เน็ลลี ซัคส์

กวีและนักเขียนบทละครเวทีชาวเยอรมัน-สวีเดนเชื้อสายยิว ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์และผู้ได้ร
(เปลี่ยนทางจาก Nelly Sachs)

เน็ลลี ซัคส์ (เยอรมัน: Nelly Sachs; 10 ธันวาคม ค.ศ. 1891 – 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนบทละครเวทีชาวเยอรมัน-สวีเดน ประสบการณ์ของเธอซึ่งเป็นผลมาจากการก่อกำเนิดของนาซีในทวีปยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เธอกลายเป็นผู้แถลงที่เจ็บปวดสำหรับความเศร้าโศกและความปรารถนาของเพื่อนชาวยิว บทละครเวทีที่เป็นที่รู้จักกันดีของเธอคือเอลี: ไอน์มีสเทรีนสเพียลฟ็อมไลเดินอิสราเอลส์ (ค.ศ. 1950) ส่วนผลงานอื่น ๆ ได้แก่ บทกวีอย่าง "อิมซันด์ไซเชิน" (ค.ศ. 1962), "เฟร์เซาเบรุง" (ค.ศ. 1970) ตลอดจนงานรวมบทกวีอย่างอินเดินโวฮนุนเงินเดสโทเดส (ค.ศ. 1947), ฟลุชท์อุนด์เฟร์วันด์ลุง (ค.ศ. 1959), แฟร์ทอินส์สเตาโบลเซ (ค.ศ. 1961) และซูเชนัคเลเบินเดิน (ค.ศ. 1971) ซึ่งเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1966

เน็ลลี ซัคส์
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1966
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1966
เกิดเลโอเนีย ซัคส์
10 ธันวาคม ค.ศ. 1891(1891-12-10)
เบอร์ลิน-เชอเนแบร์ก จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต12 พฤษภาคม ค.ศ. 1970(1970-05-12) (78 ปี)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
อาชีพกวี, นักเขียนบทละครเวที
สัญชาติเยอรมัน, สวีเดน
รางวัลสำคัญรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
(ค.ศ. 1966)
ดร็อสเท-ไพรซ์
(ค.ศ. 1960)

ลายมือชื่อ
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1910

ชีวิตและงานการ แก้

เน็ลลี ซัคส์ เกิดที่เบอร์ลิน-เชอเนแบร์ก ประเทศเยอรมนีเมื่อ ค.ศ. 1891 ในครอบครัวชาวยิว พ่อแม่ของเธอเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติและกัตตาเปอร์ชาที่ร่ำรวย ได้แก่ เกออร์ค วิลลิอัม ซัคส์ (ค.ศ. 1858–1930) และภรรยาของเขา มาร์กาเรเท นามสกุลเดิม คาร์เกร์ (ค.ศ. 1871–1950)[1] เธอได้รับการศึกษาที่บ้านเนื่องจากสุขภาพอ่อนแอ เธอแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นนักเต้นในช่วงแรก ๆ แต่พ่อแม่ที่ปกป้องเธอไม่สนับสนุนให้เธอประกอบอาชีพนี้ เธอเติบโตมาในฐานะหญิงสาวที่เก็บตัวมากและไม่เคยแต่งงาน เธอได้ติดตามการติดต่อทางจดหมายกับเพื่อนของเธอ เซลมา ลอเกร์เลิฟ[2] และฮิลเด โดมิน เมื่อพวกนาซีเข้ามามีอำนาจ เธอก็หวาดกลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งที่สูญเสียความสามารถในการพูด ดังที่เธอจำได้ในกลอน: "เมื่อความหวาดกลัวครั้งใหญ่มาถึง/ฉันเป็นใบ้" ซัคส์ได้หนีไปอยู่กับแม่ที่มีอายุมากในประเทศสวีเดนเมื่อ ค.ศ. 1940 ซึ่งนำไปสู่มิตรภาพของเธอกับลอเกร์เลิฟที่ได้ช่วยชีวิตพวกเขาไว้:[2] ไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิต ลอเกร์เลิฟได้เข้าแทรกแซงต่อราชวงศ์สวีเดนเพื่อให้พวกเขาได้รับการปล่อยตัวจากเยอรมนี ซัคส์และแม่ของเธอหลบหนีในเที่ยวบินสุดท้ายจากนาซีเยอรมนีไปยังสวีเดน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ซัคส์จะถูกกำหนดให้ไปรายงานตัวที่ค่ายกักกัน พวกเขาตั้งรกรากในประเทศสวีเดน และซัคส์ได้กลายเป็นพลเมืองสวีเดนใน ค.ศ. 1952

หมายเหตุ แก้

  1. เน็ลลี ซัคส์ ที่ Nobelprize.org  
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0

อ้างอิง แก้

อ่านเพิ่ม แก้

ภาษาอังกฤษ

  • Bower, Kathrin M. Ethics and remembrance in the poetry of Nelly Sachs and Rose Ausländer. Camden House, 2000. ISBN 978-1-57113-191-1
  • Barbara Wiedemann (ed.) Paul Celan, Nelly Sachs: Correspondence, trans. Christopher Clark. Sheep Meadow, 1998. ISBN 978-1-878818-71-3
  • Olsson, Anders. แม่แบบ:SKBL

ภาษาเยอรมัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้