กมลา ประสาท-พิเสสร

(เปลี่ยนทางจาก กมลา ปรสาท-พิเสสร)

กมลา ประสาท-พิเสสร (อักษรโรมัน: Kamla Persad-Bissessar, เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1952) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ[1] ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ถึง ค.ศ. 2015

กมลา ประสาท-พิเสสร
นายกรัฐมนตรีแห่งตรินิแดดและโตเบโก
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 – 9 กันยายน ค.ศ. 2015
ประธานาธิบดีจอร์จ แมกซ์เวล ริชาดส์
แอนโทนี่ คาร์โมนา
ก่อนหน้าแพทริก แมนนิง
ถัดไปเคท รอลีย์
ประธานคณะกรรมการสำนักงานในเครือจักรภพ
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 – 28 ตุลาคม ค.ศ. 2011
ก่อนหน้าแพทริก แมนนิง
ถัดไปจูเลีย กิลลาร์ด
ผู้นำฝ่ายค้าน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน ค.ศ. 2015
ก่อนหน้าเคท รอลีย์
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้าพัสเทว ปันเฑ
ถัดไปเคท รอลีย์
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน ค.ศ. 2006 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007
ก่อนหน้าพัสเทว ปันเฑ
ถัดไปพัสเทว ปันเฑ
ผู้นำพรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มกราคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้าพัสเทว ปันเฑ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองซิพาเรีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
ก่อนหน้าสาหิท ฮุสเซน
คะแนนเสียง15,808
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1952-04-22) 22 เมษายน ค.ศ. 1952 (71 ปี)
เมืองซิพาเรีย ตรินิแดดและโตเบโก
ศาสนาแบปทิสต์และฮินดู
พรรคการเมืองพรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC)
คู่สมรสดร. เกรกอรี พิเสสร
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเวสต์อินดิส
เว็บไซต์Official website

เธอเป็นผู้นำพรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC) และนำไปสู่การก่อตั้งพันธมิตรทางการเมือง ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างห้าพรรคการเมืองของประเทศ จนก่อให้เกิดการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เธอเป็นสตรีคนแรกที่ทำหน้าที่เป็นอัยการสูงสุด, นายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านของประเทศ ด้วยบทบาทอันโดดเด่นทำให้เธอเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในปี ค.ศ. 2010[2]

ประวัติและการศึกษา แก้

กมลา ประสาท-พิเสสร เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1952 ที่เมืองซิพาเรีย[3] ประเทศตรินิแดดและโตเบโก บรรพบุรุษของเธออพยพมาจากหมู่บ้านเภลูปุระ เขตพกสร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[4] บรรพบุรุษของเธออพยพออกจากอินเดียไปยังหมู่เกาะแคริบเบียนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นแรงงานของคีรมิติยะมายังตรินิแดดและโตเบโก

เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมแลร์, มหาวิทยาลัยเวสต์อินดิส, วิทยาลัยเทคนิกนอร์วูด ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนกฎหมายฮิววูดดิง อันส่งผลให้เธอได้รับรางวัลเกียรตินิยมในวิชารัฐศาสตร์บัณฑิต ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากรัฐศาสตร์บัณฑิตสาขากฎหมาย และรับประกาศนียบัตรการศึกษาด้านกฎหมาย และในปี ค.ศ. 2006 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจจากโรงเรียนธุรกิจอาเธอร์โลคแจ็ค ประเทศตรินิแดดและโตเบโก

เมื่อครั้งที่เธอยังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมสังคมสงเคราะห์กับสมาคมยุวชนโบสถ์อังกฤษแห่งลอนดอน หลังสำเร็จการศึกษาเธอได้เข้าสู่วิชาชีพครูที่โรงเรียนมัธยมเซนต์แอนดรูว์ และสถาบันโมนาในประเทศจาเมกา หลังจากนั้นเธอได้เข้าสอนในสถาบันเซนต์ออกัสตินแห่งมหาวิทยาลัยเวสต์อินดิสในประเทศตรินิแดด และเธอยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของวิทยาลัยธุรกิจประกันภัยจาเมกา หลังจากนั้นเธอได้เป็นผู้บรรยายการศึกษาตามสถาบันอุดมศึกษาเป็นเวลาหกปี และเธอได้เป็นอัยการกฎหมายสูงสุดเต็มเวลา

สู่การเมือง แก้

กมลา ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งเมืองซิพาเรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เธอทำหน้าที่อัยการสูงสุดในปี ค.ศ. 1995 เมื่อพรรคก่อตั้งรัฐบาลในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2000 กมลาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2006 เธอได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกในพรรคในการตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน[5] ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีจอร์จ แมกซ์เวล ริชาดส์ ได้มีการประกาศว่าตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านได้ว่างลง[6] หลังจากที่พัสเทว ปันเฑ ถูกตัดสินว่าไม่สามารถยื่นข้อมูลที่สมบูรณ์ของบัญชีธนาคารต่อคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน[7] และชื่อของนายปันเฑยังอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงมีการแต่งตั้งนางกมลา ประสาท-พิเสสร ขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2006

ผู้นำทางการเมือง แก้

วันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2010 กมลาได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคโดยมีชัยชนะเหนือพัสเทว ปันเฑ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรค เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันนั้นเอง

นายกรัฐมนตรี แก้

กมลา ประสาท-พิเสสร ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศตรินิแดดและโตเบโก

นอกจากนี้นางกมลายังเป็นสตรีคนแรกที่เป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานในเครือจักรภพ ซึ่งต่อมาตำแหน่งประธานดังกล่าวได้ตกเป็นของจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีหญิงของออสเตรเลีย

ชีวิตส่วนตัว แก้

กมลา ประสาท-พิเสสร ได้สมรสกับ ดร. เกรกอรี พิเสสร มีบุตรด้วยกัน 1 คน[8] อนึ่งคำว่า พิเสสร อันเป็นสกุลของสามีนั้น มาจากคำว่า วิศเวศวร (विश्वेश्वर) ในภาษาสันสกฤต เธอนับถือศาสนาคริสต์นิกายแบปทิสต์ควบคู่กับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เธอกล่าวว่า "ฉันบัพติศมาตามความเชื่อของแบปทิสต์ ฉันไม่นับถืออะไรเฉพาะเจาะจง ฉันนับถือสองอย่างทั้งฮินดูและแบปทิสต์"[9]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่ประจำรัฐบาลได้ยืนยันว่า นางกมลา ประสาท-พิเสสร ได้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และจะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การดูแลของแพทย์[10]

อ้างอิง แก้

  1. ttgapers.com 2010. PNM lose to Peoples Partnership in Trinidad elections 2010 เก็บถาวร 2013-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ttgapers.com May 24, 2010.
  2. "New UNC leader ready to work with opponents". Trinidad Express. Georgetown, Guyana: Stabroek News. 25 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2022.
  3. Sookraj, Radhica (26 May 2010). "Kamla came from humble beginnings". Trinidad and Tobago Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 May 2010.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-03-11.
  5. Lord, Richard. 2006. Leader Kamla: President's move forces UNC crisis decision เก็บถาวร 2006-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Trinidad Express April 26, 2006.
  6. Lawyers criticise Max for declaring vacancy เก็บถาวร 2006-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Trinidad Express April 26, 2006.
  7. Cummings, Stephen (2006-01-16). "Trinidad's opposition leader set to go on trial". Caribbean Net News. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  8. http://www.ttparliament.org/members.php?mid=54&id=KPB01
  9. Meet T and T PM, Kamla NationNews Barbados, June 2010.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-03-11.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้