กระดูกแข้ง

(เปลี่ยนทางจาก กระดูกทิเบีย)

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (อังกฤษ: tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง

กระดูกแข้ง
(tibia)
บริเวณที่เกิดการสร้างกระดูกของกระดูกแข้ง มีศุนย์กลางอยู่ 3 บริเวณ
ตัวระบุ
MeSHD013977
TA98A02.5.06.001
TA21397
FMA24476
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ในมนุษย์ แก้

ในมนุษย์ กระดูกแข้งจะพบอยู่ด้านใกล้กลางและด้านหน้ามากกว่ากระดูกน่อง (fibula) เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในร่างกายมนุษย์รองจากกระดูกต้นขา (femur) กระดูกแข้งเกิดข้อต่อด้านบนกับกระดูกต้นขาและกระดูกสะบ้า (patella) ด้านข้างกับกระดูกน่อง และด้านล่างกับกระดูกทาลัส (talus)

ความแตกต่างระหว่างเพศ แก้

ในเพศชาย กระดูกแข้งจะวางตัวในแนวดิ่งขนานกับกระดูกแข้งอีกข้าง แต่ในเพศหญิง กระดูกจะวางตัวในแนวเฉียงเล็กน้อยไปทางด้านล่างและด้านข้างเพื่อชดเชยกับความเอียงของกระดูกต้นขา

โครงสร้าง แก้

โครงสร้างของกระดูกแข้งเป็นรูปคล้ายปริซึม ส่วนบนกว้างเกิดข้อต่อเข่า ส่วนล่าง 1/3 (below third) คอดลง และกว้างขึ้นอีกครั้งแต่ไม่กว้างเท่าส่วนด้านบน

กระดูกแข้งเชื่อมติดกับกระดูกน่องโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของขา (interosseous membrane) เกิดเป็นข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่น (syndesmoses)

หลอดเลือดที่เลี้ยง แก้

กระดูกแข้งได้รับเลือดแดงมาจาก 2 แหล่ง[1]

  1. หลอดเลือดแดงสารอาหาร (nutrient artery) เป็นแหล่งหลัก
  2. หลอดเลือดเยื่อหุ้มกระดูก (periosteal vessels) ซึ่งมาจากหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ทิเบียล (anterior tibial artery)

ภาพอื่นๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. NELSON G, KELLY P, PETERSON L, JANES J. "Blood supply of the human tibia". J Bone Joint Surg Am. 42-A: 625–36. PMID 13854090.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้