การดูหมิ่นธง (อังกฤษ: Flag desecration) เป็นการดูหมิ่น, ทำลายธง หรือการกระทำที่เป็นการทำลาย, ทำความเสียหาย หรือฉีกธงในที่สาธารณะ. ในบางประเทศมีกฎหมายห้ามทำลายธง (เช่นเผาในที่สาธารณะ) หรือห้ามการใช้งานโดยเฉพาะ (เช่นโฆษณา); บางกฎอาจให้ความแตกต่างระหว่างการดูหมิ่นธงชาติของตนเองและธงของชาติอื่น

ผู้ประท้วงเผาธงประเทศจีนในการประท้วงที่ทิเบตในปีค.ศ.2008

เบี้องหลัง แก้

การกระทำที่สื่อถึงการดูหมิ่นธง ได้แก่ การเผา,[1] ถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระบนธง, ทำให้เสียโฉมด้วยสโลแกน,[1] เหยียบบนธง, ทำลายมันด้วยหินหรือปืน, ตัด หรือฉีกธง[1] พูดโจมตีมัน, ลากธงบนพื้น[2] หรือแม้แต่กินธง[3]

การดูหมิ่นธงมักมีหลายสาเหตุ. อาจเป็นเพราะมีผู้ประท้วงต่อนโยบายต่างประเทศของตนเอง, ชาตินิยม หรือโจมตีผู้คนจากประเทศนั้นด้วยธง

ในบางประเทศ การเผาหรือทำให้ธงเสียโฉมเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ส่วนประเทศที่เรื่องนี้ไม่ผิดกฎหมาย ก็ยังคงอยู่ในข้อหาความประพฤติไม่เป็นระเบียบ (disorderly conduct), ลอบวางเพลิง, ทำเพื่อผลประโยชน์ของใครคนหนึ่ง, โจรกรรม และการก่อกวน

การใช้ธงกลับหัวหรือกลับด้านอาจจะถือเป็นการดูหมิ่น[1] การให้ธงอยู่ที่ครึ่งเสาถือเป็นการดูหมิ่นในประเทศซาอุดีอาระเบีย[4] ในบางประเทศ การชูธงกลับหัวเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงปัญหาหรือเหตุฉุกเฉิน หรือแสดงถึงสถานะสงคราม. ที่มากกว่านั้น ในบางธง (เช่น ธงชาติออสเตรีย, ธงชาติไทย) เมื่อชูธงกลับหัว และ/หรือกลับด้านมัน จะยังคงดูเหมือนเดิม เพราะทั้งแนวตั้งและแนวนอนนั้นสมมาตรกัน

หมายเหตุ แก้

  1. ^ "Richard the Lionheart", by J. Gillingham, Weidenfeld & Nicolson, London, 1978, p. 176.
  2. ^ "The RUC: A Force Under Fire", by Chris Ryder, London: Mandarin, 1992, p. 82
  3. ^ BBC: A motion calling for the Union Flag to be flown on Parliament Buildings every day the Northern Ireland Assembly meets has been defeated 6 June 2000

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Charney, Evan (2009). Roger Chapman (บ.ก.). Culture Wars: An Encyclopedia of Issues, Voices, and Viewpoints (Vol 1 ed.). M.E. Sharpe. p. 180. ISBN 978-0-7656-1761-3.
  2. Welch, Michael (2000). Flag Burning: Moral Panic and the Criminalization of Protest. Aldine Transaction. p. 6.
  3. "South Korea's dramatic protesters are ready for global spotlight". 10 November 2010 – โดยทาง LA Times.
  4. Goldstein, Robert Justin (2006). Burning the Flag: The Great 1989–1990 American Flag Desecration Controversy. Kent State University Press. p. 293. ISBN 978-0-87338-598-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้