การขนส่งในประเทศลาว

(เปลี่ยนทางจาก การคมนาคมในประเทศลาว)

การคมนาคมในประเทศลาว ประเทศลาวมีระบบการคมนาคมที่ทันสมัยและหลากหลาย รวมไปถึงสนามบินต่าง ๆ ด้วย แต่ประเทศลาวไม่มีด้านใดติดกับทะเล ดังนั้นประเทศลาวจึงไม่มีท่าเรือแต่อย่างใด

แผนที่ประเทศลาว
ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็นผ่านทางด่วนเวียงจันทน์–บ่อเต็น

การคมนาคมทางรถไฟ

แก้

ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองในช่วง พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2484 เคยมีการสร้างทางรถไฟสายดอนเดด–ดอนคอน ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของลาว[1] ยาว 7 กิโลเมตร โดยเป็นรางขนาด 600 มิลลิเมตร เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านเขตน้ำตกและเกาะแก่ง ปัจจุบันยังเหลือร่องรอยทางรถไฟ ซากสะพาน และหัวรถจักร[2][3]

เส้นทางรถไฟในปัจจุบัน

แก้

ปัจจุบันประเทศลาวมีเส้นทางรถไฟอยู่สองสาย โดยเชื่อมต่อมาจากโครงข่ายของรถไฟไทย ซึ่งเป็นเส้นทางหนองคาย - ท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เป็นรถไฟทางเดี่ยว เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2550 และเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยใช้รางขนาด 1 เมตร หรือมีเตอร์เกจ โดยเป็นสถานีรถไฟเพียงแห่งเดียวของประเทศลาว โดยจะมีการเปิดเส้นทางรถไฟส่วนต่อขยายจากสถานีรถไฟท่านาแล้ง - สถานีเวียงจันทน์ ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร[4]

ล่าสุดมีการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟลาว-จีน จากบ่อเต็น - นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นรถไฟทางเดี่ยว และถือเป็นเส้นทางแรกของประเทศที่ใช้ความเร็วปานกลาง หรือประมาณ 160 - 200 กม./ชม. ซึ่งจะใช้เป็นรางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ โดยได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

การคมนาคมทางถนน

แก้
 
ทางด่วนเวียงจันทน์–บ่อเต็น

ประเทศลาวมีทางหลวงด้วยกันทั้งสิ้น 21,716 กิโลเมตร ในจำนวนนั้น 9,673.5 กิโลเมตรเป็นทางลาดยาง และที่เหลืออีก 12,042.5 กิโลเมตรเป็นทางลูกรังและประเทศลาวขับรถทางขวา

ประเทศลาวกำลังอยู่ในระหว่างการสร้างทางหลวงใหม่โดยใช้เงินทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเชื่อมแขวงสุวรรณเขต กับเขตแดนเวียดนามที่ลาวเบา ซี่งเมื่อเสร็จจะเป็นผลทำให้การเดินทางผ่านประเทศลาวสะดวกมากขึ้น ถนนสายนี้ปัจจุบันใช้เวลาเดินทางทั้งหมดราวสองสามชั่วโมงเมื่อเทียบกับ 9 ชั่วโมงบนถนนที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ (แต่ทิวทัศน์สวย) ในปี พ.ศ. 2545

การคมนาคมทางน้ำ

แก้

ประเทศลาวมีแม่น้ำที่ใช้ในการคมนาคมได้ 4,587 กิโลเมตร ส่วนใหญ่คือแม่น้ำโขงและลำคลองที่แยกออกไป และอีก 2,897 กิโลเมตร ที่บางส่วนใช้ในการคมนาคมได้ด้วยเรือที่ลึกลงไปจากผิวน้ำไม่เกินครึ่งเมตร

การคมนาคมทางอากาศ

แก้

ประเทศลาวมีสนามบินทั้งหมด 52 แห่ง ซึ่งมีอยู่เพียง 9 แห่งเท่านั้นที่มีรันเวย์ลาดยาง ส่วนอีก 43 แห่งไม่มี และสนามบินทั้งหมดที่มารันเวย์ลาดยาง เฉพาะสนามบินนานาชาติวัตไตเท่านั้นที่มีระยะทางมากกว่า 2,438 เมตร ส่วนที่เหลือที่มีรันเวย์ลาดยาง สนามบินสี่แห่งมีรันเวย์ยาว 1,524 - 2,437 เมตร และสี่แห่งที่เหลือมีระยะทางระหว่าง 914 - 1,523 เมตร

สนามบินที่เหลือที่ไม่มีรันเวย์ลาดยางจำนวน 43 แห่ง มีสนามบินเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่มีความยาวมากกว่า 1,524 เมตร; 17 แห่งมีความยาวระหว่าง 914 - 1,523 เมตร ส่วนอีก 25 แห่งสุดท้ายมีรันเวย์ที่มีความยาวน้อยกว่า 914 เมตร

ประเทศลาวมี 2 สายการบินคือ รัฐวิสาหกิจการบินลาว และ รัฐวิสาหกิจลาวเดินอากาศ

ท่อส่งน้ำมัน

แก้

ประเทศลาวมีท่อส่งน้ำมันปิโตรเลียม ยาวทั้งหมด 136 กิโลเมตร

อ้างอิง

แก้
  1. พวงนิล คำปังสุ์ (แปล).หน้าต่างสู่โลกกว้าง ลาวและกัมพูชา. สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง.กรุงเทพ:2549 พิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 165
  2. The only railway (ever) in Laos
  3. "Laos Travel Tips". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-13.
  4. https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_714911

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้