กบฏขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์

กบฏขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ เป็นกบฏที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2443-พ.ศ. 2444[1][a]

ปูมหลัง

แก้

เมืองสวรรคโลกมีศูนย์กลางความเคลื่อนไหวอยู่ใกล้พระธาตุมุเตา ภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ในตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บริเวณนี้เคยเป็นเขตปกครองของเมืองสวรรคโลก โดยมีพระปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุเป็นปูชนียสถานสำคัญที่ชาวเมืองสวรรคโลกและพื้นที่ใกล้เคียงเคารพสักการะของชาวเมืองสวรรคโลกและใกล้เคียง บริเวณนี้แต่เดิมอยู่ในเขตปกครองของเมืองสวรรคโลก

เหตุการณ์

แก้

เมืองสวรรคโลก เป็นพระภิกษุ แต่ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองอะไร พบข้อมูลเพียงว่า เป็น “ขรัว” อยู่วัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้าง โดยขรัวผู้วิเศษได้ปรารภว่าจะยกเมืองสวรรคโลกให้รุ่งเรือง จะซ่อมวัดพระปรางค์[ก] เมืองสวรรคโลก ที่ขรัวผู้วิเศษกล่าวถึง คือบริเวณเมืองโบราณศรีสัชนาลัยในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน อันเป็นที่ตั้งของเมืองสวรรคโลกในอดีต ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นชุมชนร้างมาตั้งแต่หลังการกวาดต้อนเทครัวชาวหัวเมืองฝ่ายเหนือลงไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2127 [ข]และจะซ่อมแซมบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ ให้ทั้ง 2 แห่งกลับมารุ่งเรืองสมบูรณ์เหมือนในอดีตที่ผ่านมาเมื่อมีผู้ถามว่า จะเอาเงินที่ไหนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะ ขรัวผู้วิเศษตอบว่า

“ถ้าทำเงินก็มีเอง” และ “มักจะพูดอะไรให้ไม่ใคร่จะได้ความชัดเจนมาก ๆ ” นอกจากนี้ ยังมีเสียงเล่าลือว่า ขรัวผู้วิเศษนี้ “เป็นพระร่วงมาเกิด”

ทำให้ราษฎรพากันแตกตื่นนิยมมาเป็นศิษย์มากมายหลายพันคน[ค]

ขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ พยายามที่จะแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น โดยคิดจะยกเสาปั้นจั่นสูงขึ้นปักคู่หนึ่งเพื่อเป็นเสาธงใหญ่ และเพื่อ “เปนผเดิมให้สมควรแก่ฤทธิเดช” สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์เกี่ยวกับเสาธง และเหตุการณ์การยกปั้นจั่นของขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ไว้ว่า

“…มีเสาปั้นจั่นสูงปักอยู่คู่หนึ่ง พระสีหสงครามบอกว่า เสาธงนี้เป็นของพระผู้วิเศษ ทำขึ้นเพื่อจะสำแดงปาฏิหารให้คนนิยม แต่เมื่อยกปั้นจั่น คนตายสามคน จึงยังเปนการที่จะต้องจัดแก้วิธีการยกเสาใหม่ พอประจวบท้องตรามีไปให้จับตัวผู้วิเศษส่งมากรุงเทพ ก็จับส่งมาเสีย การจึงค้างอยู่ เมื่อได้พิจารณาดูเสาธงนั้น ก็เห็นว่าจะยกขึ้นไม่ได้ ด้วยใช้ไม้เสายาวประมาณต้นละ 4 วา โตประมาณ 4 กำ ต่อกันอย่างนี้เป็นหลายต่อ ถึงยกขึ้นได้ก็หัก… ท่านผู้วิเศษนั้นจึงจะได้ทำการยกเสาธงใหญ่ เปนผเดิมให้สมควรแก่ฤทธิเดช เกณฑ์ศิษย์หาอุบาศกช่วยกันทำ พอยกปั้นจั่นก็ล้มทับตายสามคน ผู้วิเศษว่าให้เอาใส่โลงทิ้งไว้เถิด แล้วมันก็เปนขึ้นเอง กิติศรัพท์ที่คนตื่นแตกเข้ามาหามากนั้นลงไปถึงกรุงเทพ”

การรวมกลุ่มและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

แก้

“ขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์” เมืองสวรรคโลก และบรรดาศิษย์ จะไม่เป็นที่ผิดสังเกตหรือผิดกฎหมายใด ๆ หากกิจกรรมนั้น ไม่ทำให้ราษฎรเสียชีวิตถึง 3 คน และที่สำคัญคือ

“…พวกเหล่านั้นล้วนพากันกระด้างกระเดื่อง ไม่ฟังบังคับเจ้าเมืองกรมการ…”

ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าเมืองและขุนนางกรมการเมืองสวรรคโลกต้องมีใบบอกส่งไปยังรัฐส่วนกลาง เพื่อให้ส่งกำลังขึ้นมาช่วยเหลือในการจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษไปพิจารณาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองต่อไป แต่การที่จะจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะขรัวผู้วิเศษมีลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสเป็นบริวาร หลายพันคน รัฐส่วนกลางเมื่อทราบเรื่องทั้งจากใบบอกของเจ้าเมืองสวรรคโลก และกิตติศัพท์ของขรัวผู้วิเศษที่ร่ำลือไปจนถึงกรุงเทพมหานคร จึงมีตราสั่งขึ้นมาให้จับตัวขรัวผู้วิเศษส่งลงไป แต่การที่จะจับตัวขรัวผู้วิเศษนั้น หากจะเข้าจับกุมที่วัดพระปรางค์โดยตรงเป็นเรื่องไม่ถนัด เพราะกลัวลูกศิษย์ของขรัวผู้วิเศษจะฆ่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมตาย เพราะขรัวผู้วิเศษสั่งว่าอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น[ค]

หลังเหตุการณ์

แก้

ท้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ต้องออกอุบายหลอกให้ขรัวผู้วิเศษลงไปที่เมืองสวรรคโลกใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ริมฝั่งแม่น้ำยมทางทิศใต้ของวัดพระปรางค์ อันเป็นตัวอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน แล้วจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษที่บ้านวังไม้ขอน ริมฝั่งแม่น้ำยมทางทิศใต้ของวัดพระปรางค์ อันเป็นตัวอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน แล้วจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษที่นั่น[ค] ก่อนที่จะส่งตัวลงไปกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป

ความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อ

แก้

การที่ขรัวผู้วิเศษเลือกใช้วัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก เป็นศูนย์กลางของความเคลื่อนไหวนั้น เห็นได้ชัดเจนว่า มีความพยายามในการดึงเอาความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อ และความเป็นปูชนียสถานที่เคารพนับถือของชาวเมืองสวรรคโลกมาเป็นฐานในการเคลื่อนไหว เพื่อที่จะโน้มน้าวให้ราษฎรเข้าร่วม โดยเฉพาะการเลือกที่ตั้งเสาธงใหญ่อยู่ใกล้กับพระธาตุมุเตาหรือโมคคัลลาน์เจดีย์ ประวัติของพระโมคคัลลาน์นั้นก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในพุทธประวัติระบุว่าเป็นพระอรหันตสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะในด้านการแสดงอิทธิฤทธิ์ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การเลือกสถานที่ดังกล่าวเป็นความตั้งใจของขรัวผู้วิเศษที่จะดึงเอาสัญลักษณ์ความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ของพระโมคคัลลาน์มาใช้เพื่อการสร้างอำนาจบารมีของตน ดังจะเห็นว่าขรัวผู้วิเศษได้พยายามที่จะแสดงฤทธิ์เดชให้ราษฎรได้เห็นเพื่อเรียกศรัทธา แต่ทว่าการแสดงฤทธิ์เดชนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ยังทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า ขรัวผู้วิเศษได้ปักฉัตรยอดไว้ที่ส่วนบนของพระธาตุมุเตาด้วย ลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ขรัวผู้วิเศษน่าจะได้ประกอบพิธีกรรมใดพิธีกรรมหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับการบูชาหรือขอพรเพื่อเสริมบารมีจากพระธาตุมุเตาหรือโมคคัลลาน์เจดีย์นี้แล้ว

การเลือกใช้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือศูนย์กลางทางความเชื่อในลักษณะเช่นนี้ เคยมีปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ เช่น กรณีเจ้าพระฝาง (พระพากุลเถระ-เรือน) ที่ใช้วัดมหาธาตุ เมืองฝาง (หรือวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จังหวัดอุตรดิตถ์) เป็นศูนย์กลางการปกครองชุมนุมเจ้าพระฝาง หลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310[ง]

ภูมิประเทศของวัดพระปรางค์

แก้

สภาพภูมิประเทศบริเวณวัดพระปรางค์ ยังมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ กล่าวคือ ตำแหน่งที่ตั้งวัดพระปรางค์อยู่ในบริเวณที่แม่น้ำยมคดงอเป็นไส้ไก่ เป็นพื้นที่แคบ ๆ มีแม่น้ำขนาบทั้ง 2 ข้าง การที่จะเดินทางจากภายนอกเข้าสู่ตัววัดทางบกโดยสะดวกนั้น มีอยู่ทางเดียว คือเข้าทางทิศตะวันตก เพราะอีก 3 ด้านนั้นมีแม่น้ำยมล้อมรอบอยู่ การจะเข้าสู่พื้นที่วัดจึงมีความยากลำบาก เพราะต้องข้ามแม่น้ำ

ดังนั้น การที่จะตรวจตราผู้คนเข้าออกบริเวณวัดพระปรางค์ของกลุ่มศิษย์ขรัวผู้วิเศษ ก็สามารถทำได้ง่ายและค่อนข้างรัดกุม หากเจ้าหน้าที่รัฐจะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบหรือจับกุมก็ย่อมไม่พ้นการตรวจตราหรือสังเกตเห็นความผิดปกติจากบรรดาศิษย์ขรัวผู้วิเศษเป็นแน่ การที่กลุ่มกบฏขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ จึงไม่แปลกที่ขุนนางกรมการเมืองสวรรคโลกไม่ถนัดที่จะนำกำลังทหารตำรวจเข้าจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษภายในบริเวณวัด จนต้องใช้อุบายหลอกให้ขรัวผู้วิเศษออกมาจากบริเวณวัดพระปรางค์ ห่างจากบรรดาศิษย์ทั้งหลายก่อน จึงเข้าจับกุมตัวขรัวผู้วิเศษ การอ้างตัวของขรัวผู้วิเศษว่า ตนเองคือพระร่วงกลับชาติมาเกิด ถือเป็นการอ้างความชอบธรรมที่ยากที่จะพิสูจน์ได้ของราษฎรผู้เคารพนับถือ และเป็นการสร้างความชอบธรรม ที่จะยกตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำของราษฎรในการเคลื่อนไหว เพื่อต่อต้านนโยบายที่เห็นว่าถูกกดขี่จากรัฐส่วนกลางและความทุกข์ยากต่าง ๆ

ความคล้ายคลึงของกบฏ

แก้

มีความคล้ายกับบรรดาผู้นำกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน ที่มักอ้างว่าตนเองคือ พระศรีอาริย์ หรือพระยาธรรมิกราช ที่ลงมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ ความลำบากแร้นแค้นและความเดือดร้อนต่าง ๆ ของราษฎร หรืออ้างว่าเป็นขุนเจือง วีรบุรุษในตำนานของชนเผ่าบนที่สูงกลับชาติมาเกิด เพื่อปลดแอกการถูกกดขี่ข่มเหงรังแกจากรัฐส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร[จ] การอ้างตนเองว่าเป็น “พระร่วง” กลับชาติมาเกิดของขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก ถือเป็นกรณีที่น่าสนใจ ที่ยังไม่มีการศึกษาอย่างละเอียด เพราะส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงกบฏผู้มีบุญหรือกบฎผีบุญ เรามักจะนึกถึงกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน ที่มักจะอ้างตัวว่าเป็นพระศรีอาริย์หรือพระยาธรรมิกราชมาเกิด ซึ่งแต่เดิมเคยอยู่ในเขตปกครองของราชอาณาจักรล้านช้าง หากแต่ไม่ค่อยมีใครจะนึกถึงเลยว่า ในพื้นที่เมืองสวรรคโลก ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของราชอาณาจักรสยามมาช้านานจะเกิดกรณีกบฏผู้มีบุญขึ้นมาด้วย และอ้างว่าเป็น “พระร่วง” วีรบุรุษในตำนานของท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากกรณีกบฏผู้มีบุญอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อทางศาสนาหรือได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระมาลัย[ฉ]

การจำแนกของเหตุการณ์ในสมัยปัจจุบัน

แก้

ในพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไม่ได้กล่าวถึงการลงโทษขรัวผู้วิเศษไว้ ผู้เขียนจึงไม่สามารถนำเสนอผลการพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ได้ หากมีโอกาสศึกษาสืบค้นข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุอย่างละเอียด อาจจะทำให้เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณี กบฏขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก มากกว่านี้

หมายเหตุ

แก้
  1. คัดเนื้อหาบางส่วนจากบทความ ขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก : กบฏผู้มีบุญ “พระร่วง” ที่ถูกลืม เขียนโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2557, จัดย่อหน้าใหม่และเพิ่มหัวข้อย่อย โดย กอง บก. ออนไลน์ เพื่อความสะดวกในการอ่าน

เชิงอรรถ

แก้

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติครบ 100 ปี วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2506), น. 75.

“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2542), น. 287-288.

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก. น. 75.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. (กรุงเทพฯ : มติชน, 2550), น. 169-172.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชื่อพระศรีอาริย์” และ “กบฏผู้มีบุญ” ในสังคมไทย. (กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2527). และ กำพล จำปาพันธ์, ข่าเจือง : กบฏไพร่ ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง. (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555).

ฉลอง สุนทรวาณิชย์. “ความเชื่อในเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏในภาคอีสาน ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับอุดมการณ์และผู้นำ, ” ใน พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และ อัจฉราพร กมุทพิสมัย (บรรณาธิการ). “ความเชื่อพระศรีอาริย์” และ “กบฏผู้มีบุญ” ในสังคมไทย. น. 26-28

อ้างอิง

แก้
  1. "กบฏขรัวผู้วิเศษวัดพระปรางค์ กบฏผู้มีบุญ แห่งเมืองสวรรคโลก ที่ถูกลืม".