การก่อการกำเริบปราก

การก่อการกำเริบปราก (เช็ก: Pražské povstání) เป็นเหตุการณ์การก่อการจลาจลขึ้นในกรุงปรากในดินแดนโบฮีเมียและมอเรเวีย ซึ่งอยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี การจราจลปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองของทวีปยุโรป โดยเกิดขึ้นมาจากความพยายามของขบวการต่อต้านเช็กเพื่อปลดปล่อยกรุงปรากจากการยึดครองของเยอรมนี การจลาจลได้ดำเนินไปจนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ฝ่ายกองทัพเยอรมันและขบวนการต่อต้านได้ยุติการสู้รบกันซึ่งกองทัพเยอรมันได้ตัดสินใจที่จะถอนกำลังออกจากกรุงปรากในวันเดียวกัน และเมื่อเช้าวันรุ่งขึ้น กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองที่จวนจะได้รับการปลดปล่อย

การก่อการกำเริบปราก
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวปรากต่างพากันวางสิ่งกีดขวางในการก่อการกำเริบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม โดยในพื้นหลังจะมีการทาสีทับป้ายที่มีตัวอักษรเป็นภาษาเยอรมัน
วันที่5–8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
สถานที่50°04′43″N 14°26′04″E / 50.07861°N 14.43444°E / 50.07861; 14.43444
ผล เยอรมันได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์
ยุติการสู้รบ
การปลดปล่อยกรุงปรากออกจากการยึดครองของเยอรมัน
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน

เชโกสโลวาเกีย ขบวนการต่อต้านเช็ก
รัสเซีย กองทัพปลดปล่อยรัสเซีย


 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี คาร์ล แฮร์มัน ฟรังค์
นาซีเยอรมนี Rudolf Toussaint
นาซีเยอรมนี Carl von Pückler
เชโกสโลวาเกีย Otakar Machotka
รัสเซีย Sergei Bunyachenko
กำลัง
นาซีเยอรมนี 40,000 คน เชโกสโลวาเกีย 30,000 คน
รัสเซีย 18,000 คน
ความสูญเสีย
นาซีเยอรมนี ถูกสังหาร 1,000 คน เชโกสโลวาเกีย ถูกสังหาร 1,693 คน
รัสเซีย ถูกสังหาร 300 คน
สหภาพโซเวียต ถูกสังหารในปราก 30 คน
พลเรือนถูกสังหาร 4,000 คน