อินทผลัม

(เปลี่ยนทางจาก Phoenix dactylifera)
อินทผลัม
ต้นอินทผลัม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไฟลัม: Streptophyta
ชั้น: Equisetopsida
ชั้นย่อย: Magnoliidae
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Phoenix
สปีชีส์: P.  dactylifera

อินทผลัม [อิน-ทะ-ผะ-ลำ][1] เป็นพืชตระกูลปาล์ม ในวงศ์ Arecaceae ชื่อสามัญ Date palm, Dates มีหลายสายพันธุ์ เติบโตได้ดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย ทว่า คนไทยมักเรียก อินทผาลัม เป็นพืชเก่าแก่ของตะวันออกกลาง อ้างอิงจากประวัติศาสตร์ว่าพบแถบเมโสโปเตเมีย หลังมนุษย์ได้อพยพไปตั้งรกรากที่นั่นและมีพืชอย่างอินทผลัมซึ่งทนต่อสภาพแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยใช้ลำต้นสร้างบ้านเป็นที่อยู่อาศัย ขณะที่ผลเป็นอาหารทั้งของคนและอูฐ ปัจจุบันไม้ผลชนิดนี้ มีสรรพคุณทางยาและมีประโยชน์มหาศาล

ลักษณะทางกายภาพ แก้

อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกท้องถิ่นแตกต่างกันไป อาหรับ เรียก ตัมร มลายู เรียก กุรหม่า มีหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร มีขนาดลำต้นประมาณ 30–50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40–60 ก้าน ทางใบยาว 3–4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ ความยาวผล 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ทั้งนี้ พัฒนาการของผล แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ ระยะสมบูรณ์ ระยะสุกแก่ ระยะผลแห้ง โดยผลสุกสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัดเหมือนกับนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล

ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ แก้

อินทผลัมเป็นพืชพื้นเมืองของคาบสมุทรอาหรับไปจนถึงปากีสถานตอนใต้ เช่นในมลรัฐรอบอ่าวเม็กซิโก อิหร่าน อิรัก โอมาน ปากีสถาน ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย การปลูกอินทผลัมได้มีการเพาะปลูกมาหลายพันปี โดยจะเติบโตได้ในภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (subtropical biome) มีการใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น อาหารสัตว์ ยารักษาโรค เชื้อเพลิง และอาหาร มนุษย์ได้ทำการกระจายพันธุ์ไปปลูกตามที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่นใน อัฟกานิสถาน แคลิฟอร์เนีย จีน อียิปต์ เวียดนาม สเปน และอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า[2]

ส่วนต่าง ๆ และคุณสมบัติ แก้

ตารางแสดงการใช้ประโยชน์ของส่วนต่างๆของต้นอินทผลัม[3]
ส่วนของพืช การใช้ประโยชน์
เมล็ด ใช้ทำเป็นอาหารสำหรับสัตว์ หรือลูกปัดในเครื่องประดับ นำมาสกัดน้ำมันและทำเป็นสบู่ได้
ผลไม้ มีฤทธิ์ทางยา ใช้ในการรักษาอาการเจ็บคอ หวัด หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่นกระเพาะอาหาร หรือลำไส้
ลำต้น นำไม้มาเป็นเชื้อเพลิงได้
เส้นใยจากลำต้น นำมาผลิตเป็นเชือกได้ หรือนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ เช่น ตะกร้า อานอูฐ กระเป๋า กระดาษ หรือเฟอร์นิเจอร์
ใบไม้ สามารถนำใบแห้งมามุงหลังตา หรือทำเป็นผนังกั้น สำหรับการบังแดด
แผ่นใบ และก้านช่อดอก ใช้เป็นเชื้อเพลิง
ไส้ไม้ (Palm Pith) ทำเป็นแป้งอินผลัมได้
ต้นอินผลัม ใช้ในการตกแต่งพื้นที่ ทำให้บริเวณนั้นแปรสภาพเป็นทะเลทราย

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Compounds) โดยการใช้ประโยชน์ส่วนมากจะเป็นส่วนของผลและเมล็ด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง และมีคุณสมบัติทางยา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนายารักษาโรคและใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องสำอางได้อีกด้วย โดยที่ผลจะมีส่วนประกอบทางเคมีดังนี้ Phenolic acids, Flavonoids (Quercetin, apigenin, rutin), Carotenoids (Beta-carotene, lycopene), Anthocyanins, Fatty acid (myristic, stearic, linolenic acids) และ Non-starch polysaccharides ส่วนในเมล็ดของอินทผลัมจะมีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างจากในผลเล็กน้อยคือมี Flavonoids ที่มีความหลายหลายมากกว่า เช่น Epicatechin, catechin, procyanidlins, naringenin, luteolin, chrysoeriol และ tricin ใน Carotenoids จะมี Beta-carotene และ luten มี Tocopherols ใน Fatty acid ประกอบด้วย oleic acid, palmitic acid และ lauric acid และยังมี Carboxylic acid ซึ่งแตกต่างจากในผล แต่ในเมล็ดจะไม่มีส่วนของ Non-starch polysaccharides[4]

การใช้ประโยชน์และการผลิตอินทผลัมในประวัติศาสตร์โลก แก้

แม้ว่าถิ่นกำเนิดที่แท้จริงของอินทผลัม (Phoenix dactylifera L.) จะสูญหายไปตามกาลเวลา แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่ามีการเพาะปลูกอินทผลัมมาตั้งแต่ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  โดยพบหลักฐานการนำอินทผลัมไปใช้ในการก่อสร้างวิหารเทพเจ้าจันทร์ใกล้กับเมืองอูร์ในอิรักใต้(Popenoe, 1913; 1973)

ข้อมูลข้างต้นได้รับการยืนยันจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น ซากปรักหักพังของชาวสุเมเรียน อคาเดียน และบาบิโลน แสดงให้เห็นถึงการใช้ต้นปาล์มและใบปาล์มมุงหลังคา นอกจากนี้ ยังมีการพบบันทึกที่มีการใช้อินทผลัมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ นอกเหนือจากคุณค่าทางอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าอินทผลัมมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสดาอับราฮัม ซึ่งเกิดและเติบโตในเมืองอูร์อันเก่าแก่ซึ่งเป็นที่ปลูกอินทผาลัม

โดยในชาวยิวถือว่าวันที่นี้เป็นหนึ่งในผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งเจ็ดและใช้ในการเฉลิมฉลอง และในศาสสนาอิสลามมีการพูดถึงอินทผลัมมาที่สุด โดยในอัลกุรอานได้มีการกล่าวว่าศาสดามูฮัมหมัดกล่าวว่าทรัพย์สินที่ดีที่สุดคืออินทผาลัม ซึ่งอินทผลัมสามารถรักษาอาการผิดปกติได้หลายอย่าง และเขาได้เรียกร้องให้ชาวมุสลิมกินอินทผลัมและดูแลอินทผาลัม

ตามการบันทึกข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวว่าอินผลัมถือว่าเป็นพืชอุตสหกรรมการเกษตรที่มีผลผลิตราว 5.4 ล้านเมตริกตัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพื้นที่การเกษตรแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือซึ่งมีสภาพแวดล้อมแห้งแล้ง เป็นพืชที่ให้ผลไม้ในราคาสูง และกล่าวได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญในพื้นที่ทะเลทราย

การผลิตอินทผลัมมีการขยายตัวขึ้นในทุกปี ซึ่งผู้ที่ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ของโลกจะอยู่ในบริเวณตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ การกระจายพันธุ์ของอินทผลัมจะแยกตามประเทศ สำหรับประเทศผู้ที่ผลิตอินทผลัมเป็นหลัก โดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2542-2544 อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และอิรัก มีพื้นที่เก็บเกี่ยวเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ตัวเลขทางการค้าระบุว่าประมาณร้อยละ 93 ของอินทผลัมที่เก็บเกี่ยวนั้นถูกใช้ในท้องถิ่น และอินทผลัมเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่พันธุ์ส่งออกที่มีชื่อเสียง

ประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าอินทผลัมเป็นพืชดั้งเดิมของโลกเก่า (หมายถึงยุโรป แอฟริกา และเอเชีย) เพิ่งยุคหลังๆ นี้เองที่อินทผลัมถูกนำมาปลูกเป็นสวนเพาะพันธุ์สมัยใหม่ในสหรัฐอเมริกา อิสราเอล และประเทศแถบซีกโลกใต้

ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศผู้ผลิตอินทผลัมห้าอันดับแรก ได้แก่ อียิปต์ อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย ปากีสถาน และอิรัก คิดเป็นประมาณร้อยละ 69 ของการผลิตทั้งหมด หากรวมห้าประเทศที่สำคัญที่สุดในลำดับถัดไป เช่น แอลจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซูดาน โอมาน และโมร็อกโก เปอร์เซ็นต์นี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผลิตอินทผาลัมส่วนใหญ่ของโลกกระจุกตัวอยู่ในไม่กี่ประเทศ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน[5]

ประเทศผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ในปัจจุบัน และประโยชน์ของอินทผลัม แก้

ประเทศผู้ที่มีการมูลค่าผลิตทางการเกษตรที่มาหที่สุดในปี พ.ศ. 2566 คือ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ซึ่งมีมูลค่า6,099,301 พันเหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็น อิหร่าน อิรัก ตูนีเซีย และปากีสถานตาลัมดับ ดังแสดงตามตารางด้านล่างดังนี้[5]

ตารางแสดง 5อันดับประเทศที่มีมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของอินทผลัมที่มากที่สุดในปี พ.ศ.2566[6]
ประเทศ มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร (พันเหรียญสหรัฐ)
ซาอุดิอาราเบีย 6099301
อิหร่าน 5209784
อิรัก 617125
ตูนีเซีย 451322
ปากีสถาน 410953
ที่มา : FAOSTAT

นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาในหัวข้อก่อน ๆ ในปัจจุบันมีการวิจัยว่าสารในอินทผลัมมีประโยชน์ในหลากหลายด้าน โดยมีความมุ่งหวังไปในด้านที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง โดยมีรายงานว่าสารในอินทผลัมมีส่วนช่วย ดังนี้[4]

  • ป้องกัน UV
  • ลดโรคทางผิวหนัง
  • ป้องกันการถูกทำลายของผิว และช่วยในการรักษาแผล
  • ป้องกันการเกิดริ้วรอย
  • เป็นสารที่ช่วยในการชะลอวัย
  • รักษาโรคผิวหนัง
  • เป็นสาร Antioxidant และ Anti-inflammatory
  • เป็นสารที่สามารถช่วยในการทำความสะอาดได้
  • เพิ่มการงอกของผม และป้องกันการผมร่วง
  • ช่วยในการป้องกันการถูกทำลายของฟันและเล็บ

วิธีการเก็บเกี่ยว และการสกัด แก้

การเก็บเกี่ยวอินทผลัมในปัจจุบันต้องคำนึงถึงสายพันธุ์ และจุดประสงค์ในการบริโภค ความสุกของอินทผลัมจะถูกพิจารณาโดยดูจาก ผลย่อย ช่อผล และลำต้น ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตด้วยตา เช่น สีของผล ความสุก นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาโดยใช้ทางด้านเคมีเข้ามาช่วย เช่น ปริมาณน้้ำ น้ำตาล และเอนไซม์ภายในผล อินทผลัมสามารถแยกเก็บได้เป็น 3 ช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งการเก็บในแต่ละช่วง อาศัยการคำนึงทางด้าน สายพันธุ์ สภาพอากาศและความต้องการของตลาดเข้าร่วมด้วย

ซึ่ง 3 ช่วงการเจริญเติบโตจะถูกแยกดังนี้

  • Khalal: จะมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ แข็งและกรอบ มีความชื้น 50-85% มีสีเหลืองสดหรือสีแดง เน่าเสียได้ง่าย
  • Rutab: มีสีน้ำตาลบางส่วน มีความชื้น 30-45% มีเส้นใยที่นิ่ม เน่าเสียได้ง่าย
  • Tamar: จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีความชื้น 10-25% เนื้อสัมผัสมีตั้งแต่อ่อน ยืดหยุ่น ไปจนถึงแข็ง ป้องกันแมลงได้ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ

โดยทั่วไปเมื่ออินทผลัมถึงระยะ Khalal ก็ถือว่าพร้อมสำหรับการซื้อขายเป็นผลไม้ "สด" ซึ่งจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่มีแทนนินต่ำ เนื่องจากรสชาติที่ได้จะหวานไม่ฝาด ในระยะต่อมาคือ Rutab เนื่องจากมีการเน่าเสียได้ง่าย จึงจัดได้ว่าเป็นระยะที่ให้ราคาสูง เนื่องด้สยระบบการขนส่งที่ยากลำบาก และในระยะ Tamar ถือว่าเป็นระยะที่ให้ผลผลิตที่ไม่เน่าเสีย เนื่องจากผ่านกระบวนการทำให้แห้ง จึงกล่าวได้ว่าระยะนี้เป็นระยะที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการตลาดในรูปแบบอินทผาลัม "แห้ง" ซึ่งเหมาะในการเก็บรักษาและนำไปบริโภคได้ทั้งปี[5]

การเก็บเกี่ยวผลสด แก้

ในสมัยก่อนจะใช้คนในการเก็บเกี่ยว ดังนั้นเมื่อต้นยิ่งสูง การเก็บเกี่ยวจะยิ่งยาก ต้นทุนในการเก็บเกี่ยวจึงสูงขึ้นไปด้วย อาจมีการใช้บันไดเพื่อช่วยในการปีนขึ้นไปเก็บ หรือใช้ลิฟต์ในการยกคนขึ้นไปเก็บ ซึ่งการเก็บอินทผลัมต้องใช้แรงงานที่มีทักษะในการเก็บ ซึ่งการใช้แรงงานคนต้องใช้เวลาในการเก็บสูง และต้องเสียต้นทุนส่วนใหญ่ไปกับการจ้างคนมาเก็บผลผลิต ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเครื่องมือในการช่วยในการเก็บ เพื่อการลดต้นทุนทางด้านการเก็บเกี่ยว โดยมีการพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะสามาารถพิจารณาความพร้อมในการเก็บเกี่ยวของผล และช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต[7]

การสกัดน้ำยางในต้น แก้

โดยวิธีที่จะนำเสนอคือวิธีการแบบท้องถิ่น โดยที่จะมีการเอาใบออก และทำความสะอาดผิวหน้าที่จะทำการกรีด แล้วทำการปิดส่วยที่ทำการเฉือนออก ทำการใส่ท่อเข้าไปในลำต้น และทำการแขวนหม้อที่เอาไว้เก็บเกี่ยวเพื่อรองรับของเหลวที่จะออกมา ทำการเก็บ 2 ครั้ง/วัน โดยเปลี่ยนหม้อทุกๆครั้ง และมีการกรีดเพิ่มเล็กน้อย โดยน้ำที่ได้จะนำไปผ่านกระบวนการต่อ โดยการเติม phosphoric acid ลงไป และทำการกรอง[8]

การสกัดน้ำมันอินทผลัม แก้

ทำการเก็บเกี่ยวช่อผลของอินทผลัม และนำไปส่งโรงหมักภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้สารที่ไม่ต้องการเพิ่มจำนวน เช่นกรดไขมันอิสระ๖FFA) นำไปสกัดด้วยวิธีการทำเข้าเครื่องอัดบีบ โดยก่อนอื่นต้องทำการฆ่าเชื้อช่อผลด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 140 องศาสเซลเซียส เป็นเวลา 75-90นาที นอกจากจะทำให้สะอาดแล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่จะช่วยสรา้งน้ำมันอีกด้วย หลังจากนั้นจึงนำไปแยกผล และทำการปอกเปลือก และนำเข้าเครื่องบีบอีดต่อไป

น้ำมันดิบที่ได้จะถูกเก็บรักษาโดยการทำให้แห้ง และของเสียที่ได้จากกระบวนการนี้ ได้แก่ ทะลายปาล์ม และเส้นใย

คุณภาพน้ำมันปาล์มดิบที่มีคุณภาพดีที่สุดจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ FFA น้อยกว่า 5% โดยมีความชื้นน้อยกว่า 0.1% และเปอร์เซ็นต์ของสิ่งสกปรกไม่เกิน 0.01% [9]

รูปภาพของอินทผลัม แก้

Photo of the plant and leaves, flowers, fruit and/or seeds

การขยายพันธุ์ แก้

การขยายพันธุ์อินทผลัมสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

  1. จากการเพาะเม็ด
  2. จากการแยกหน่อจากต้นแม่
  3. จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเม็ด แก้

การขยายพันธุ์จากการเพาะเม็ด ปัจจุปันไม่เป็นที่นิยมใช้กันในเชิงพานิชย์เชิงฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่เพื่อผลิตผลที่มีคุณภาพ นิยมใช้วิธีนี้สำหรับขุดล้อมต้นขายเป็นปาล์มประดับมากกว่า

ข้อดี แก้

  • ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ เจริญเติบโตได้ดี

ข้อเสีย แก้

  • ไม่รู้เพศ ว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย อินทผลัมเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ การขยายพันธุ์จากการเพาะเม็ดจึงไม่สามารถ บอกได้ว่าต้นไหนเพศผู้ ต้นไหนเพศเมีย และโดยปกติอัตราส่วนต้นเพศผู้ต่อเพศเมีย อยู่ที่ประมาณ 50:50 จึงอาจจะทำให้ได้ต้นตัวผู้ที่มีมากเกินจำเป็นในสวน ต้นตัวผู้ที่เหมาะสมเพียงพอในสวนควรมีประมาณ 25% ก็เพียงพอ
  • ต้นที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันไป บางต้นอาจจะโตช้า โตเร็ว ผลโต ลักษณะทางกายภาพ จะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ขนาดผล สีสัน รสชาติ ฝาดมาก หวานมาก หวานน้อย จะไม่เหมือนกันทั้งหมด ควบคุมการให้ผลผลิตได้ยาก แต่ละต้นจึง ต้องตั้งชื่อเฉพาะของต้นนั้นๆ ซ้ำกันไม่ได้

ดังนั้นการปลูกด้วยวิธีนี้ จึงเหมาะกับการปลูกที่ลดต้นทุน และพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา ใช้เวลาในการปลูกกว่าจะให้ผลผลิต ประมาณ 3 ขึ้นไป

การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ แก้

การขยายพันธุ์จากการแยกหน่อปลูก เป็นการขยายพันธุ์ที่นิยมใช้กันมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน ทั้งการขยายแปลงปลูก การค้าต้นพันธุ์ อินทผลัมเมื่อต้นอายุ 2 ปีขึ้นไปจะเริ่มสร้างหน่อ แขนงขึ้นมา รอบๆต้น มี 2 ประเภท คือหน่อดิน และ หน่ออากาศ ทั้งสองประเภทสามารถแยกขยายไปปลูกต่อได้ คล้ายๆแยกหน่อกล้วย

ข้อดี แก้

  • หน่อที่แยกออกมาจะมีพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ทุกประการ ทั้งทางกายภาพ และ พันธุกรรม (เหมือนต้นแม่ทุกประการ )
  • รู้เพศชัดเจน หน่อที่แยกมาจากต้นแม่ที่เป็นเพศอะไร หน่อก็จะเป็นเพศนั้น
  • ผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น ชื้อพันธุ์สามารถใช้ชื่อเดียวกันได้ ควบคุมคุณภาพได้ง่าย
  • ให้ผลผลิตได้เร็ว เพราะหน่อที่แยกมาเป็นต้นที่โต พอสมควร เมื่อฟื้นตัวสมบูรณ์ จะสามารถให้ผลผลิตได้เลย

ข้อเสีย แก้

  • ราคาหน่อจะสูง ต้นทุนในการปลูกจะสูงตามไปด้วย เพราะหน่อที่ออกมามีจำนวนจำกัด ไม่พอเพียงกับความต้องการ
  • ต้องดูแลเอาใจใส่ในระยะแยกที่เพิ่งแยกหน่อมาปลูก เพราะจะเกิดเป็นเชื้อรา รากเน่าโคนเน่าได้ง่าย

การขยายพันธุ์ด้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แก้

การขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้หน่อจากต้นแม่พันธ์ พันธุ์แท้(พันธุ์ที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากล) มาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นกล้าคุณภาพขึ้นมาที่เป็นทางเลือกที่แก้ปัญหาจาก การเพาะเม็ด และ การแยกหน่อ เหมาะกับการขยายพันธุ์ เชิงคุณภาพได้อย่างดียิ่ง

ข้อดี แก้

  • ได้ต้นที่เกิดขึ้น พันธุกรรมจะเหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ (เหมือนการแยกหน่อ)
  • รู้เพศชัดเจน เป็นต้นเพศเมีย 100% ไม่มีการกลายพันธุ์
  • สายพันธุ์ที่ได้เป็นสายพันธุ์มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอยู่แล้ว
  • ผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น ชื้อพันธุ์สามารถใช้ชื่อเดียวกันได้ ควบคุมคุณภาพได้ง่าย

ข้อเสีย แก้

  • ราคายังคงสูงอยู่ในปัจจุบัน สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้วโดยโครงงานของนิสิตปริญญาเอกที่คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นแห่งแรกในประเทศไทย แต่ยังมีจำนวนไม่มาก และต้นกล้ายังไม่สูง จึงไม่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ได้

ประโยชน์ของอินทผลัม แก้

สามารถแบ่งได้ 2 ด้านใหญ่คือ

  1. ด้านคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของอินทผลัม เช่น แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไตล์ ทั้งยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยลดอาการท้องผูก รวมถึงให้พลังงานสูง บำรุงร่างกายที่อ่อนล้าให้กลับมีกำลัง นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ด้วย
  2. ด้านการรักษาโรค อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความหิว แก้กระหาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ ช่วยลดเสมหะในลำคอ ทำให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อโรค พยาธิและสารพิษที่ตกอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้อง

ในทางศาสนาอิสลาม แก้

ในทางศาสนาอิสลาม นบีมุฮัมมัด ศาสดาได้สอนว่า ผู้ใดที่จะลดศีลอดให้รับประทานอาหารมื้อแรกด้วยอินทผลัมและน้ำบริสุทธิ์ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์จำนวนมากต่อร่างกาย จึงเหมาะอย่างมากกับผู้ที่อดอาหารมาเป็นระยะเวลานาน

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้สะกดคำนี้ว่า อินทผลัม
  2. "Phoenix dactylifera L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Properties of Date Palm (Phoenix dactylifera), and Its Applications: A Review" https://www.researchgate.net/publication/362788837_Properties_of_Date_Palm_Phoenix_dactylifera_and_Its_Applications_A_Review
  4. 4.0 4.1 Alharbi, Khlood Lafi; Raman, Jegadeesh; Shin, Hyun-Jae (2021-09). "Date Fruit and Seed in Nutricosmetics". Cosmetics (ภาษาอังกฤษ). 8 (3): 59. doi:10.3390/cosmetics8030059. ISSN 2079-9284. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "Date Palm Cultivation". www.fao.org.
  6. "FAOSTAT". www.fao.org.
  7. "Date palm products. Chapter 5". www.fao.org.
  8. "A VISION SYSTEM FOR DATE HARVESTING ROBOT" https://www.researchgate.net/publication/352212974_A_VISION_SYSTEM_FOR_DATE_HARVESTING_ROBOT
  9. Mustapa, Ana Najwa. "Extraction of palm oil from palm mesocarp using sub-critical R134a". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

[1]

[2][3][4][5]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :7
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :3
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :5
  5. Mohammed, Naba Jasim; Othman, Norinsan Kamil; Al-Gburi, Ahmed Jamal Abdullah; Yusop, Rahimi M. (2023-01). "Date Palm Seed Extract for Mild Steel Corrosion Prevention in HCl Medium". Separations (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 54. doi:10.3390/separations10010054. ISSN 2297-8739. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)