การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ (อังกฤษ: majority rule) เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจซึ่งเลือกทางที่มีคะแนนเสียงข้างมาก คือ มีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจทวิภาคที่ใช้มากที่สุดในหน่วยงานวินิจฉัยสั่งการที่มีอิทธิพล รวมทั้งสภานิติบัญญัติของชาติประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน นักวิชาการบางส่วนแนะนำคัดค้านการใช้การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อย่างน้อยในบางพฤติการณ์ เพราะป็นการแลกโดยปริยายระหว่างประโยชน์ของการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์กับคุณค่าอื่นที่สำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย ข้อโต้แย้งที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อาจนำไปสู่ "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" ฉะนั้น จึงแนะนำให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ (supermajority) และการจำกัดอำนาจรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญเพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ ล่าสุด นักทฤษฎีการออกเสียงลงคะแนนแย้งว่า การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุดในการคุ้มครองฝ่ายข้างน้อย

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Black, Duncan (1958). The theory of committees and elections. Cambridge: Cambridge University Press. OCLC 387017.
  • Farquharson, Robin (1969). Theory of voting (วิทยานิพนธ์ D.Phil.). Oxford University. ISBN 9780300011210. OCLC 51803346.
  • Volk, Kyle (2014). Moral minorities and the making of American democracy. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780199371914.
  • Corneo, Giacomo; Neher, Frank (December 2015). "Democratic redistribution and rule of the majority" (PDF). European Journal of Political Economy. 40 (A): 96–109. doi:10.1016/j.ejpoleco.2015.08.003. S2CID 55606246. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.