กลบทบัวบานกลีบขยาย
กลบทบัวบานกลีบขยาย เป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จารึกไว้ในวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ดังที่รู้จักกันว่าจารึกวัดโพธิ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นบทกลอนสั้นๆ ตามขนบของกลอนกลบท เรียกว่า กลบทบัวบานกลีบขยาย เพื่อเป็นแบบสำหรับกุลบุตรกุลธิดาในชั้นหลังได้ศึกษาวรรณคดีไทยอย่างสะดวกและกว้างขวาง
กลบทบัวบานกลีบขยาย | |
---|---|
กวี | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประเภท | กลอนกลบท |
คำประพันธ์ | กลอนแปด |
ความยาว | 8 บท |
ยุค | รัตนโกสินทร์ |
ปีที่แต่ง | รัชกาลที่ 3 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์ |
ลักษณะคำประพันธ์
แก้เป็นกลอนแปด ใส่กลบท โดยการซ้ำ ๒ คำที่ต้นวรรคทุกวรรค และใช้กระทู้เดียวตลอดจนจบความ มีลักษณะเช่นเดียวกับ กลบทบัวบานกลีบ ในหนังสือกลบทศิริวิบุลกิตติ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า "ชื่อบัวบานกลีบขยายหมายนามเอยฯ" ในคำกลอนนั้น ต้องการระบุชื่อกลบทว่า กลบทบัวบานกลีบขยาย หรือเป็น กลบทบัวบานกลีบ ที่ทรงแต่งขยายเพิ่มเติมมาให้ศึกษาในชั้นหลัง
เนื้อหา
แก้เป็นบทชมโฉมตามขนบวรรณคดีไทย และนับเป็นแบบอย่างที่งดงาม ของการบรรยายความงามของหญิงไทย ด้วยการเปรียบเทียบในลักษณะต่างๆ อย่างเห็นภาพพจน์
คำกลอน
แก้๏ เจ้างามพักตร์ผ่องเพียงบุหลันฉาย | |
เจ้างามเนตร์ประหนึ่งนัยนาทราย | เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง |
เจ้างามนาสายลดังกลขอ | เจ้างามสอเหมือนคอสุวรรณหงส์ |
เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง | เจ้างามวงวิลาสเรียบระเบียบไร |
เจ้างามปรางเปล่งปลั่งเปรมปราโมทย์ | เจ้างามโอษฐแย้มยวนจิตร์น่าพิสมัย |
เจ้างามทนต์กลนิลช่างเจียระไน | เจ้างามเกษดำประไพเพียงภุมริน |
เจ้างามปีกตัดทรงมงกุฎกระษัตริย์ | เจ้างามทัดกรรณเจียกผมสมพักตร์สิ้น |
เจ้างามไรไม่แข็งคดหมดมลทิน | เจ้างามประทิ่นกลิ่นเกศขจายจร |
เจ้างามเบื้องปฤษฎางค์พ่างพิศวง | เจ้างามทรวงสมทรงอนงค์สมร |
เจ้างามถันเทียมเทพกินร | เจ้างามกรอ่อนดังงวงเอราวัณ |
เจ้างามนิ้วนะขาน่ารักหนอ | เจ้างามลออเอวบางเหมือนนางสวรรค์ |
เจ้างามเพลากลกัทลีพรรณ | เจ้างามบาทจรจรัลจริตงาม |
เจ้างามละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนางมนุษย์ | เจ้างามดุจลอยฟ้ามาสู่สนาม |
เจ้างามอุดมสมลักขณานาม | เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย |
เจ้างามศักดิ์สมบูรณ์ประยูรยศ | เจ้างามหมดประมวญสวาทพี่มาดหมาย |
เจ้างามจริงทุกสิ่งสรรพ์ดังบรรยาย | ชื่อบัวบานกลีบขยายหมายนามเอยฯ |