การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (จีน)

การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ เกิดขึ้นระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 และลากยาวไปสองหรือสามวัน เมื่อส่วนหน้าของกองพลที่หนึ่งแห่งกองทัพญี่ปุ่นที่สอง ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกตาเดียว ยามาจิ โมโตฮารุ (ค.ศ. 1841-1897) สังหารทหารช่างและพลเรือนชาวจีนไประหว่าง 1,000 ถึง 20,000 คน เหลือผู้รอดชีวิตไว้เพียง 36 คนเพื่อฝังศพ[1] ในนครชายฝั่งพอร์ตอาร์เทอร์ของจีน (ปัจจุบันคือ ลวีชุนโกว) อย่างไรก็ดี มีการสงสัยตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตที่สูง เพราะบันทึกร่วมสมัยของสงครามประเมินตัวเลขประชากรทั้งหมดของพอร์ตอาร์เทอร์ไว้ที่ 6,000 คน (หรือ 13,000 คน หากรวมทหารประจำนคร) [2] รายงานภายหลังประเมินว่า 18,000 คนจากทั้งสองฝ่ายเข้าต่อสู้กัน โดยชาวจีนเสียชีวิต 1,500 คน[3]

การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์
ภาพวาดทหารญี่ปุ่นตัดแขนขาศพ
สถานที่พอร์ตอาร์เทอร์ (ปัจจุบันคือ Lu Shunkou), ต้าเหลียน, ประเทศจีน
วันที่21 พฤศจิกายน ค.ศ.1894
เป้าหมายทหารและประชาชน
ประเภทการสังหารหมู่
ตาย13,000 หรือ 60,000 ขึ้นอยู่กับหลักฐาน
ผู้ก่อเหตุ1st Division, กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น

เหตุการณ์

แก้

บันทึกของพยานคนหนึ่งบรรยายเหตุการณ์ว่า ไม่เลือกหน้าและป่าเถื่อนโดยสิ้นเชิง บันทึกรายงานว่า ชาย หญิง เด็ก และทารกถูกฆ่าด้วยวิธีซึ่ง ตามผู้เขียนแล้ว น่าสะพรึงกลัวเกินกว่าจะอธิบายได้ ทั้งหมดขณะนอนราบลงกับพื้นและร้องขอความเมตตา ผู้เขียนอธิบายห้องซึ่งเลือดนองปกคลุมพื้นทั้งสิ้น ศพถูกตัดศีรษะและคว้านท้อง ทารกถูกเสียบและถูกทิ้งให้ห้อยบนกำแพงและโต๊ะกั้น หัวถูกวางไว้บนเสาและหิ้ง และการแสดงความเลวทรามอันน่าสยดสยองอื่น ๆ บันทึกยังได้อธิบายต่อไปถึงที่ซึ่งพลเรือนถูกบังคับให้เข้าไปในบ่อน้ำลึกและถูกยิงไม่เลือก ผู้ที่พยายามหลบหนีถูกแทงด้วยดาบปลายปืนขณะที่พวกเขาพยายามปีนหนีออกมา ทั้งหมดนี้ขณะที่ทหารญี่ปุ่นหัวเราะและสนุกสนานกับการฆ่า ตามบันทึกผู้เขียน[4]

อ้างอิง

แก้
  1. p.330 Villiers, Frederic. The Truth About Port Arthur Cornell University Online Scans
  2. Northrop, Henry Davenport. Flowery Kingdom and The Land of Mikado or China, Japan and Corea: Graphic Account of the War between China and Japan-Its Causes, Land and Naval Battles (1894)
  3. Everett, Marshall. Exciting Experiences in the Japanese-Russian War. (1904).
  4. James Allen (1898). Under the dragon flag: My experiences in the Chino-Japanese war. Frederick A. Stokes Company. pp. 76–99. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.