กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.[2] จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539[3][4] กองทุนมีมูลค่า 1.28 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2566
Government Pension Fund | |
ตราสัญลักษณ์ของกองทุน | |
ภาพรวมกองทุน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 28 กันยายน พ.ศ. 2539 |
ประเภท | หน่วยงานอิสระที่เป็นนิติบุคคล |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 990 อาคารอับดุลราฮิม เพลส ชั้น 4 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 1,284,479,000 บาท (พ.ศ. 2566)[1] |
ฝ่ายบริหารกองทุน |
|
ต้นสังกัดกองทุน | กระทรวงการคลัง |
ลูกสังกัด |
|
เอกสารหลัก |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกองทุน |
กบข.จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชเมื่อออกจากราชการ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และเพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก โดยเป็นการหักเงินเดือนข้าราชการเพื่อออม กองทุนจะนำเงินออมส่วนนั้นไปลงทุนเพื่อให้มีดอกผลงอกเงย โดยบังคับหักเงินเดือนเริ่มต้น 3% และรัฐช่วยออกสมทบให้ 3% ซึ่งถือเป็นสวัสดิการข้าราชการอย่างหนึ่ง
กบข. สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังภาครัฐที่ดี จัดสรรงบประมาณรองรับภาระรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ข้าราชการมีเงินออมเพียงพอสำหรับดำรงชีพหลังเกษียณ จนเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่าหนึ่งล้านคน
กบข. มีคณะกรรมการกองทุนทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนตลอดจนกำหนดนโยบายการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงต่าง ๆ