การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา

การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นการประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ได้รับรางวัลโนเบล กับเยาวชนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยได้เชิญผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureate) นักศึกษาและนักวิจัยจากทั่วโลก เข้าร่วมการประชุม

ประวัติ แก้

การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้จัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) ณ เมืองลินเดา เกาะขนาดเล็กทางตอนใต้ของประเทศ สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี บริเวณทะเลสาบคอนสแตนซ์ (Lake Constance) พรมแดนธรรมชาติระหว่างเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ได้รับรางวัลโนเบลกับนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติ ซึ่งในปัจจุบันได้มุ่งเน้นผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มเยาวชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงจากนานาประเทศ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายตามคำขวัญ 3 ประการ คือ

    • ให้ความรู้ (educating)
    • สร้างแรงบันดาลใจ (inspiring) และ
    • เชื่อมโยงเครือข่าย (connecting)

ทั้งนี้ สภาการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา (The Council for the Lindau Nobel Laureate Meetings) ร่วมกับมูลนิธิผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ทะเลสาบคอนสแตนซ์ (Foundation Lindau Nobelprizewinners Meetings at Lake Constance) จัดการประชุมนี้ทุกกลางปี (ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม) หมุนเวียนไปตามสาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์ จัดขึ้นทุก 2 ปีเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)

ประเทศไทยกับโครงการลินเดา แก้

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยเพื่อดำเนินการร่วมกับคณะผู้จัดงานประชุม ณ เมืองลินเดา ในการคัดเลือกเยาวชนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าประชุม

  • เริ่มต้นรุ่นที่ 1 ในปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 58 สาขาฟิสิกส์ มีตัวแทนเยาวชนทั้งสิ้น 3 คน ได้แก่
  1. นายปัทม์ วงษ์ปาน
  2. นางสาวอัจฉรา ปัญญา
  3. นางสาวสตรีรัตน์ โฮดัค (กำแพงแก้ว)
  • รุ่นที่ 2 ในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 59 สาขาเคมี มีตัวแทนเยาวชนทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่
  1. นางสาวรณพร ตันติเวชวุฒิกุล
  2. นางสาวศิรินันท์ กุลชาติ
  3. นายธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์
  4. นายณิรวัฒน์ ธรรมจักร์
  5. นางสาวรวิวรรณ เหล่าเจริญสุข
  6. นางสาวปาริฉัตร วนลาภพัฒนา
  • รุ่นที่ 3 ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 60 สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาสรีรวิทยาหรือแพทย์ศาสตร์

อยู่ในระหว่างการคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทย

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้