเขาไปได้ จ่อปืนที่หน้าของเขาแล้วบอกว่า "หนีข้าไม่พ้นแล้ว" ควินหมอบในวินาทีที่ไบรแอนต์ลั่นไก กระสุนพลาดเป้าจากหัวไปเข้าคอแทน เขาขยับไม่ได้ในบัลดล หลังไบรแอนต์จากไป เขาพบร่างภรรยาของเขานอนหายใจรวยริน และตายในอ้อมกอดของเขา นายควินถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์และรอดมาได้
หลังจากนั้น เจมส์ บาลาสโก สัญชาติอเมริกัน พยายามจะถ่ายภาพไบรแอนต์ด้วยกล้องวิดีโอและทำได้สำเร็จ แต่ไบรแอนต์ก็พบเขาและยิงเขา แต่ถูกรถในบริเวณนั้น ณ เวลานี้ หลายคนไม่สามารถใช้รถของเขาที่จอดทิ้งไว้ได้ กำลังซ่อนตัว หรือวิ่งหนีไปตาม ถนน เจ็ทตี้ หรือที่ท่าน้ำ คนส่วนมากไม่รู้ว่าไบรแอนต์อยู่ที่ไหนเพราะเสียงปืนดังมาก ยากแก่การระบุทิศ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ไบรแอนต์อยู่ที่ไหน หรือปืนยิงมาจากทิศใด
ฆาตกรรมที่จุดขายตั๋วและการขโมยรถ
แก้ไบรแอนต์เดินไปที่รถ เคลื่อนออกจากที่จอด พยานกล่าวว่าเขาบีบแตรแล้วโบกมือ บางคนว่าเขายิงปืนด้วย เขาขับรถไปทางถนนเจ็ทตี้ มุ่งไปยังที่ขายตั๋วจอดรถ เขาผ่านอย่างน้อยสองคน ข้างหน้าเขาคือ นาเน็ทท์ ไมแคก และลูกน้อยทั้งสองคือ เมเดเลีย วัย 3 ขวบ และอลันนาห์ 6 ขวบ วิ่งนำหน้าหล่อนเล็กน้อย ราว ๆ 600 เมตรจากลานจอดรถ นาเน้ทท์บอกอลันนาห์ว่า "เราปลอดภัยแล้ว, พัมพ์กิ้น (ฟักทอง, คาดว่าจะเป็นชื่อเล่น) " ไบรแอนต์เปิดประตูรถแล้วชะลอความเร็ว นางไมแคกเดินไปทางรถของไบรแอนต์ คิดว่าเขาจะช่วยพาหน่อนหลบหนี มีหลายคนเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหนึ่งในนั้นก็จำได้ว่าคน ๆ นั้นคือมือสังหารจึงตะโกนขึ้นว่า "นั่นมันไอ้ฆาตกร!" ไบรแอนต์พูดอย่างเนิ่บ ๆ ให้หล่อนคุกเข่าลง หล่อนทำตามและร้องขอชีวิตลูกน้อย "อย่าทำอะไรลูกฉันเลย"
ไบรแอนต์ฆ่าหล่อนด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ก่อนที่จะลั่นไกยิงเมเดเลียที่ไหล่ แล้วยิงซ้ำทะลุอก เป็นเหตุให้เด็กน้อยปางตาย อลันนาห์วิ่งและซ่อนหลังต้นไม้ ไบรแอนต์ยิงหล่อน 2 นัดแต่พลาด เขาเดินเข้าไปหาเธอ จ่อปากกระบอกปืนที่คอแล้วสังหาร เขายิงอีกหนึ่งหรือสองนัดใส่คนในพุ่มไม้แต่พลาด การได้เห็นเด็กน้อยถูกสังหารทำให้หลายบริเวณถนนคนวิ่งหนี พวกเขาบอกคนที่กำลังขับรถเข้ามาให้หนีไป พวกเขาคิดว่าไบรแอนต์จะไปตามถนน จึงกระโดดลงข้างทาง หลบในพุ่มไม้ รถถอยกลับไปที่บู๊ทขายตั๋ว ถามว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีใครในบริเวณขายตั๋ว รู้เรื่องว่าเกิดอะไรขึ้น
ไบรแอนต์ขับรถไปที่บริเวณขายตั๋วที่มียานยนต์หลายคันอยู่ เขาซ่อนปืนของเขาแล้วออกจากรถ เขาเข้าถกเถียงกับนาย ซาลซ์แมนน์ ไม่เป็นที่ทราบว่าทั้งคู่เถียงกันเรื่องอันใด แต่น่าจะเพราะว่ารถของไบรแอนต์ไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ เพราะรถคันอื่นกีดขวางอยู่ จากนั้น ไบรแอนต์หยิบปืนกระบอกเดิมมายิงสังหารนายซาลแมนน์
คนขับรถ BMW คนหนึ่งวิ่งออกจากรถ พุ่งตรงมายังไบรแอนต์ ไม่เป็นที่ปรากฏว่าเขาพุ่งไปทางนั้นทำไม แต่คาดว่าเขาพยายามที่จะหยุดไบรแอนต์ไว้ ไบรแอนต์ก้าวมาทางเขาแล้วยิงเขาที่อกตาย รถคันอื่นที่กำลังเข้ามาเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด และสามารถกลับรถหนีได้ทัน ไบรแอนต์เข้าไปนั่งใน BMWคันนั้น ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเพราะไม่มีใครอยู่ในบริเวณนั้นเลย พบว่า ไบรแอนต์ยิงผู้หญิงอีก2คนในรถนั้น แล้วโยนร่างของทั้ง2ลงมาจากรถ ไบรแอนต์ย้ายกระสุน, กุญแจมือ, ไรเฟิล เออาร์-15 ไปยัง BMW (ผู้ตายจากการสังหารที่จุดขายตั๋ว นอกจาก เกรแฮม ซาลแมนน์นั้น ประกอบด้วย แมรี นิกสัน, รุสเซล โพลาร์ดและ เฮเลน ซาลแมนน์[4])
มีรถอีกคันขับเข้ามาที่จุดขายตั๋ว และไบรแอนต์ยิงใส่ คนขับ เกรแฮม ซูเทอร์แลนด์ ถูกกระจกที่แตกบาด นัดที่สองถูกที่ประตูคนขับ แต่เขาก็หักรถกลับ หลบหนีไปได้อย่างรวดเร็ว ไบรแอนต์กลับไปที่รถ BMW แล้วขับออกไป ทิ้งอุปกรณ์อีกหลายชิ้นเช่น ปืนลูกซอง และกระสุนอีกหลายร้อยนัดไว้ในรถวอลโว่ของเขา
ฆาตกรรมที่ปั๊มน้ำมันและการจับตัวประกัน
แก้เกรแฮม ซูเทอร์แลนด์ ที่หลบหนีจากไบรแอนต์มาก่อนหน้านี้ ขับรถไปที่ปั๊มน้ำมัน เตือนผู้คนให้หลบหนี ไบรแอนต์ขับตามไปที่นั่นแล้วตัดหน้ารถโตโยต้า โคโรลล่า สีขาวที่พยายามหนีไปบทไฮเวย์ รถคันนั้นมีเกล็น แพรส์ เป็นคนขับกับ โซอ์ ฮอล ผู้โดยสาร ไบรแอนต์ลงจากรถมาอย่างรวดเร็ว พยายามกระชากนางสาวฮอลลงมาจากรถ นายแพรส์ออกมาจากรถ พุ่งเข้าหาไบรแอนต์ แต่ถูกเขาเอาปืนจ่อให้ผง่ะถอยไป เขาถูกไบรแอนต์บังคับให้เปิดท้ายรถบีเอ็มดับเบิลยู และถูกขังไว้ในท้ายรถ
ไบรแอนต์เดินกลับมาที่นางสาวฮอล ที่ยังอยู่ในรถ บนเบาะผู้โดยสาร เขาบังคับให้หล่อนปีนไปนั่งที่เบาะคนขับ แล้วยิง 3 นัดสังหารหล่อน ร่างของหล่อน ต่อมาถูกพบอยู่บนเบาะผู้โดยสาร ส่วนผู้คนบริเวณนั้น ซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ พนักงานประจำปั๊ม แจ้งให้ลูกค้าหมอบลง ส่วนเขาล็อกประตูไว้ ในมือกำปืนไรเผิลไว้แน่น โดยกฎหมายของออสเตรเลียตอนนั้น กระสุนจะถูกเก็บไว้ในเซฟ แต่ตอนนี้ มันถูกนำออกมาแล้วบรรจุพร้อมยิง ไบรแอนต์กลับไปที่รถแล้วจากไป ตำรวจตามมาหลายนาทีจากนั้น แล้วขับไปในทิศทางที่ไบรแอนต์ไป
ตามทางในซีสเคป
แก้ไบรแอนต์ขับไปทางซีเสคป เขายิงไปที่รถสีแดงคันหนึ่งที่สวนมา ถูกกระจกหน้าแตก เมื่อมาถึงซีสเคป เขาลงจากรถ ต่อมามีรถโฮลเด้น ฟอนเทียรา แล่นสวนทางมา เห็นไบรแอนต์แต่คิดว่าเขากำลังล่ากระต่าย เลยชะลอความเร็วขับผ่านไป ไบรแอนต์ยิงใส่รถนั้น นัดแรกถูกฝากระโปรงหน้า และถูกสายคันเร่งขาด เขายิงใส่อีกอย่างน้อย 2 นัดใส่รถ นัดหนึ่งถูกกระจกแตก อีกนัดถูกลินดา ไวนท์ คนขับที่แขน รถลงไปยังไหล่เขา แต่ก็ยังคงไหลไปบนขอบถนนได้ คนขับถูกสลับที่โดยแฟนหนุ่มของหล่อน และพยายามจะขับ แต่เร่งเครื่องไม่ได้เพราะสายคันเร่งฉีกขาดไปแล้ว
รถคันอื่นขับตามลงมา ซึ่งมีผู้โดยสารมา 4 คน พวกเขาเห็นไบรแอนต์ถือปืนก่อนที่จะเข้าไปใกล้เขา ไบรแอนต์ยิงใส่กระจกหน้ารถ ดักลาส ฮอร์นเนอร์ได้รับบาดเจ็บจากเศษกระจก รถได้ขับผ่านนางไวท์และแฟนของหล่อน ที่พยายามจะขึ้นรถหนีไปด้วย แต่คนขับไม่รับรู้สถานการณ์เลยขับผ่านไป แต่เมื่อสังเกตเห็นนางไวท์ถูกยิงมา จึงย้อนกลับมารับ ทั้งหมดมุ่งไปยังชุมชนในพื้นที่ที่เรียกว่า "เทอะ ฟอกซ์ แอนด์ ฮอนด์" แล้วโทรแจ้งตำรวจ
ยังมีรถคันอื่นขับมาอีกแล้วถูกยิง คนขับถูกยิงที่แขน ส่วนไซมอน วิลเลียม ถูกเศษกระจกพุ่งใส่ ยังมีอีกคันผ่านมาเห็นแล้วกลับรถหนี ไบรแอนต์ยิงใส่แต่ไม่มีใครบาดเจ็บ ไบรแอนต์กลับไปที่รถ แล้วมุ่งไปยังบ้าน (ที่เขาสังหารสามี-ภรรยามาร์ตินในทีแรก)
ในช่วงเวลาที่เขาหยุดรถ เขาย้ายตัวประกันออกจากท้ายรถ แล้วใส่กุญแจมือเขาไว้กับราวบันไดในบ้าน ในบางช่วงของเวลานั้น เขาลงมือเผารถที่เขาขโมยมา เป็นไปได้ว่าเขาจะใช้ไฟแช็กที่ซื้อมาแต่เช้า เขาถูกคาดการณ์ว่าน่าจะมาถึงบ้านนั้นเวลา 14.00 น.
การมาของตำรวจ
แก้ณ 13.30 น. มีตำรวจสองนายในพื้นที่เท่านั้น ที่ได้รับแจ้งเหตุทางวิทยุให้เข้าไปตรวจสอบที่พอร์ตอาร์เทอร์ และให้มองหารถวอลโว่สีเหลือง พวกเขามุ่งไปยังพอร์ตอาร์เทอร์ด้วยรถคนละคัน ระหว่างทาง ได้รับแจ้งให้หา บีเอ็มดับเบิลยู และท้ายสุด เหตุรับแจ้งจากฟอกซ์ แอนด์ ฮอนด์ว่ามีคนถูกยิง
ตำรวจนายหนึ่งขับผ่านซีสเคป ผ่านรถที่จอดตายของนางไวท์ เขามองอยู่พักหนึ่งแล้วขับต่อไปที่ฟอกซ์แอนด์ฮอนด์ เขาแจ้งข่าวแก่คู่หูแล้วย้อนกลับไปที่ซีสเคป
ประมาณ 14.00 น. ทั้งคู่ไปถึงบ้านซีสเคปและพบบีเอ็มดับบลิวถูกเผา ในช่วงเวลานั้น ไบรแอนต์ยิงปืนออกมาก ทั้งคู่จึงหลบลงทางน้ำริมถนน และถูกยิงกดหัวเมื่อพยายามหลบหนี ทั้งคู่ถูกตรึงอยู่หลายชั่วโมง
เวลา 14.10 น. ไบรแอนต์ได้รับโทรศัพท์จากผู้หญิงจากสถานีโทรทัศน์ เอบีซี พยายามสุ่มโทรในพื้นที่เพื่อสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น และไบรแอนต์ก็ตอบโทรศัพท์ ไบรแอนต์ได้รับแจ้งว่าเธอชื่อ เจมี เมื่อหล่อนถามเขาว่าเกิดอะไรขึ้น เขาตอบว่า "มีเรื่องสนุกมากมาย" จากนั้นก็บอกหล่อนว่าถ้าหล่อนโทรมาอีกครั้ง เขาจะฆ่านายแพรส์ทิ้ง
ประมาณ 15.00 น. หลังจากยิงกดหัวตำรวจทั้งสองได้พักใหญ่ ไบรแอนต์โทรไปที่สถานีตำรวจท้องถิ่น และแฟนของหนึ่งในตำรวจคู่นั้นก็เป็นผู้รับสาย เขาถามหล่อนว่าหล่อนเป็นใคร และถามว่ารู้ไหมว่าสามีของหล่อนอยู่ที่ไหน เขาบอกหล่อนว่าเขาชื่อ เจมี เขาถามว่ารู้ไหมว่าสามีของหล่อนเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่หล่อนไม่ตอบ เขาบอกหล่อนว่าสามีหล่อนยังไม่เป็นอะไร แล้วเขาก็รู้ว่าสามีของหล่อนอยู่ไหน
ประมาณ 21.00 น. ทีมจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจแทสเมเนียมาถึง และช่วยพาตำรวจทั้งสองออกจากกำบังได้สำเร็จ โดยใช้ความมืด, โล่ปราบจลาจล และเกราะกันกระสุนเป็นม่านกำบัง พวกเขาไม่ได้ยิงกดหัวเข้าไป เนื่องจากเกรงว่าจะไปถูกตัวประกัน การเจรจาผ่านโทรศัพท์ 18 ชั่วโมงนั้นล้มเหลว ไบรแอนต์ ที่เรียกตัวเองว่า เจมี ร้องขอเฮลิคอปเตอร์ เพื่อที่จะหลบหนีต่อด้วยเครื่องบินไปยังแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เขาบอกว่าเขาจะปล่อยนายแพรส์ไป เก็บเอาไว้เพียงนางมาร์ตินเมื่อเฮลิคอปเตอร์มาถึง ไบรแอนต์สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของหน่วยปฏิบัติการพิเศษได้ และร้องขอการหลบหนีทุกครั้งที่เห็นตำรวจเคลื่อนไหว ตำรวจเชื่อว่าเขาน่าจะมีอุปกรณ์ช่วยมองเห็นในที่มืด เนื่องจากเขาสามารถระวังตัวได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ฟ้านั้นมืดลง แต่ก็ไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ถูกพบเลย มีชายถูกพบบนหลังคาของอาคารข้างเคียง เชื่อว่าเป็นไบรแอนต์ ในกลางดึก แบตเตอรี่โทรศัพท์ไร้สายที่ไบรแอนต์ใช้เริ่มจะหมดลง ตำรวจพยายามบอกให้เขาเอาโทรศัพท์กลับไปชาร์จแต่ไม่สำเร็จ และเมื่อแบตเตอรี่หมดลง การสื่อสารก็จบตามไปด้วย
การจับกุมและการส่งตัวขึ้นศาล
แก้ไบรแอนต์ถูกจับในเช้าวันถัดมา เมื่อดูเหมือนว่าเขาเผาจะบ้านนั้นทิ้ง เขายั่วตำรวจว่า "เข้ามาแล้วพาเขา (ตัวประกัน) ออกไป" แต่ตำรวจเชื่อว่าตัวประกันน่าจะตายไปแล้ว ตัดสินใจว่าไฟน่าจะบีบให้เขาออกมา กระสุนจำนวนมากถูกจุดประทุและระเบิดอย่างไม่สม่ำเสมอ เพราะบ้านถูกไฟไหม้ สุดท้าย เขาก็หนีออกมาพร้อมเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ เขาพยายามถอดเสื้อผ้าที่ติดไฟออก เขาถูกตำรวจจับและนำไปรักษาที่โรงพยาบาล
นายแพรส์ถูกพบว่าตายไปก่อนไฟไหม้แล้ว ร่างของคู่มาร์ตินก็ถูกพบและถูกชันสูตรว่าทั้งคู่ถูกยิง ในกรณีของนางมาร์ตินนั้น ได้รับการทุบตีด้วย ทั้งคู่ตายก่อนไฟไหม้ ตามที่ถูกกล่าวในศาลฎีกาของแทสเมเนีย ทั้งคู่เสียชีวิตประมาณบ่าย ๆ ของวันที่ 28 เมษายน อาวุธชิ้นหนึ่งถูกพบว่าไหม้ในบ้าน และอีกกระบอกบนหลังคาที่เชื่อว่าไบรแอนต์ถูกพบเห็นในตอนกลางคืน ทั้ง2กระบอกถูกพบว่าระเบิดเนื่องจากแรงดันในกระบอก อาจจะเนื่องจากการถูกเผา
ในการสอบสวนของตำรวจถึงสาเหตุที่ไบรแอนต์ขโมยรถบีเอ็มดับเบิลยู แต่เขาอ้างว่ามีคนแค่ 3 คนในรถนั้น และไม่ได้ยิงใครเลย เขาปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ขโมยรถมาจากบู๊ทขายตั๋ว แต่เอามาจากตัวประกันของเขา เขาว่าเขาคิดว่าตัวประกันเขาตายไปแล้วตอนที่รถระเบิด เขาแยกแยะไม่ได้ระหว่างไฟไหม้รถและไฟไหม้บ้าน เขาปฏิเสธการไปเยือนพอร์ตอาร์เทอร์ ซึ่งกลับกันกับคำให้การของคนหลายคนรวมทั้งคนขายตั๋ว เป็นอะไรที่แยกแยะไม่ได้ว่าเขาโกหกระหว่างการสอบสวน หรือว่าเป็นความพิการทางจิตในการลำดับเหตุการณ์กันแน่ ไบรแอนต์ยังให้การว่าปืนที่ตำรวจพบนั้นไม่ใช่ของเขา เว้นแต่ปืนลูกซองที่พบในรถใกล้บู๊ทขายตั๋วเท่านั้น
ในชั้นต้น ไบรแอนต์ให้การว่าเขาไม่ได้ตั้งใจสังหารทั้ง 35 ชีวิต เขาหัวเราะอย่างคนไร้สติเมื่อผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษา สุดท้ายเขาต้องยอมจำนนต่อหลักฐาน ไบรแอนต์ไม่ได้ยอมรับว่าเขาทำผิด เขาถูกระบุว่าผิดจริง และถูกจองจำตลอดชีวิตจากการสังหาร 35 ชีวิต บวกกับ 1,035 ปีในเรินจำริดดอน ของเมืองโฮบาร์ท (จากการรวมโทษทั้งหมดเข้าด้วยกันรวมทั้งพยายามฆ่า, ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บด้วยการยิงและการทำร้ายผู้คนหลายราย) เอกสารการจองจำของเขาไม่ได้รับการเปิดเผย การรับโทษของเขานั้น ไม่มีการอภัยโทษ ซึ่งพบได้ยากมากในออสเตรเลีย ซึ่งส่วนมากนักโทษในออสเตรเลีย จะได้รับโอกาสอภัยโทษหลังถูกจองจำมายาวนาน มาร์ติน ไบรแอนต์ถูกจัดว่าเป็น ฆาตกรสังหารหมู่ที่เหี้ยมโหดที่สุดในออสเตรเลีย และเหตุการณ์นี้ก็เป็นเหตุการสังหารหมู่ที่เลวร้ายที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน (ไม่นับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์)
ปฏิกิริยาตอบรับต่อเหตุการณ์
แก้ความตื่นตระหนกตกใจแผ่ขยายไปทั่วออสเตรเลียอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบทางการเมืองอย่างยิ่งใหญ่และยาวนาน รัฐบาลของออสเตรเลีย ทั้งระดับสหพันธ์และระดับรัฐต่างก็เร่งควบคุมอาวุธยิงในบัดดล แม้แต่ในรัฐที่สนับสนุนการมีอาวุธปืนเช่นรัฐแทสเมเนียและรัฐควีนส์แลนด์ ในช่วงแรก ๆ รัฐบาลแทสเมเนียพยายามขัดขืนต่อการควบคุมอาวุธปืน แต่ก็มิอาจะทัดทานแรงกดดันจากรัฐบาลสหพันธ์ได้ (ออสเตรเลียมีรัฐบาล 2 ระดับ คือระดับสหพันธ์ที่ดูแลทั้งประเทศ กับรัฐบาลท้องถิ่น ที่ดูแลในรัฐของตัวเอง) ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้มีการควบคุมอาวุธที่รุนแรง รัฐบาลฝั่งที่สนับสนุนการครอบครองอาวุธต่างก็นิ่งเงียบ โดยเลี่ยงไปให้ความเห็นในที่สาธารณะเกี่ยวกับกระแสข่าวการยิงแทน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหพันธ์ และรัฐบาลท้องถิ่นจากทุกรัฐ ในการห้ามและควบคุมการครอบครองอาวุธและการใช้อาวุธจำพวก ปืนไรเฟิลบรรจุเอง, ปืนลูกซองบรรจุเอง, ปืนลูปซองแบบกระชากบรรจุ และอาวุธยิงจำพวกอื่นอย่างเข้มงวด สมาชิกในครอบครัวของเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอล์เทอร์ ไมแคก (เขาเสียภรรยาและลูกสาว2คนจากเหตุการณ์นี้) ที่ได้ออกมากล่าวแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
มีการถกกันมากเกี่ยวกับระดับสุขภาพจิตของมาร์ติน ไบรแอนต์ โดยทั่วไปแล้วพบว่า ไบรแอนต์มีระดับความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าปกติ (ประมาณ 66 และอยู่ในระดับ 2%ต่ำสุดของช่วงอายุของเขา) อีกทั้งเขายังได้รับการรับรองว่าเป็นผู้พิการทางจิต แต่ในทางกลับกัน เขากลับไม่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตหรือโรคประสาทเลย รายงานที่ว่าเขาเป็นโรคจิตนั้น มาจากการตีความหมายของที่ปรึกษาทางจิตที่ผิดพลาดของแม่ของเขา สื่อเองก็รายงานถึงพฤติกรรมที่เหมือนเด็กของเขา แต่ในทางกลับกัน เขาสามารถขับรถและมีอาวุธปืนในครอบครองได้ [5] นี่เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมากในสาธารณะ เพื่อชี้ว่ากฎหมายการควบคุมอาวุธยังไม่รัดกุมดีพอ ไบรแอนต์ถูกวินิจฉัยว่าเป็น Asperger syndrome
ไบรแอนต์ได้รับการตรวจสอบว่าสามารถที่จะขึ้นศาลได้ แต่ไม่มีอะไรชี้ชัดว่าเขาจะถูกระบุว่าเป็นอาชญากรโรคจิตเพราะเขารู้ตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง (อ่านเพิ่มได้ที่ M'Naghten Rules)
หลัวไบรแอนต์ถูกจองจำ นักโทษรายอื่นพยายามที่จะฆ่าเขาในคุก เพื่อความปลอดภัยของเขา เขาจึงถูกแยกตัวออกมาจนเกือบจะกลายเป็นการขังเดี่ยวในคุกสร้างพิเศษตั้งแต่ พฤศจิกายน 2539 - กรกฎาคม 2540 แรงจูงใจในการก่อเหตุของเขา ถูกเก็บไว้เป็นความลับยิ่งยวด[5] รู้แต่เพียงทนายความของเขา ที่ไม่สามารถเปิดเผยความลับของลูกค้าโดยปราศจากความยินยอม ไบรแอนต์ได้รับอนุญาตให้ฟังเพลงจากวิทยุนอกคุก โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับข่าวเกี่ยวกับการสังหารหมู่ของเขาเลย ช่างภาพที่เข้าไปถ่ายรูปของเขา จะถูกเจ้าหน้าที่บังคับให้ทำลายฟิล์มทิ้ง ผู้ที่เข้าไปสัมภาษณ์เขา จะโกหกเขาว่าไม่มีใครพูดถึงการกระทำของเขาเลย[6]
เรื่องราวจากนั้นและการวิเคราะห์
แก้สวนประวัติศาสตร์พอร์ตอาร์เทอร์ถูกเปิดในอีกไม่กี่สัปดาห์ถัดมา และจากนั้น ภัตตาคารใหม่ก็ถูกสร้างขึ้น ร้านบรอด แอโรว์ คาเฟ ก็ถูกเปลี่ยนให้เป็น "place for quiet reflection" และสถามที่รอบ ๆ ก็กลายเป็น "สวนรำลึก" เจ้าหน้าที่ที่พอร์ตอาร์เทอร์เองก็ไม่อยากจะพูดถึงเหตุการณ์นั้น และเลือกที่จะทำให้สถานที่ คงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
เหตุการณ์สังหารหมู่ที่พอร์ตอาร์เทอร์นี้ คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในเมือง Dunblane ในสก็อตแลนด์ ที่เกิดเหตุคล้ายคลึงกัน (การสังหารหมู่ที่เมืองDunblane) เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ทำให้ชุมชนของทั้ง 2 เมืองแลกเปลี่ยนสิ่งของกันไปวางไว้อาลัยที่อนุสรณ์ของเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งสองเหตุการณ์
ศาสตราจารย์ พอล มูเลน นักจิตวิทยา Forensic ทำการวิจัยเพิ่มเติมพบว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ที่พอร์ตอาร์เทอร์และที่เกิดขึ้นก่อนนี้ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น เป็นอาชญากรรมลอกเลียนแบบ (Copycat Crime) [7] จากทฤษฎีนี้ บรรดาสื่อมวลชน ก็พยายามแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบอาชญากรรม ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ในแทสเมเนีย นักสืบก็พบว่ารายการ A Current Affair (รายการโทรทัศน์ในออสเตรเลีย ปัจจุบันก็ยังฉายอยู่ทางช่อง 9 ของออสเตรเลีย) ได้แนะนำการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดการยอมรับการสังหารหมู่[8][9][10] แต่แรงจูงใจให้ไบรแอนต์ก่อเหตุนั้น น่าจะมาจากการสังหารหมู่ที่ Dunblane [11]
การสังหารนาเน็ทท์ ไมแคก และลูกสาวทั้ง 2 อลันนาห์และเมเดลีน สร้างแรงบันดาลใจให้ ดร.ฟิล เวสท์ พ่อลูกสาว 2 ชาวออสเตรเลีย ตั้งกองทุนเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เด็กที่ถูกฆาตกรรม ดร.เวสท์ มีลูกสาว 2 คน อายุไล่เลี่ยกับเด็กทั้งสองที่ถูกสังหาร เมื่อเขาได้ดูข่าว และได้เห็นภาพวาดที่อลันนาห์วาดเอาไว้ และถูกนำมาฉายออกทีวี เขามองไปรอบ ๆ ฝาผนัง มองรูปวาดที่ลูก ๆ ของเขาวาดเอาไว้ และในนาทีนั้น เขาก็ฝันถึงกองทุนเพื่อเด็ก ๆ ที่ถูกสังหาร เขาติดต่อไปยัง วอล์เทอร์ ไมแคก แล้วทั้งคู่ก็ทำงานร่วมกันเพื่อตั้งกองทุน ซึ่งได้รับการเปิดตัวโดยนายกรัฐมนตรี (นายจอห์น โฮวาร์ด) ในวันครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์ กองทุนนี้ชื่อว่า "กองทุนอลันนาห์และเมเดลีน" มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กที่เป็นเหยื่ออาชญากรรม นอกจากนี้ กองทุนยังต่อต้านการรังแกระดับชาติด้วย ในหนังสือของวอล์เทอร์ "To Have and to Hold" เขาได้กล่าวถึงการตั้งกองทุนเอาไว้ว่า
เมื่อมันถึงตาของฉันที่จะกล่าวกับฝูงชน ฉันบอกพวกเขาว่า ความคิดในการตั้งกองทุนนี้ มาจากพ่ออีกคนจากเมลเบิร์น ฟิล เวสท์ ที่เขาก็มีลูกสาว 2 คนเหมือนฉัน สำหรับฉันแล้ว นี่ประดุจภาพมายาว่า คนธรรมดา ๆ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และนี่คือความสามารถในตัวของพวกเราทุกคน
แรงบันดาลใจทางศิลปะ
แก้ในปี 2550 ทอม ฮอโลเวย์ นักเขียนบทละคร นำเหตุการณ์นี้มาเขียนเป็นบทละคร "Beyond the Neck"[12] ส่วนแมททิว ดีวีย์ นักแต่งเพลงชาวแทสเมเนียนก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นแรงบันดาลใจในซิมโฟนีชิ้นแรกของเขา [13].
ทฤษฎีสมคบคิด
แก้มีทฤษฎีสมคบคิดอยู่อย่างน้อย 2 ทฤษฎี ที่อาจจะนำไปสู่การสังหารหมู่ครั้งนี้
ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ และได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ โจว์ วิออลส์ โดยเชื่อว่า ไบรแอนต์ถูกทำให้เหมือนกับว่าเป็นอาชญากร โดยบุคคลลึกลับหนึ่งหรือมากกว่านั้น ที่เป็นมือสังหารที่แท้จริง [14] ทฤษฎีนี้นั้นถูกนำไปกล่าวอ้าง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนการครอบครองอาวุธปืน อีกทั้งกล่าวว่าพวกต่อต้านอาศัยเหตุลอบสังหารล็อบบี ให้ร่างกฎหมายความคุมอาวุธผ่านสภา ตัวอย่างเช่น องค์กรกึ่งทหารอย่าง สมาคมลูกเสือออสเตรเลีย กล่าวว่า ไบรแอนต์ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะถือปืนออกไปก่อเหตุสังหารหมู่[15] อีกทฤษฎีหนึ่งที่นำมาใช้เทียบเคียง ก็คือเหตุการณ์สังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี[ต้องการอ้างอิง]
อีกทฤษฎีหนึ่ง ที่ซึ่งขัดแย้งทฤษฎีสมคบคิดทั้งหมดว่าไม่มีมูลนั้น นำเสนอโดยสื่อและหน่วยงานรัฐ ทั้งรัฐบาลรัฐแทสเมเนีย, ตำรวจแทสเมเนีย, อัยการ เดเมียน บักก์ และจอห์น เอเวรี ทนายของไบรแอนต์ ต่างก็ไม่เห็นด้วยว่าไบรแอนต์ไม่ได้ลงมือเพียงลำพัง หรือกล่าวง่าย ๆ ได้ว่า หลักฐานที่มีไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดเลย[16]
พ.ศ. 2544 นางพอลลีน แฮนสัน หัวหน้าพรรควันเนชัน[17] สร้างกระแสการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ โดยกล่าวว่าประเทศในเครือจักรภพคิดว่า "การสืบสวนอย่างเต็มกำลัง" นั้นเป็นไปไม่ได้ เมื่อ "คนหลายคนกำลังถามถึง" พอร์ตอาร์เทอร์[18] สมาคมยิงปืนแห่งออสเตรเลียปฏิเสธทฤษฎีสมคบคิดทั้งหมด และชี้ว่าข้อกล่าวอ้างทั้งหมดเป็น "เรื่องงี่เง่า" และเตือนพรรควันเนชันว่า จะเปลี่ยนใจถอนคำพูด หรือจะเสี่ยงต่อการถูกชักนำโดยผู้คนในชุมชน[19]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Australian gunman laughs as he admits killing 35". CNN News. 1996-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ "DHHS, Tasmania - The Agency - The Wilfred Lopes Centre - Homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 The Queen v. Martin Bryant, [1] (Supreme Court, Salamnaca Place, Hobart 19 November 1996).
- ↑ "The New Charges Against Bryant." The Advocate, July 6 1996. http://www.geniac.net/portarthur/new.htm
- ↑ 5.0 5.1 "A Transcript Of The Police Interview With Martin Bryant". The Port Arthur Massacre Conspiracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
- ↑ "Managing Martin: The Jailing of Martin Bryant". Radio National. Australian Broadcasting Corporation.
- ↑ Mullen, Paul quoted in Hannon K 1997, “Copycats to Blame for Massacres Says Expert”, Courier Mail, 4/3/1997
- ↑ Hansen, Jane 1995. “Tassie Guns”, A Current Affair 2 Oct 1995, featuring Roland Browne and Rebecca Peters of the Coalition for Gun Control. Nine Network broadcast.
- ↑ Lovibond J. 1996. ‘Hobart gun death related to TV show’, Hobart Mercury, 21/05/1996, Ed: 1, Pg: 2, 511 words. Newstext
- ↑ Allen, C (2006). "Ideas Kill: Science Sheds New Light on Port Arthur Massacre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
- ↑ Wainwright, Robert (2006-03-28). "Inside the mind of a mass murderer". The Sydney Morning Herald.
- ↑ "Department of Education : Beyond The Neck - Tasmania Performs Production". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
- ↑ Matthew Dewey, Composer and Singer
- ↑ "Joe Vialls". The Port Arthur Massacre Conspiracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-26. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
- ↑ "Secrets and Lies". Lateline. Australian Broadcasting Authority. 1999-05-12.
- ↑ "Port Arthur conspiracy theory still upsets Tasmanians". The World Today. Australian Broadcasting Corporation. 2001-02-21.
- ↑ นางพอลลีน และพรรควันเนชัน มีนโยบายหลักที่จะขับไล่ชาวเอเชียออกไปจากออสเตรเลียให้หมด คงไว้แต่เพียงชาวยุโรปและอะบอริจิน ในปี พ.ศ. 2542 แต่ล้มเหลว ปัจจุบัน เธอไม่ได้ทำงานการเมืองแล้ว เนื่องจากนโยบายของเธอไม่เป็นที่ยอมรับโดยคนส่วนใหญ่
- ↑ "Outrage as One Nation revives massacre theory". The Sydney Morning Herald (on Internet Archive: Wayback Machine. 2001-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "SSAA refute Port Arthur conspiracy theory". Sporting Shooters' Association of Australia Inc. 2001-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.