กระบวนการทริปเปิลอัลฟา
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
กระบวนการทริปเปิลอัลฟา (อังกฤษ: Triple alpha process) คือกลุ่มของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันซึ่งนิวเคลียสของฮีเลียม-4 สามตัว (อนุภาคอัลฟา) จะแปลงไปเป็นคาร์บอน[1][2]
ดาวฤกษ์ที่มีอายุมากขึ้นจะสะสมฮีเลียมเอาไว้ ซึ่งเป็นผลผลิตจากห่วงโซ่โปรตอน–โปรตอนและวงจรซีเอ็นโอซึ่งเกิดขึ้นที่แกนของดาว ผลผลิตที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันต่อเนื่องของฮีเลียมกับไฮโดรเจนหรือนิวเคลียสฮีเลียมอื่นๆ จะทำให้เกิด ลิเทียม-5 และเบริลเลียม-8 ขึ้นมาตามลำดับ ธาตุทั้งสองนี้ไม่เสถียรอย่างรุนแรงและแทบจะสลายตัวกลับไปเป็นนิวเคลียสขนาดเล็กตามเดิมในทันที[3] เมื่อดาวฤกษ์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจนหมด แกนของดาวจะเริ่มยุบตัว จนกระทั่งอุณหภูมิในใจกลางเพิ่มสูงขึ้นถึง ~100×106 K (8.6 keV) ถึงจุดนี้นิวเคลียสฮีเลียมจะหลอมเข้าด้วยกันในอัตราที่สูงพอจะเอาชนะอัตราการเกิดผลผลิตของมัน คือเบริลเลียม-8 และสลายตัวกลับไปเป็นนิวเคลียสฮีเลียมสองตัว นั่นหมายความว่าจะมีนิวเคลียสเบริลเลียม-8 น้อยลงในแกนกลาง ซึ่งสามารถหลอมกับนิวเคลียสฮีเลียมตัวอื่นและกลายไปเป็นคาร์บอน-12 ซึ่งเป็นธาตุที่เสถียรกว่า
กระบวนการทริปเปิลอัลฟาเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยาก และใช้เวลานานมากในการสร้างคาร์บอนขึ้นมา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่มีคาร์บอนเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเกิดบิกแบง เพราะแค่ในเวลาแค่ไม่กี่นาทีหลังบิกแบง อุณหภูมิก็ลดลงต่ำกว่าจุดที่ต้องทำให้เกิดนิวเคลียร์ฟิวชันแล้ว
อ้างอิง
แก้- ↑ Editors Appenzeller, Harwit, Kippenhahn, Strittmatter, & Trimble. Astrophysics Library (3rd ed.). Springer, New York. ISBN.
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ostlie, D.A. & Carroll, B.W. (2007). An Introduction to Modern Stellar Astrophysics. Addison Wesley, San Francisco. ISBN 0-8053-0348-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ G. Audia,§, O. Bersillonb, J. Blachotb and A.H. Wapstrac, http://www.nndc.bnl.gov/amdc/nubase/Nubase2003.pdf/ เก็บถาวร 2008-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The NUBASE evaluation of nuclear and decay properties, (2001)