การขาดแอนโดรเจน

การขาดแอนโดรเจน[1] หรือ ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่อง (อังกฤษ: Androgen deficiency, hypoandrogenism, androgen deficiency syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่กำหนดโดยมีการทำงานเนื่องกับฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายไม่เพียงพอ

อาการ แก้

อาการในชายรวมทั้งการเสียความต้องการทางเพศ, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เป็นหมัน, อัณฑะ องคชาต และต่อมลูกหมากฝ่อ, ภาวะเพศชายลดลง (เช่น ขนหน้าและขนตัวลดลง), กล้ามเนื้อฝ่อ, วิตกกังวล, ซึมเศร้า, ล้า, อาการหลอดเลือดหดขยาย (vasomotor symptom) เช่น ร้อนเนื้อร้อนตัว, นอนไม่หลับ, ปวดศีรษะ, และภาวะกระดูกพรุน นอกจากนั้นแล้ว อาการของภาวะเอสโทรเจนทำงานเกิน (hyperestrogenism) เช่น เต้านมชายโตขึ้น (gynecomastia) และภาวะเพศหญิงเพิ่มขึ้น อาจปรากฏพร้อม ๆ กันในชาย

ส่วนหญิงจะมีอาการเสียความต้องการทางเพศ, ขนลดลง, ซึมเศร้า, ล้า, หลอดเลือดตีบในช่องคลอด (vaginal vasocongestion) ซึ่งทำให้เกิดตะคริว, อาการหลอดเลือดหดขยาย (vasomotor symptom) เช่น ร้อนเนื้อร้อนตัว ใจสั่น, นอนไม่หลับ, ปวดศีรษะ, ภาวะกระดูกพรุน, และกล้ามเนื้อฝ่อ[2][3][4] อาการของภาวะเอสโทรเจนทำงานพร่อง (hypoestrogenism) อาจมีได้ทั้งในสองเพศในกรณีที่ภาวะนี้รุนแรง เพราะว่า เอสโทรเจนสังเคราะห์มาจากแอนโดรเจน

เหตุ แก้

ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่องเกิดจากการทำงานผิดปกติ หรือการไม่ทำงาน หรือการไม่มีต่อมบ่งเพศ (hypergonadotropic hypogonadism), หรือความพิการของไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง (hypogonadotropic hypogonadism) ซึ่งอาจมีสาเหตุต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งสภาพทางพันธุกรรม (เช่น gonadotropin-releasing hormone/gonadotropin insensitivity และเอนไซม์สังเคราะห์สเตอรอยด์บกพร่อง [enzymatic defects of steroidogenesis]), เนื้องอก, การบาดเจ็บ (trauma), การผ่าตัด, ภาวะภูมิต้านตนเอง, การฉายรังสี (radiation therapy), การติดเชื้อ, พิษ, ยา, และเหตุอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจเป็นอาการของ androgen insensitivity syndrome หรือภาวะเอสโทรเจนทำงานเกิน (hyperestrogenism) และอายุที่มากขึ้นก็อาจเป็นปัจจัยของภาวะนี้ เพราะว่า ระดับแอนโดรเจนจะลดลงตามอายุ[ต้องการอ้างอิง]

การวินิจฉัย แก้

ภาวะนี้ปกติจะไม่เช็คในหญิงที่มีสุขภาพดี[5]

การรักษา แก้

การรักษาอาจรวมการให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนแทน (hormone replacement therapy) ทั้งในหญิงชาย หรือว่า อาจให้ gonadotropin-releasing hormone (GnRH) หรือ gonadotropin-releasing hormone agonist (GnRH agonist) หรือ gonadotropin ในกรณีที่เป็น hypogonadotropic hypoandrogenism

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) รายงานในปี 2558 ว่า ทั้งประโยชน์และความปลอดภัยในการรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมนต่ำเนื่องจากอายุยังไม่ชัดเจน[6] และ FDA ก็บังคับบริษัทจำหน่ายเทสโทสเตอโรนให้พิมพ์คำเตือนว่า ยามีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "deficiency", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การขาด, การพร่อง
  2. Jakiel, G; Baran, A (2005). "[Androgen deficiency in women]". Endokrynologia Polska (ภาษาโปแลนด์). 56 (6): 1016–20. PMID 16821229.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Bachmann, GA (April 2002). "The hypoandrogenic woman: pathophysiologic overview". Fertility and Sterility. 77 Suppl 4: S72-6. doi:10.1016/S0015-0282(02)03003-0. PMID 12007907.
  4. Bremner, William J (27 May 2003). Androgens in Health and Disease. Humana Press. pp. 365–379. ISBN 978-1-58829-029-8. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  5. Wierman, ME; Arlt, W; Basson, R; Davis, SR; Miller, KK; Murad, MH; Rosner, W; Santoro, N (October 2014). "Androgen therapy in women: a reappraisal: an endocrine society clinical practice guideline". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 99 (10): 3489–510. doi:10.1210/jc.2014-2260. PMID 25279570.
  6. 6.0 6.1 "Testosterone Products: Drug Safety Communication - FDA Cautions About Using Testosterone Products for Low Testosterone Due to Aging; Requires Labeling Change to Inform of Possible Increased Risk of Heart Attack And Stroke". FDA. 3 March 2015. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.