การกลายเป็นกระดูก
การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก (อังกฤษ: Ossification) เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก[1] กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต[2]
ประเภทของการกลายเป็นกระดูก
แก้- Endochondral ossification เป็นการกลายเป็นกระดูกโดยทดแทนโครงแบบเดิมของกระดูกอ่อน โดยที่กลุ่มเซลล์มีเซนไคม์ (mesenchyme) จะเข้าไปแทนที่เซลล์กระดูกอ่อนผ่านทางหลอดเลือด เริ่มจากส่วนกลางของกระดูกซึ่งเป็นจุดการสร้างกระดูกปฐมภูมิ (primary ossification center) เมื่อเซลล์มีเซนไคม์มีการพัฒนาไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก จึงมีการสะสมของเนื้อกระดูกมากขึ้น
- Intramembranous ossification เป็นการสร้างเนื้อกระดูกจากการรวมตัวของกลุ่มเซลล์ชนิดมีเซนไคม์ ทำให้เกิดจุดการสร้างกระดูกปฐมภูมิ (primary ossification center) และตามด้วยการสะสมแคลเซียมในบริเวณดังกล่าว เช่น กระดูกกลมที่พบในเชิงกราน
- Heterotopic ossification เป็นการสร้างเนื้อกระดูกทดแทนเนื้อเยื่อแข็งนอกโครงกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
วิวัฒนาการ
แก้มีหลายทฤษฎีที่กล่าวเสนอขึ้นเพื่ออธิบายว่ากระดูกวิวัฒนาการมาเป็นโครงสร้างในสัตว์มีกระดูกสันหลังได้อย่างไร แนวความคิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมกล่าวว่ากระดูกวิวัฒนาการมาจากเนื้อเยื่อซึ่งวิวัฒนาการเพื่อเก็บสะสมแร่ธาตุ จากแบบจำลองดังกล่าว แร่ธาตุเช่นแคลเซียมถูกสะสมไว้ในกระดูกอ่อน และกระดูกเป็นการปรับตัวโดยกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกของกระดูกอ่อน[3] อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้อื่นๆ กล่าวว่าเนื้อเยื่อกระดูกวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกั้นออสโมติก หรือเพื่อเป็นโครงสร้างที่ใช้ป้องกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Caetano-Lopes J, Canhão H, Fonseca JE (2007). "Osteoblasts and bone formation". Acta reumatológica portuguesa. 32 (2): 103–10. PMID 17572649.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hadjidakis DJ, Androulakis II (2006). "Bone remodeling". Ann. N. Y. Acad. Sci. 1092: 385–96. PMID 17308163.
- ↑ Donoghue PC, Sansom IJ (2002). "Origin and early evolution of vertebrate skeletonization". Microsc. Res. Tech. (5): 352–72. PMID 12430166.