กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (British Expeditionary Force - BEF) เป็นหกกองพลของกองทัพบกบริติชที่ถูกส่งไปยังแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แผนการสำหรับกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1906 - ค.ศ. 1912 การปฏิรูปของฮาลเดนของกองทัพบกบริติชได้ดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ริชาร์ด ฮาลเดน ภายหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1899-ค.ศ. 1902)[2]

กองกำลังรบนอกประเทศบริติช
ประจำการ1914–1918
ประเทศ สหราชอาณาจักร
ขึ้นต่อ พระเจ้าจอร์จที่ 5
เหล่ากองทัพบก
รูปแบบกองทัพบก
กำลังรบ247,400 นาย(ค.ศ. 1914–1915)
2.04 ล้านนาย[1] (ค.ศ. 1916–1918)
สมญาBEF
ปฏิบัติการสำคัญSee below
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ค.ศ. 1915–1918)จอมพล Douglas Haig
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ค.ศ. 1914–1915)นายพล John French
Principal battles of theBritish Expeditionary Force
1914Battle of MonsBattle of Le CateauFirst Battle of the MarneFirst Battle of the AisneBattle of La BasséeFirst Battle of Ypres1915Battle of Neuve ChapelleSecond Battle of YpresBattle of FestubertBattle of Loos1916Battle of the SommeBattle of Fromelles1917Battle of ArrasBattle of the MessinesBattle of PasschendaleFirst Battle of Cambrai1918Battle of the SommeBattle of the LysSecond Battle of the AisneSecond battle of the MarneHundred Days' OffensiveBattle of AmiensSecond Battle of the SommeBattle of EpheySecond Battle of CambraiBattle of Sambre

คำว่า"กองกำลังรบนอกประเทศบริติช" มักจะถูกใช้เพื่อเรียกโดยเฉพาะกองกำลังที่อยู่ในฝรั่งเศสก่อนที่จะสิ้นสุดลงในยุทธการที่อิพร์ครั้งแรกในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1914 ภายหลังการสู้รบที่มงส์, Le Cateau, Aisne และอิพร์ การมีอยู่ของกองกำลังรบนอกประเทศบริติชแทบจะหมดลง แม้ว่ามันจะช่วยยัยยั้งการรุกคือของเยอรมันไว้ได้[3] จุดสิ้นสุดทางเลือกของกองกำลังรบนอกประเทศบริติช คือ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1914 เมื่อได้มีการแบ่งแยกออกเป็นกองทัพที่หนึ่งและที่สอง(กองทัพที่สาม สี่ และห้าถูกสร้างขึ้นในภายหลังในสงคราม) กองกำลังรบนอกประเทศบริติชยังคงเป็นชื่อทางการของกองทัพบกบริติชในฝรั่งเศสและฟลานเดอร์ ตลอดในช่วงสงครามโลกครั้งหนึ่ง

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องไม่สนใจใยดีต่อกองกำลังรบนอกประเทศบริติช ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1914 เพื่อ"กำจัด...ชาวอังกฤษที่ทรยศและให้เดินข้ามกองกำลังขนาดเล็กที่น่ารังเกียจของนายพลเฟรนซ์" ดังนั้น ในปีต่อมา ผู้รอดชีวิตจากกองทัพประจำการจึงได้ขนานนามตัวเองว่า "ผู้ถูกเหยียดหยามเก่า"(The Old Contemptibles) ไม่เคยพบหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวที่ถูกออกโดยพระเจ้าไกเซอร์

อ้างอิง แก้

  1. Baker, Chris. "Some British Army statistics of the Great War". The Long Long Trail. สืบค้นเมื่อ 21 November 2009.
  2. Tucker & Roberts (2005), p.504
  3. Chandler (2003), p.211