วงศ์ย่อยอ้น
วงศ์ย่อยอ้น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนต้น - ปัจจุบัน | |
---|---|
อ้นเล็ก (Cannomys badius) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Spalacidae |
วงศ์ย่อย: | Rhizomyinae Winge, 1887 |
สกุล | |
วงศ์ย่อยอ้น[1] (อังกฤษ: Bamboo rat, Root rat, Mole-rat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกฟันแทะวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhizomyinae (เดิมใช้ชื่อว่า Rhizomyidae[2]) เป็นวงศ์ย่อยอยู่ในวงศ์ใหญ่ Spalacidae
เป็นวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับวงศ์ย่อย Spalacinae ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะที่พบในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคตะวันออกกลาง
โดยรวมสมาชิกทั้งหมดในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ้วนป้อม เคลื่อนที่ได้ช้า มีใบหูและดวงตาขนาดเล็ก ในสกุล Rhizomys จัดเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวตั้งแต่ 150-480 มิลลิเมตร (เฉพาะส่วนหัวและลำตัว) กับความยาวหางตั้งแต่ 50-200 มิลลิเมตร และน้ำหนักตั้งแต่ 150 กรัมถึง 4 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิด ส่วนใหญ่กินลำต้นหรือส่วนหัวของพืชที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร โดยขึ้นจากโพรงมาหาอาหาร มักไม่ค่อยออกจากโพรงหากไม่ใช่เป็นการหาอาหาร ระยะเวลาในการออกหากินในช่วงโพล้เพล้หรือกลางคืน ขนาดของโพรงกว้างขวางและแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ได้หลายห้อง มีความคล้ายคลึงกับโกเฟอร์กระเป๋า แต่ไม่มีกระพุ้งแก้มใช้สำหรับเก็บอาหาร ทั้งหมดถือเป็นศัตรูพืชทางการเกษตร โดยจะกัดกินทำลายพืชผลทางการเกษตรจึงถูกตามล่าและถูกจับเพื่อรับประทานเป็นอาหาร โดยมีความเชื่อว่าช่วยในการบำรุงกำลัง[3] ในขณะที่หนังของชนิดที่พบในทวีปแอฟริกันจะถูกใช้เป็นเครื่องราง[4]
การจำแนก
แก้แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 2 เผ่า 17 ชนิด
โดย 2 สกุลแรกพบในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดียเรื่อยไปจนถึงตอนใต้ของจีนและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
- วงศ์ย่อย Rhizomyinae[4]
- เผ่า Rhizomyini - อ้น, ตัวอ้น
หมายเหตุ: อ้นใหญ่, อ้นกลาง และอ้นเล็ก จัดเป็น 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1[3][1]
สกุลนี้พบในทวีปแอฟริกา
- เผ่า Tachyoryctini
- สกุล Tachyoryctes - หนูตุ่น
- เผ่า Tachyoryctini
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Rhizomyinae "วงศ์ย่อย อ้น". siamensis.org. 22 October 2010. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "อ้น ๑". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "พระวัดหนองปรือ เลี้ยงตัวอ้นกว่า 10 ตัว นาน 6 ปี จนสุดเชื่อง". ช่อง 3. 3 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
- ↑ 4.0 4.1 http://books.google.com.vn/books?id=JgAMbNSt8ikC&pg=PA913&lpg=PA913&dq=Rhizomyini+t%C3%B4ng&source=bl&ots=Qca0aPn03f&sig=PqCqFMBp4i60jkGmE-9Bq7Eo6sg&hl=vi&sa=X&ei=6sNET_zpO4yTiQfNrIn9Ag&ved=0CCkQ6AEwAQ#v=onepage&q=Rhizomyini%20t%C3%B4ng&f=false