แกะ

(เปลี่ยนทางจาก Ovis)
แกะ
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Caprinae
สกุล: Ovis
สปีชีส์: O.  aries
ชื่อทวินาม
Ovis aries
Linnaeus, 1758
ลูกแกะที่สวนสัตว์พาต้า

แกะ เป็นสัตว์สี่เท้าเคี้ยวเอื้องและเลี้ยงลูกด้วยนม แกะเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนสัตว์กับเคี้ยวเอื้องส่วนใหญ่ แกะส่วนใหญ่เคยเป็นแกะป่าที่พบได้ตามป่าของเอเชียและยุโรป ซึ่งแกะป่าเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ที่นำมาทำให้เชื่องเพื่อใช้งานเกษตรกรรม ขน หนัง เนื้อและนม ขนแกะเป็นเส้นใยจากสัตว์ที่ผู้คนใช้มากที่สุด ส่วนมากจะเก็บขนแกะด้วยการโกนขน เนื้อแกะจะมีทั้งเนื้อของลูกแกะและเนื้อของตัวโตเต็มวัย กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม[1] แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว[2] ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม

ประเภทของแกะ แก้

แบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยแบ่งแยกตามกะโหลกศีรษะ มีอยู่เป็น 2 แบบ

  • กะโหลกแบบมีเขางอก เป็นแกะในจำพวกแกะภูเขา และแกะที่มีลักษณะขนสั้นแต่ใหญ่ เพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวตามธรรมชาติ
  • กะโหลกเล็กไม่มีเขางอก เป็นแกะบ้านเหมาะสำหรับการเลี้ยง เอาเนื้อ นม ขนไปใช้ มีหลากหลายพันธุ์ทั้งแบบขาวนวลและดำนวล โดยภายหลังมีการผสมได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ อีกมากมาย

อาหารและผลิตภันฑ์ แก้

แกะถูกนำมาเป็นอาหารตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในการใช้เนื้อในการรับประทาน หนังเอามาใช้การทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการพัฒนาการใช้งานของแกะในทางอุตสาหกรรม แฟชั่น และการบำรุงร่างกาย

ในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทยนั้นมีการเริ่มทดลองเลี้ยงแกะในภูมิภาคที่มีอากาศหนาวและมีพื้นที่ใกล้เคียงกับภูมิประเทศของออสเตรเลีย เช่น จังหวัดเชียงราย จังหวัดราชบุรี เป็นต้น[3] โดยเป็นการเลี้ยงในการท่องเที่ยวและตัดขนเป็นหลัก

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือ สัตว์รอบโลก
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-06.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-31.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้