การท่องเที่ยวในประเทศภูฏาน

การท่องเที่ยวในประเทศภูฏานเริ่มในปี ค.ศ. 1974 เมื่อรัฐบาลภูฏานพยายามที่จะยกระดับของรายได้และส่งเสริมวัฒนธรรมรวมถึงประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศสู่โลกภายนอก ซึ่งเป็นการเปิดประเทศบางแห่งให้แก่ชาวต่างชาติ ในปี ค.ศ. 1974 มีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมประเทศภูฏาน 287 คน ตั้งแต่นั้นมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศภูฏานได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,850 คน ในปี ค.ศ. 1992 แล้วเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 7,158 คนในปี ค.ศ. 1999 [1] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 การท่องเที่ยวได้มีส่วนช่วยในการสร้างรายได้ประจำปีเกินกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผู้โดยสารขณะลงฝั่งจากแอร์บัส เอ319 ของดรุคแอร์ ที่ท่าอากาศยานพาโร
ภาพทิวทัศน์ของอารามทาชิโชซอง ที่ทิมพู
อารามวัดทักซัง ในมณฑลพาโร

แม้จะมีการเปิดประเทศให้แก่ชาวต่างชาติ แต่รัฐบาลก็ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักท่องเที่ยวจึงสามารถพบความเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงภูมิทัศน์และวัฒนธรรมที่สวยงามอย่างแท้จริง ดังนั้น พวกเขาจึงมีการจำกัดระดับของกิจกรรมการท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่ม โดยมุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงกว่า กระทั่งปี ค.ศ. 1991 สมาคมการท่องเที่ยวประเทศภูฏาน (BTC) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารกึ่งอิสระที่บริหารการเงินของตนเอง ได้ออกนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาล[1] อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการทำสู่ภาคเอกชนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนและกิจกรรม เป็นผลให้มีบริษัทท่องเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาตกว่า 75 รายมาดำเนินงานในประเทศ[1] นักท่องเที่ยวทุกคน (กลุ่มหรือบุคคล) ต้องเดินทางโดยวางแผนไว้ล่วงหน้า, ชำระเงินล่วงหน้า, จัดไกด์แพคเกจทัวร์ หรือโปรแกรมการเดินทางที่ออกแบบเอง โดยชาวต่างชาติส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระในราชอาณาจักร ซึ่งการเตรียมการจะต้องทำผ่านผู้ประกอบการทัวร์อนุมัติอย่างเป็นทางการโดยตรงหรือผ่านตัวแทนในต่างประเทศ

จุดสำคัญที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวคือทิมพูซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศภูฏาน และในเมืองทางตะวันตกของพาโรซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศอินเดีย ส่วนวัดทักซัง (หรือเรียกในชื่อ"รังเสือ") เป็นอารามที่อยู่บนผา สามารถมองเห็นได้จากหุบเขาพาโร ก็เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของประเทศ โดยวัดนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ที่ถ้ำภายในวัดยังมีพุทธเทพประดิษฐาน ตามตำนานกล่าวว่า เขาเป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่ที่ประเทศภูฏาน และทำการอดอาหารเป็นเวลา 90 วันในขณะที่เขาต่อสู้กับเหล่ามารที่อาศัยอยู่ในหุบเขาแห่งนี้ วัดแห่งนี้ยังคงได้รับความศรัทธาเป็นเวลากว่าพันปี กระนั้น ก็ยังเคยได้รับความเสียหายจากเพลิงลุกไหม้สองครั้งซึ่งได้รับการซ่อมแซมแล้ว ส่วนดรุคแอร์เป็นสายการบินปฏิบัติการเพียงรายเดียวในประเทศภูฏาน อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ก็มีการให้บริการโดยภูฏานแอร์ไลน์ด้วยเช่นกัน[2]

ทั้งนี้ การขอวีซ่าไปยังประเทศภูฏานจะได้รับผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศบ้านเกิดเพียงแห่งเดียว

การมาเยือนแบ่งตามประเทศ แก้

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเยือนประเทศภูฏานในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มาจากประเทศต่อไปนี้ (นอกเหนือจากประเทศบังคลาเทศ, อินเดีย และมัลดีฟส์):[3][4]

อันดับ ประเทศ ค.ศ. 2013 ค.ศ. 2015
1   จีน 4,827 9,399
2   สหรัฐ 6,997 7,137
3   ไทย 3,527 3,778
4   สหราชอาณาจักร 2,309 2,958
6   สิงคโปร์ 2,051 2,587
5   เยอรมนี 2,770 2,498
7   ญี่ปุ่น 4,035 2,437
8   ออสเตรเลีย 2,062 1,833
9   ฝรั่งเศส 1,572 1,563
10   มาเลเซีย 2,054 1,546

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Dorji, Tandi. "Sustainability of Tourism in Bhutan" (PDF). Digital Himalaya. สืบค้นเมื่อ August 10, 2008.
  2. Ionides, Nicholas (9 April 2008). "Bhutan's Druk Air looks to expand". Airline Business. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้