การสะกดจิต (อังกฤษ: hypnosis) เป็นสภาพพิชานของมนุษย์ ที่มีการมุ่งความใส่ใจและลดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว รวมทั้งตอบสนองต่อสิ่งชักจูงง่ายขึ้น[1]

ภาพวาด Hypnotic Séance (ค.ศ. 1887) โดย Richard Bergh
Photographic Studies in Hypnosis, Abnormal Psychology (ค.ศ. 1938)

ทฤษฎีอธิบายสิ่งที่เกิดระหว่างการสะกดจิตแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นการเปลี่ยนสภาพจิตหรือการอยู่ในภวังค์ (trance) สังเกตจากระดับความรู้สึกตัวที่แตกต่างจากสภาพพิชานปกติ[2][3] ในทางตรงข้าม ทฤษฎีไม่ใช่สภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการกำหนดบทบาทในจินตนาการ[4][5][6]

คนที่เคยถูกสะกดจิตกล่าวว่าพวกเขารู้สึกมีสมาธิมากขึ้น และระหว่างถูกสะกดจิตยังสามารถตั้งสมาธิอย่างแรงกล้าไปยังความคิดหรือความทรงจำเฉพาะ โดยไม่สนใจสิ่งเร้าอื่น[7] ผู้ถูกสะกดจิตมักแสดงการตอบรับต่อสิ่งชักจูงง่ายขึ้น[8]

การสะกดจิตมักทำโดยใช้ชุดคำสั่งเบื่องต้นและการชักจูง การใช้การสะกดจิตเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เรียกว่า "สะกดจิตบำบัด" (hypnotherapy) และการใช้เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมถูกเรียกว่า "การสะกดจิตแบบการแสดง" (stage hypnosis) มักนำแสดงโดยนักมโนนิยม (mentalist) ที่ผ่านการฝึกศาสตร์ของมโนนิยม (mentalism)

ที่มาของคำ แก้

คำว่า "hypnosis" มาจากคำกรีกโบราณ ὕπνος hypnos ที่แปลว่า "การนอน" และคำต่อท้าย -ωσις -osis หรือจาก ὑπνόω hypnoō, "การทำให้หลับ" (ส่วนหนึ่งของคำว่า hypnōs-) และคำต่อท้าย -is[9][10] ทั้งคำว่า "hypnosis" และ "hypnotism" มาจากคำว่า "neuro-hypnotism" (การนอนทางประสาท) ล้วนเป็นคำที่ตั้งขึ้นโดย Étienne Félix d'Henin de Cuvillers ใน ค.ศ. 1820

ลักษณะเฉพาะ แก้

คนที่กำลังถูกสะกดจิตนั้นผ่อนคลาย มีความใส่ใจไปที่สิ่งเดียว และถูกชักจูงได้ง่าย[11]

คนที่ถูกสะกดจิตเหมือนจะสนใจแต่เพียงการสื่อสารจากผู้สะกดจิตเท่านั้น และมักตอบสนองในรูปแบบอัตโนมัติโดยไม่ผ่านการวิเคราะห์ ขณะเมินเฉยต่อสิ่งรอบข้างทุกอย่างนอกจากสิ่งที่ถูกชี้โดยผู้สะกดจิต ขณะถูกสะกดจิต คนมักเห็น รู้สึก ได้กลิ่น หรือรับรู้ ตามคำชักจูงของผู้สะกดจิต แม้คำชักจูงเหล่านั้นอาจตรงข้ามกับสิ่งเร้าจริงซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อม ผลของการสะกดจิตไม่จำกัดอยู่เพียงการรับรู้เท่านั้น ทว่าความทรงจำและความตระหนักรู้ในตนอาจเปลี่ยนไปตามการชักจูง และผลของการชักจูงอาจคงอยู่หลังตื่นจากการสะกดจิต[12]

สามารถกล่าวได้ว่าการชักจูงโดยการสะกดจิตตั้งใจใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ยาหลอก ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1994 เออร์วิง เคอร์ช (Irving Kirsch) บรรยายว่าการสะกดจิตเป็นเหมือน "ยาหลอกแบบไม่ลวงตา" (nondeceptive placebo) หรือเป็นวิธีที่ใช้ประโยชน์จากการชักจูงอย่างเปิดเผยและใช้วิธีเพื่อขยายผล[13][14]

การประยุกต์ใช้ แก้

การสะกดจิตถูกประยุกต์ใช้ในหลายด้าน รวมทั้ง การใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์หรือจิตบำบัด, การใช้ทางทหาร, การใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และการใช้เพื่อความบันเทิง ปัจจุบันสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ไม่แสดงจุดยืนอย่างเป็นทางการต่อการใช้การสะกดจิตทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยโดยสภาสุขภาพจิตจากสมาคมการแพทย์อเมริกัน ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1958 พบว่าการสะกดจิตมีประสิทธิภาพด้านการรักษา[15]

การสะกดจิตถูกใช้เป็นแนวทางเสริมของการบำบัดด้วยการรู้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 การสะกดจิตถูกให้ความหมายโดยเปรียบเทียบกับการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยคำพูดของนักบำบัดเหมือนกับสิ่งเร้าและการถูกสะกดจิตเป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข วิธีการบำบัดด้วยการรู้แบบดั้งเดิมบางแบบตั้งอยู่บนฐานของการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยมักประกอบด้วยการชักนำเข้าสู่สภาวะผ่อนคลาย ตามด้วยการเสนอสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความกลัว วิธีหนึ่งในการชักนำเข้าสู่สภาวะผ่อนคลายคือการสะกดจิต[16]

การสะกดจิตยังถูกใช้ในการสืบสวน, กีฬา, การศึกษา, กายภาพบําบัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพ[17] การสะกดจิตยังถูกใช้โดยศิลปินเพื่อเพิ่มความสร้างสรรค์ อ็องเดร บรีตัน (André Breton) ผู้โด่งดังที่สุดในวงการลัทธิเหนือจริง ใช้การสะกดจิต, การเขียนอัตโนมัติ (automatic writing) และแบบร่างเพื่อความสร้างสรรค์ วิธีการสะกดจิตถูกใช้เพื่อให้คนไข้กลับไปรู้สึกเหมือนอยู่ภายใต้ผลของยาอีกครั้ง[18] หรือประสบสิ่งลี้ลับ[19][20] การสะกดจิตตนเองนิยมใช้เพื่อเลิกบุหรี่, คลายความเครียดหรือความกังวล, ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยให้นอนหลับ การสะกดจิตแบบการแสดงสามารถชักชวนให้คนแสดงสิ่งแปลก ๆ ในสาธารณะ[21]

บางคนมองว่าการสะกดจิตมีส่วนคล้ายกับจิตวิทยาฝูงชน, โรคฮิสทีเรียทางศาสนา และการอยู่ในภวังค์ขณะประกอบพิธีกรรมของชนเผ่าในวัฒนธรรมสมัยก่อนรู้หนังสือ[22]

การสะกดจิตบำบัด แก้

การสะกดจิตบำบัดเป็นการใช้การสะกดจิตในจิตบำบัด[23][24][25] แพทย์และนักจิตวิทยาอาจใช้การสะกดจิตเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ, ความผิดปกติด้านการนอน, การเสพติดการพนัน และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ[26][27][28] ส่วนนักจิตบำบัดที่ได้รับการรับรองซึ่งไม่ใช่แพทย์หรือจิตแพทย์มักรักษาอาการติดบุหรี่และช่วยในการคุมน้ำหนัก

การสะกดจิตบำบัดยังสามารถใช้รักษาโรคทางจิตควบคู่กับการบำบัดซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วอย่างการบำบัดทางความคิด (cognitive therapy) การสะกดจิตบำบัดไม่ควรถูกใช้เพื่อซ่อมแซมหรือฟื้นฟูความทรงจำ เพราะมักทำให้ความทรงจำชัดเจนขึ้นและเพิ่มความมั่นใจในความทรงจำเท็จ[29]

งานวิจัยขั้นต้นแสดงว่าการสะกดจิตระยะเวลาสั้น ๆ อาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย HIV-DSP ด้วยความที่สามารถใช้ควบคุมความเจ็บปวด, ความได้ผลระยะยาวหลังการแซกแซงระยะสั้น, ความที่ผู้ป่วยสามารถสะกดจิตตนเองได้, ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีข้อดีที่ไม่ต้องใช้ยา[30]

การสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ถูกใช้ในหลายรูปแบบ โดยให้ผลสำเร็จต่างกันไป เช่น:

 
ชาร์คอท (Charcot) สาธิตการสะกดจิตคนไข้โรคฮิสทีเรีย[31]
  • การสะกดจิตบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioural hypnotherapy) หรือการสะกดจิตทางการแพทย์ซึ่งรวมกับส่วนปนะกอบของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม[32]
  • การสะกดจิตย้อนอดีต (Age regression hypnotherapy หรือ hypnoanalysis)
  • การสะกดจิตบำบัดแบบเอริกสัน (Ericksonian hypnotherapy)
  • ความกลัวและโรคกลัว[33][34][35][36][37][38]
  • การเสพติด[39][40]
  • การควบคุมนิสัย[41][42][43]
  • การควบคุมเจ็บปวด[44][45][46][47]
  • จิตบำบัด[48]
  • ผ่อนคลาย[49]
  • ลดพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วย (เช่น การเกา) ที่อาจขัดขวางการรักษาโรคผิวหนัง[50]
  • การทำให้คนไข้ที่กำลังจะผ่าตัดสงบลง
  • สมรรถภาพกีฬา[51][52]
  • การลดน้ำหนัก[53][54][55]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 เดียร์เดร บาเรต (Deirdre Barrett) นักจิตวิทยาจากมหาลัยฮาร์วาร์ดเขียนบนบทความจากวารสาร Psychology Today[56] ว่า:

การอยู่ในภวังค์ขณะถูกสะกดจิตไม่อาจรักษาโรคได้ในตัวเอง ทว่าการชักจูงอย่างเฉพาะเจาะจงและรูปภาพที่ถูกป้อนให้ผู้รับสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับได้อย่างลึกซึ้ง ขณะพวกเขาซ้อมรูปแบบใหม่ที่พวกเขาอยากจะคิดและรู้สึก พวกเขาสร้างรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่กำลังจะทำในอนาคต...

บาเรตบรรยายถึงวิธีเฉพาะที่สิ่งนี้ถูกดำเนินการสำหรับการเปลี่ยนนิสัยและเยียวยาโรคกลัว ในหนังสือเกี่ยวกับกรณีศึกษาการสะกดจิตบำบัด ค.ศ. 1998 เธอเขียนสรุปงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับการสะกดจิตและโรคดิสโซสิเอทีฟ, การเลิกบุหรี่ และอากการนอนไม่หลับ โดยบรรยายถึงความสำเร็จของการรักษา[27]

โรคลำไส้แปรปรวน แก้

มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้การสะกดจิตบำบัดเพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) [57][58] การสะกดจิตเพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวนได้รับการสนับสนุนระดับกลางจากคำแนะนำของสถาบันสุขภาพแห่งชาติและความเป็นเลิศทางคลินิก (National Institute for Health and Clinical Excellence) ซึ่งถูกแผยแพร่เพื่อการบริการสุขภาพที่สหราชอาณาจักร[59] การสะกดจิตบำบัดถูกใช้เพื่อช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกของยาสลบจากสารเคมี[60][61][62]

การควบคุมความเจ็บปวด แก้

หลายงานวิจัยแสดงว่าการสะกดจิตสามารถลดความเจ็บปวดที่รู้สึกระหว่างการการตัดเนื้อตายออกจากแผลไฟไหม้[63] การเจาะเก็บไขกระดูก และการคลอด[64][65] วารสาร International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis พบว่าการสะกดจิตลดความเจ็บปวดในร้อยละ 75 ของผู้รับการทดลองทั้งหมด 933 คนใน 27 การทดลอง[66]

การสะกดจิตส่งผลในการลดความเจ็บปวดจากมะเร็งและจากการรับมือกับมะเร็ง[67][68] และโรคเรื้อรังอื่น ๆ[66] การสะกดจิตยังอาจช่วยควบคุมอาการคลื่นไส้และอาการอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้[69][70][71][72] บางคนอ้างว่าการสะกดจิตอาจช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคมะเร็งแข็งแรงขึ้น American Cancer Society กล่าวว่า "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีตอนนี้ไม่สนับสนุนความคิดที่ว่าการสะกดจิตสามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาหรือการรุกรามของมะเร็ง"[73]

การสะกดจิตถูกใช้เพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัดทางทันตกรรม นักวิจัยรายงานว่าการสะกดจิตสามารถช่วยแม้กระทั่งผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บในช่องปากและฟัน[74] นอกจากนี้ Meyerson และ Uziel ยังเสนอว่าวิธีการสะกดจิตสามารถช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยเป็นโรคกลัวการทำฟันอย่างรุนแรง[75]

สำหรับนักจิตวิทยาบางคนที่เชื่อในทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสภาพของการสะกดจิต การบรรเทาความเจ็บปวดโดยการสะกดจิตเป็นผลของการประมวลผลแบบคู่ของสมอง โดยการตั้งความสนใจหรือละความสนใจจากสิ่งหนึ่ง[76]

สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกันแผยแพร่งานวิจัยเปรียบเทียบผลของการสะกดจิต, การชักจูงธรรมดา และยาหลอกในการลดความเจ็บปวด โดยพบว่าคนที่ถูกชักจูงง่ายรู้สึกว่ามีการลดลงของความเจ็บปวดมากกว่าหลังถูกสะกดจิตเมื่อเทียบกับยาหลอก ส่วนคนที่ถูกชักจูงยากกว่าไม่รู้สึกว่ามีความแตกต่างระหว่างการสะกดจิตและยาหลอก การชักจูงธรรมดาก็ลดความเจ็บปวดเช่นกันเมื่อเทียบกับยาหลอก โดยได้ผลกับคนจำนวนมากกว่าทั้งที่ถูกชักจูงง่ายและยากเมื่อเทียบกับการสะกดจิต ผลการทดลองแสดงว่าการบรรเทาความเจ็บปวดเป็นผลจากการชักจูงไม่ว่าจะเป็นด้วยการสะกดจิตหรือไม่[77]

ทหาร แก้

ใน ค.ศ. 2006 เอกสารลับจาก ค.ศ. 1966 ที่ถูกเปิดเผยแสดงว่าการสะกดจิตถูกศึกษาเพื่อการประยุกต์ใช้ทางทหาร[78] เอกสารฉบับเต็มสำรวจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการใช้แบบควบคุม[78] ข้อสรุปโดยรวมของการวิจัยกล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการสะกดจิตสามารถใช้เพื่อการทหาร และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า "การสะกดจิต" เป็นปรากฏการณ์ที่ให้ความหมายเหนือไปกว่าการชักจูงธรรมดา, แรงจูงใจ และการคาดหวังของผู้ถูกทดลอง

การสะกดจิตตนเอง แก้

การสะกดจิตตนเองเกิดขึ้นเมื่อคนสะกดจิตตนเอง โดยมักใช้วิธีการแนะนำใจตัวเอง (autosuggestion) เทคนิคมักถูกใช้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก เลิกบุหรี่ หรือคลายความเครียด บางทีคนที่สะกดจิตตนเองอาจต้องการความช่วยเหลือ บางคนใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า มายด์แมชีน (mind machine) เข้าช่วย หรือบางคนอาจใช้การบันทึกเสียงสะกดจิต การสะกดจิตตนเองอาจช่วยลดอาการตื่นเวที ช่วยให้ผ่อนคลาย และช่วยในความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย[79]

การสะกดจิตแบบการแสดง แก้

การแสดงการสะกดจิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ความบันเทิง โดยมักแสดงให้ผู้ชมดูในคลับหรือโรงละคร ผลของการแสดงจากนักสะกดจิตทำให้หลายคนเชื่อว่าการสะกดจิตเป็นการควบคุมจิตใจรูปแบบหนึ่ง การแสดงการสะกดจิตมักพยายามสะกดจิตผู้ชมทั้งหมด จากนั้นจึงเลือกคนที่อยู่ "ภายใต้" การสะกดจิตให้ขึ้นมาบนเวทีเพื่อแสดงสิ่งน่าอายต่าง ๆ ให้ผู้ชมที่เหลือดู อย่างไรก็ตาม ผลของการแสดงการสะกดจิตน่าจะประกอบจากปัจจัยทางจิตวิทยา, การคัดเลือกผู้เข้าร่วม, การชักจูง, การจัดฉาก และการใช้กลอุบาย[80] ความต้องการที่จะเป็นศูนย์รวมความสนใจ, การมีข้ออ้างที่จะเอาชนะความกลัวของตน และความกดดันที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ร่วมแสดง "ตามน้ำ"[81]

อาชญากรรม แก้

หลายคนถูกตั้งข้อสงสัยหรือกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการสะกดจิต รวมถึงการขโมยและการทารุณกรรมทางเพศ

ใน ค.ศ. 2011 นักสะกดจิตชั่วชาวรัสเซียถูกต้องสงสัยว่าใช้กลอุบายหลอกลวงให้ลูกค้าธนาคารในเมืองสตัฟโรปอลแจกเงินสดหลายพันปอนด์ ตำรวจท้องถิ่นกล่าวว่าเขาจะเข้าหาพวกลูกค้าและทำให้พวกเขาถอนเงินทั้งหมดจากบัญชีธนาคารมาให้เขา[82] เหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้นที่เมืองลอนดอนใน ค.ศ. 2014 ซึ่งเทปวิดีโอแสดงคล้ายขโมยได้สะกดจิตเจ้าของร้านก่อนจะทำการปล้น เหยื่อไม่ได้ทำอะไรเพื่อหยุดขณะหัวขโมยค้นกระเป๋าสตางค์ของเขาเพื่อขโมยเงินสด และเพียงกล่าวถึงขโมยหลังเขาได้หนีไปแล้ว[83][84]

ใน ค.ศ. 2013 Timothy Porter ซึ่งขณะนั้นเป็นนักสะกดจิตมือใหม่อายุ 40 ปี พยายามล่วงละเมิดทางเพศลูกค้าสาวที่พยายามลดน้ำหนัก เธอรายงานว่าตื่นขึ้นมาจากภวังค์และพบเขาอยู่ข้างหลังเธอโดยไม่ใส่กางเกง และบอกให้เธอช่วยตัวเอง ต่อมาเขาถูกฟ้องในศาลในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[85] ใน ค.ศ.​ 2015 Gary Naraido ซึ่งขณะนั้นอายุ 52 ปี ถูกตัดสินให้ติดคุก 10 ปี จากคดีทารุณกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการสะกดจิตหลายคดี นอกจากคดีหลักที่เขาได้กระทำการทารุณกรรมทางเพศต่อหญิงอายุ 22 ปี โดยการหลอกว่าจะทำการบำบัดให้ฟรีในโรงแรม เขายังยอมรับว่าเคยล่วงละเมิดทางเพศเด็กหญิงอายุ 14 ปี[86]

อ้างอิง แก้

  1. Lynn, Steven Jay; Green, Joseph P.; Kirsch, Irving; Capafons, Antonio; Lilianfeld, Scott O.; Laurence, Jean-Roch; Montgomery, Guy (October 2015). "Grounding hypnosis in science: The 'new' APA Division 30 definition of hypnosis as a step backward". American Journal of Clinical Hypnosis. 57 (4): 390–401. doi:10.1080/00029157.2015.1011472. PMID 25928778.
  2. Encyclopædia Britannica, 2004: "a special psychological state with certain physiological attributes, resembling sleep only superficially and marked by a functioning of the individual at a level of awareness other than the ordinary conscious state".
  3. Erika Fromm; Ronald E. Shor (2009). Hypnosis: Developments in Research and New Perspectives. Rutgers. ISBN 978-0-202-36262-5. สืบค้นเมื่อ 27 September 2014.
  4. Lynn S, Fassler O, Knox J; Fassler; Knox (2005). "Hypnosis and the altered state debate: something more or nothing more?". Contemporary Hypnosis. 22: 39–45. doi:10.1002/ch.21.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Coe W, Buckner L, Howard M, Kobayashi K; Buckner; Howard; Kobayashi (1972). "Hypnosis as role enactment: Focus on a role specific skill". The American journal of clinical hypnosis. 15 (1): 41–5. doi:10.1080/00029157.1972.10402209. PMID 4679790.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Steven J. Lynn; Judith W. Rhue (4 October 1991). Theories of hypnosis: current models and perspectives. Guilford Press. ISBN 978-0-89862-343-7. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  7. {{cite web |last=Segi |first=S. |year=2012 |title=Hypnosis for pain management, anxiety and behavioral disorders |publisher=Factiva |accessdate=December 7, 2012 |url=
  8. Lyda, Alex. "Hypnosis Gaining Ground in Medicine." Columbia News. Columbia.edu. Retrieved on 2011-10-01.
  9. hypnos, hypnoō. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project.
  10. Harper, Douglas. "hypnosis". Online Etymology Dictionary.
  11. T.L. Brink. (2008) Psychology: A Student Friendly Approach. "Unit 5: Perception." pp. 88 [1]
  12. "hypnosis." Encyclopædia Britannica web edition. Retrieved: 20 March 2016.
  13. Kirsch, I. (1994). "Clinical hypnosis as a nondeceptive placebo: Empirically derived techniques". The American journal of clinical hypnosis. 37 (2): 95–106. doi:10.1080/00029157.1994.10403122. PMID 7992808.
  14. Kirsch, I., "Clinical Hypnosis as a Nondeceptive Placebo", pp. 211–225 in Kirsch, I., Capafons, A., Cardeña-Buelna, E., Amigó, S. (eds.), Clinical Hypnosis and Self-Regulation: Cognitive-Behavioral Perspectives, American Psychological Association, (Washington), 1999 ISBN 1-55798-535-9
  15. Hypnosis, American Society of Clinical. "Account Login". www.asch.net.
  16. Chapman, Robin (August 2005). Clinical Use of Hypnosis in Cognitive Behavior Therapy : A Practitioner's Casebook. Springer Publisher Company. p. 6.
  17. André M. Weitzenbhoffer. The Practice of Hypnotism 2nd ed, Toronto, John Wiley & Son Inc., Chapter 16, pp. 583–587, 2000 ISBN 0-471-29790-9
  18. Fogel, S.; Hoffer, A. (1962). "The use of hypnosis to interrupt and to reproduce an LSD-25 experience". Journal of Clinical and Experimental Psychopathology. 23: 11–16.
  19. Van Quekelberghe, R., Gobel, P. and Hertweck, E. (1995). "Simulation of near-death and out-of-body experiences under hypnosis". Imagination, Cognition & Personality. 14 (2): 151–164. doi:10.2190/gdfw-xlel-enql-5wq6.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. "Using Hypnosis to Encourage Mystical Experience" เก็บถาวร 29 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Counselinginoregon.com. Retrieved on 2011-10-01.
  21. "History of the Stage Hypnotist and Stage Hypnosis Shows." เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. stagehypnosisshow.co.uk. Retrieved on 2015-01-23.
  22. Wier, Dennis R (1996). Trance: from magic to technology. Ann Arbor, Michigan: TransMedia. ISBN 1-888428-38-4.
  23. "Hypnosis." เก็บถาวร 30 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. University of Maryland-Medical Center
  25. "Australian Society of Clinical Hypnotherapists".
  26. Dubin, William. "Compulsive Gaming" (2006) เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Psycharts.com. Retrieved on 2011-10-01.
  27. 27.0 27.1 Deirdre Barrett (1998-07-21). The Pregnant Man: Tales from a Hypnotherapist’s Couch (1998/hardback, 1999 paper ed.). NY: Times Books/Random House. ISBN 0-8129-2905-5.
  28. Assen Alladin (15 May 2008). Cognitive hypnotherapy: an integrated approach to the treatment of emotional disorders. J. Wiley. ISBN 978-0-470-03251-0. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  29. Novella, S. (Producer). (2007, July 11). The Skeptic's Guide to the Universe [Audio podcast].
  30. Dorfman, David; George, Mary Catherine; Schnur, Julie; Simpson, David M; Davidson, George; Montgomery, Guy (July 2013). "Hypnosis for treatment of HIV neuropathic pain: A preliminary report". Pain Medicine. 14 (7): 390–401. doi:10.1080/00029157.2015.1011472. PMID 25928778.
  31. See: A Clinical Lesson at the Salpêtrière.
  32. Robertson, D (2012). The Practice of Cognitive-Behavioural Hypnotherapy: A Manual for Evidence-Based Clinical Hypnosis. London: Karnac. ISBN 978-1-85575-530-7.
  33. "Hypnotist eliminates fears and phobias" comedywood.com. None. Retrieved on 2011-10-01. เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. Gow, M. A. (2006). "Hypnosis with a blind 55-year-old female with dental phobia requiring periodontal treatment and extraction". Contemporary Hypnosis. 23 (2): 92–100. doi:10.1002/ch.313.
  35. Nicholson, J. "Hypnotherapy – Case History – Phobia". London College of Clinical Hypnosis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-29. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  36. Wijesnghe, B. (1974). "A vomiting phobia overcome by one session of flooding with hypnosis" (PDF). Journal of behavioural therapy and experimental psychiatry. 5 (2): 169–170. doi:10.1016/0005-7916(74)90107-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  37. Epstein, S. J.; Epstein, Seymour J. (1977). "Short-term Hypnotherapy for the treatment of flight phobia: A case report". American Journal of Clinical Hypnosis. 19 (4): 251–254. doi:10.1080/00029157.1977.10403885. PMID 879063.
  38. Rogers, Janet (May 2008). "Hypnosis in the treatment of social phobia". Australian Journal of Clinical & Experimental Hypnosis. 36 (1): 64–68.
  39. Kraft, T.; Kraft, D. (2005). "Covert sensitization revisited: Six case studies" (PDF). Contemporary Hypnosis. 22 (4): 202–209. doi:10.1002/ch.10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 มกราคม 2012.
  40. Elkins, G. R.; Rajab, M. H. (2004). "Clinical hypnosis for smoking cessation: Preliminary results of a three-session intervention". The International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis. 52 (1): 73–81. doi:10.1076/iceh.52.1.73.23921. PMID 14768970.
  41. "Hypnosis. Another way to manage pain, kick bad habits". mayoclinic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2009.
  42. Anbar, R.D. (January 2009). "Childhood habit cough treated with consultation by telephone: A case report". Cough. 5 (2): 1–3. CiteSeerX 10.1.1.358.6608. doi:10.1186/1745-9974-5-2.
  43. McNeilly, R. (September 1994). "Solution oriented hypnosis. An effective approach in medical practice". Australian Family Physician. 23 (9): 1744–6. PMID 7980173.
  44. "Hypnosis for Pain.". Webmd.com. Retrieved on 2011-10-01.
  45. Dahlgren, L.A.; Kurtz, R.M.; Strube, M. J.; Malone, M. D. (August 1995). "Differential effects of hypnotic suggestion on multiple dimensions of pain". Journal of Pain and Symptom Management. 10 (6): 464–470. doi:10.1016/0885-3924(95)00055-4. PMID 7561229.[ลิงก์เสีย]
  46. Patterson, David R.; Ptacek, J. T. (February 1997). "Baseline pain as a moderator of hypnotic analgesia for burn injury treatment". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 65 (1): 60–67. doi:10.1037/0022-006X.65.1.60. PMID 9103735.
  47. American Psychological Association (2 July 2004). "Hypnosis for the Relief and Control of Pain". American Psychological Association.
  48. Barrett, Deirdre. "The Power of Hypnosis.". Psychology Today. Jan/Feb 2001 เก็บถาวร 7 พฤศจิกายน 2007 ที่ archive.today
  49. Vickers, Andrew; Zollman, Catherine (1999). "Clinical review. ABC of complementary medicine. Hypnosis and relaxation therapies". British Medical Journal. 319 (7221): 1346–1349. doi:10.1136/bmj.319.7221.1346. PMC 1117083. PMID 10567143.
  50. Shenefelt, Philip D. "Applying Hypnosis in Dermatology. medscape.com. 6 January 2004
  51. Hypnosis and Sport Performance. AWSS.com
  52. Pates, J.; Palmi, J. (2002). "The effects of hypnosis on flow-states and performance" (PDF). Journal of Excellence. 6: 48–61.
  53. Kirsch, Irving (1996). "Hypnotic enhancement of cognitive-behavioral weight loss treatments—another meta-reanalysis". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 64 (3): 517–9. doi:10.1037/0022-006X.64.3.517. PMID 8698945.
  54. Bolocofsky, D. N.; Spinler, D.; Coulthard-Morris, L. (1985). "Effectiveness of hypnosis as an adjunct to behavioral weight management" (PDF). Journal of Clinical Psychology. 41 (1): 35–41. doi:10.1002/1097-4679(198501)41:1<35::AID-JCLP2270410107>3.0.CO;2-Z. PMID 3973038. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2013.
  55. Cochrane, G.; Friesen, J. (1986). "Hypnotherapy in weight loss treatment" (PDF). Journal of Consulting and Clinical Psychology. 54 (4): 489–492. doi:10.1037/0022-006X.54.4.489. PMID 3745601. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2013.
  56. "The Power of Hypnosis" by Deirdre Barrett, Psychology Today, Jan/Feb 2001,
  57. Moore, M. & Tasso, A.F. 'Clinical hypnosis: the empirical evidence' in The Oxford Handbook of Hypnosis (2008) ISBN 0-19-857009-0 pp. 719-718
  58. Gonsalkorale, W. M.; Whorwell, Peter J. (2005). "Hypnotherapy in the treatment of irritable bowel syndrome" (PDF). European Journal of Gastroenterology & Hepatology. 17: 15–20. doi:10.1097/00042737-200501000-00004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  59. NICE Guidance for IBS. (PDF) . Retrieved on 2011-10-01. เก็บถาวร 8 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  60. "Physician Studies Hypnosis As Sedation Alternative," University of Iowa News Service, 6 February 2003 News-releases.uiowa.edu เก็บถาวร 2017-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  61. Pain Decreases Under Hypnosis เก็บถาวร 2009-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Medicalnewstoday.com. 20 June 2007
  62. John F. Kihlstrom, University of California, Berkeley and Institute for the Study of Healthcare Organizations &Transactions Hypnosis in Surgery: Efficacy, Specificity, and Utility. Institute-shot.com เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  63. Patterson, David R.; Questad, Kent A.; De Lateur, Barbara J. (1989). "Hypnotherapy as an adjunct to narcotic analgesia for the treatment of pain for burn debridement". American Journal of Clinical Hypnosis. 31 (3): 156–163. doi:10.1080/00029157.1989.10402884. PMID 2563925.
  64. Mendoza, M. E.; Capafons, A. (2009). "Efficacy of clinical hypnosis: A summary of its empirical evidence" (PDF). Papeles del Psicólogo. 30 (2): 98–116. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 มกราคม 2013.
  65. Ewin, D.M. (2001). "The use of hypnosis in the treatment of burn patients" (PDF). International Handbook of Clinical Hypnosis: 274–283. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  66. 66.0 66.1 Nash, Michael R. "The Truth and the Hype of Hypnosis". Scientific American: July 2001
  67. Butler, B. (1954). "The use of hypnosis in the care of the cancer patient" (PDF). Cancer. 7 (1): 1–14. doi:10.1002/1097-0142(195401)7:1<1::AID-CNCR2820070103>3.0.CO;2-0. PMID 13126897. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  68. Peynovska, R.; Fisher, J.; Oliver, D.; Matthew, V. M. (2003). "Efficacy of hypnotherapy as a supplement therapy in cancer intervention" (PDF). Paper presented at the Annual Meeting of The Royal College of Psychiatrists, 30 June – 3 July 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  69. Spiegel, D.; Moore, R. (1997). "Imagery and hypnosis in the treatment of cancer patients". Oncology. 11 (8): 1179–1195.
  70. Garrow, D.; Egede, L. E. (2006). "National patterns and correlates of complementary and alternative medicine use in adults with diabetes". Journal of Alternative and Complementary Medicine. 12 (9): 895–902. doi:10.1089/acm.2006.12.895.
  71. Mascot, C. (2004). "Hypnotherapy: A complementary therapy with broad applications". Diabetes Self Management. 21 (5): 15–18. PMID 15586907.
  72. Kwekkeboom, K.L.; Gretarsdottir, E. (2006). "Systematic review of relaxation interventions for pain". Journal of Nursing Scholarship. 38 (3): 269–277. doi:10.1111/j.1547-5069.2006.00113.x. PMID 17044345.
  73. "Hypnosis". American Cancer Society. November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-31. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
  74. Jerjes; และคณะ (2007). "Psychological intervention in acute dental pain: Review". British Dental Journal. 202.
  75. Meyerson, J.; Uziel, N. "Application of hypno-dissociative strategies during dental treatment of patients with severe dental phobia". The International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis. 63.
  76. Myers, David G. (2014). Psychology: Tenth Edition in Modules (10th ed.). Worth Publishers. pp. 112–13.
  77. "Hypnosis, suggestion, and placebo in the reduction of experimental pain" faqs.org
  78. 78.0 78.1 Hypnosis in Intelligence, The Black Vault, 2008
  79. "Self-hypnosis as a skill for busy research workers." London's Global University Human Resources. ucl.ac.uk.
  80. Yapko, Michael (1990). Trancework: An introduction to the practice of Clinical Hypnosis. NY, New York: Brunner/Mazel. p. 28.
  81. Wagstaff, Graham F. (1981). Hypnosis, Compliance and Belief. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-40157-4.
  82. Hypnotist being hunted in Russia for stealing cash from bank customers, Metro
  83. Hypnotist thief puts shopkeeper in trance before robbing him เก็บถาวร 2017-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Telegraph
  84. Shopkeeper 'placed in trance by hypnotist' during theft in north London, The Standard
  85. Evil hypnotist made me into his sex slave: He admits vile acts while client was in trance, Mirror
  86. Clarke-Billings, Lucy (2015-09-28). "Hypnotist jailed for ten years after sexually assaulting woman under his spell" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Hypnotism