ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก (อังกฤษ: tyranny of the majority) เป็นคำใช้อภิปรายระบอบประชาธิปไตยและการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยบรรยายถึงกรณีที่การตัดสินใจของเสียงข้างมากยึดผลประโยชน์ของตนเหนือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเสียงข้างน้อยมากจนกลายเป็นการบีบบังคับ (oppression) เปรียบได้กับทรราชย์หรือระบบใช้อำนาจเด็ดขาด ทั้งนี้ จอห์น สจวต มิลเป็นผู้เขียนในหนังสือ ว่าด้วยเสรีภาพ (ค.ศ. 1859)[1]

กรณีที่เกิดระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมากนั้นเกิดขึ้นในเงื่อนไขที่มีการบิดเบือนประชาธิปไตยกรณีเฉพาะ เช่น

  • มีการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมากเกิน: คือเมื่ออำนาจรวมศูนย์วินิจฉัยสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งในเรื่องที่ควรเป็นของท้องถิ่น อันเป็นการทำลายการผูกมัดต่อหลักการเสริมอำนาจปกครองของสหพันธรัฐ[2]
  • การละทิ้งเหตุผล: เมื่อการวินิจฉัยสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งอาศัยเพียงจำนวนมากกว่าอย่างเดียว มิได้อยู่บนความชอบธรรมหรือความดีเลิศ[3] แก้ปัญหานี้โดยการปรึกษาสาธารณะ มีองค์กรปรึกษาทางเทคนิค รวมทั้งการทบทวนโดยตุลาการหลังการออกเสียงแล้ว

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. John Stuart Mill. On Liberty, The Library of Liberal Arts edition, p.7.
  2. Lacy K. Ford Jr., "Inventing the Concurrent Majority: Madison, Calhoun, and the Problem of Majoritarianism in American Political Thought", The Journal of Southern History, Vol. 60, No. 1 (Feb., 1994), pp. 19–58 in JSTOR
  3. P. J. Deneen (2015) "Equality, Tyranny, and Despotism in Democracy: Remembering Alexis de Tocqueville", 2015s theimaginativeconservative.org article.
  • Lani Guinier, The Tyranny of the Majority (Free Press: 1994)
  • Mancur Olson, The Logic Of Collective Action