กาพย์สุรางคนางค์ เป็นกาพย์ชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งในวรรณกรรมไทย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ 28 กาพย์สุรางค์นางค์ 32 (กาพย์ธนัญชยางค์) และกาพย์สุรางคนางค์ 36 (กาพย์ขับไม้)
กาพย์สุรางคนางค์ มีหลักฐานควรเชื่อว่าได้ชื่อมาจากคาถาภาษาบาลีที่ยกเป็นตัวอย่างฉันท์ในจินดามณี[1] คือ วิสาลวิกฉันท์ ที่มิได้กำหนดครุและลหุ ยกตัวอย่างว่า
๏ สุราคณา สุโสภณา รปิรโก สมานสิ ภิวันทโน สเรนโก รัตินทิวัง ฯ ๒๘ ฯ
๏ สรวมชีพถวาย บังคมโดยหมาย ภักดีภิรมย์ เสร็จจำนองฉันท จำแนกนิยม วิธีนุกรม เพื่อให้แจ้งแจง
๏ ซึ่งเสด็จโดยไนย ในวุตโตไทย คณสำแดง ยัตติยุตติ สัญญากรแถลง กำหนดอย่าแคลง นิพันธ์ฉันทา
๏ ถวายตัวประดิพัทธ์ ปราโมทย์มานัส รัดรึงปรีดา ลอองธุลี พระบาทภูวนา ยกนารถมหา คุณุประการ ฯ
บทหนึ่งมี 28 คำ แบ่งเป็น 7 วรรค วรรคละ 4 คำ ลักษณะการส่งสัมผัสมี 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างท้ายวรรคที่ 1 -2, ท้ายวรรคที่ 3 กับท้ายวรรคที่ 5 - 6 และสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังท้ายวรรค 3 ในบทต่อไป พบในวรรณกรรมยุคแรก ๆ ดังตัวอย่าง
๏ ข้าแต่พระชี
|
|
|
ท่านเจ้าใจดี
|
|
อย่าเดียดอย่าฟุน
|
ใช่ข้าจมา
|
|
สู่เจ้าใจบุญ
|
ขอเข้าของขุน
|
|
ผู้ขี่เมืองขวาง
|
๏ ใครเห็นพระอาริ
|
|
|
ยกในสงสาร
|
|
สรนุกนิทุกบาง
|
แห่งสิงสู่อยู่
|
|
ศรัทธาทุกปาง
|
โทษาเบาบาง
|
|
ทั่วโลกากร
|
— มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน
|
แบบที่ 2 เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรค 4 กับวรรค 5 ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง พบในงานยุคสมัยต่อมา ดังตัวอย่าง
๏ เมื่อปลงหนังลง
|
|
|
ได้ชอบประสงค์
|
|
จะเล่นมินาน
|
แม้ใช้ในคน
|
|
ตระกลตระการ
|
จะเล่นบันดาล
|
|
บรรโดยหรรษา
|
๏ นี้คือบูรณะ
|
|
|
นเรนทรพระ
|
|
ผู้เรืองฤทธา
|
ข้ารังริเอง
|
|
เลบงโสภา
|
ให้เล่นเตือนตา
|
|
ตระการทุกอัน
|
— สมุทรโฆษคำฉันท์ สำนวนพระมหาราชครู
|
แบบที่ 3 เพิ่มสัมผัสจนครบทุกวรรค ปรากฏในงานของสุนทรภู่ และงานยุคหลัง ๆ
๏ ขึ้นใหม่ในกน
|
|
|
ก กาว่าปน
|
|
ระคนกันไป
|
เอ็นดูภูธร
|
|
มานอนในไพร
|
มณฑลต้นไทร
|
|
แทนไพชยนต์สถาน
|
๏ ส่วนสุมาลี
|
|
|
วันทาสามี
|
|
เทวีอยู่งาน
|
เฝ้าอยู่ดูแล
|
|
เหมือนแต่ก่อนกาล
|
ให้พระภูบาล
|
|
สำราญวิญญาณ์
|
— กาพย์พระไชยสุริยา
|
ปัจจุบันนิยมแต่งแบบที่ 2 มากที่สุด
เป็นกาพย์ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เพื่อใช้อธิบายประกอบภาพเรื่อง ศรีธนญไชย ฝีมือวาดของ เหม เวชกร ในหนังสือประมวญสารรายสัปดาห์ ซึ่งทรงตั้งชื่อว่า กาพย์ธนัญชยางค์ โดยทรงอธิบายว่ากาพย์นี้คือกาพย์สุรางคนางค์ 28 แบบเก่านั่นเอง แต่เพิ่มอีก 4 คำและเพิ่มสัมผัสเข้าอีก ต่อมาจึงเรียกกันว่า กาพย์สุรางคนางค์ 32 ตามลักษณะเดิม ตัวอย่างบทประพันธ์
๏ ฝ่ายทัพเรือ พม่า
|
|
เลียบฝั่งเข้ามา
|
ยึดเมืองตะกั่วป่า
|
|
ตะกั่วทุ่งตามทาง
|
แล้วข้ามสู่เกาะ
|
|
มุ่งเหมาะเมืองถลาง
|
เคราะห์ดีมีนาง
|
|
พี่น้องนารี
|
๏ เจ้าเมืองม้วย มรณ์
|
|
ลงไปเสียก่อน
|
ที่ทัพสาคร
|
|
ข้ามมาราวี
|
แต่คุณหญิงจัน
|
|
ไม่พรั่นไพรี
|
นางมุกภคินี
|
|
อยู่ด้วยช่วยกัน
|
— สามกรุง
|
ก็คือ กาพย์ขับไม้ นั่นเอง หนึ่งบทมี 36 คำ แบ่งเป็น 9 วรรค วรรคละ 4 คำ บังคับสัมผัสข้ามวรรค 3 แห่งคือ ท้ายวรรคที่ 1 กับวรรคที่ 2, ท้ายวรรคที่ - กับ 6 - 7 และ 8, ท้ายวรรคที่ 4 -5 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายวรรคที่ 3 ในบทต่อไป ด้วยเหตุที่กาพย์ขับไม้มีการกำหนดใช้วรรคละ 4 คำ เหมือนกาพย์สุรางคนางค์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กาพย์สุรางคนางค์ 36 ดังตัวอย่าง
๏ จักแสดงเพระเดช |
องค์ไหนนฤเบศร |
ปิ่นเกล้ากรุงศรี
|
ผ่านเทพอยุธยา |
เรืองพระเดชา |
ทั่วทั้งธรณี
|
อันตรายไพรี |
บอาจราวี |
ด้วยพระสมภาร
|
๏ ท่านได้ไปปราบ |
เกรงพระอานุภาพ |
ทั่วทุกทิศาร
|
ท้าวราชนคเรศ |
ทังจันตประเทศ |
บเคยบันดาล
|
ถวายสุวรรณมาลย์ |
ทั้งบรรณาการ |
มากราบถวายเมือง
|
|
|
(จินดามณี)
|
- ↑ สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535.