ลิงบาบูนเหลือง

(เปลี่ยนทางจาก Papio cynocephalus)
ลิงบาบูนเหลือง[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Cercopithecidae
สกุล: Papio
สปีชีส์: P.  cynocephalus
ชื่อทวินาม
Papio cynocephalus
(Linnaeus, 1766)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ลิงบาบูนเหลือง (อังกฤษ: Yellow baboon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Papio cynocephalus) เป็นลิงจำพวกลิงบาบูนชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae)

มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับลิงบาบูนทั่วไป แต่มีรูปร่างเล็กและบอบบางกว่าลิงบาบูนชัคม่า (P. ursinus) และลิงบาบูนสีมะกอก (P. anubis) และมีส่วนปากที่ไม่ยื่นยาวออกมาเหมือน 2 ชนิดแรก ลิงบาบูนเหลืองมีขนตามลำตัวสั้นสีเทาอมเหลืองอันเป็นที่มาของชื่อ

มีน้ำหนักในตัวผู้ประมาณ 27–40 กิโลกรัม ตัวเมียประมาณ 14–17 กิโลกรัม ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 60–80 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 60–70 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 84 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–48 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 10–20 ปี และอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 30 ปี

พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา แทนซาเนีย ซิมบับเว และบอตสวานา มีพฤติกรรมและอุปนิสัยคล้ายกับลิงบาบูนชนิดอื่น ๆ คือ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในทุ่งหญ้าสะวันนา และป่าโปร่ง กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เช่น รากไม้ เมล็ดพืช ใบไม้ หญ้า ผลไม้ และสัตว์ขนาดเล็ก [3]

การจำแนก

แก้
 
ฝูงลิงบาบูนเหลืองที่อุทยานแห่งชาติซาโวตะวันออก

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย

  • Papio cynocephalus cynocephalus
  • Papio cynocephalus ibeanus (ลิงบาบูนลิเบียน)
  • Papio cynocephalus kindae (ลิงบาบูนคินดา)

อ้างอิง

แก้
  1. Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 166. ISBN 0-801-88221-4.
  2. Kingdon, J., Butynski, T. M. & De Jong, Y. (2008). Papio cynocephalus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
  3. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. ISBN 978-616-90508-0-3

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Papio cynocephalus ที่วิกิสปีชีส์