บริการสุขภาพแห่งชาติ

(เปลี่ยนทางจาก National Health Service)

บริการสุขภาพแห่งชาติ (อังกฤษ: National Health Service) หรือ เอ็นเอชเอส (NHS) เป็นคำกว้าง ๆ ใช้เรียกระบบบริการสุขภาพที่รัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนในสหราชอาณาจักร นับตั้งแต่ปี 1948 ระบบเอ็นเอชเอสได้รับการอุดหนุนจากงบประมาณภาษี ปัจจุบันมีระบบสามระบบที่เรียกชื่อว่า "เอ็นเอชเอส" (เอ็นเอชเอส อังกฤษ, เอ็นเอชเอส สกอตแลนด์ และเอ็นเอชเอส เวลส์) ส่วนในไอร์แลนด์เหนือมีเอชเอสซี (HSC)[2] แต่ยังคงเรียกกันในท้องถิ่นว่า "เอ็นเอชเอส" ระบบทั้งสี่ตั้งขึ้นในปี 1948 เพื่อเป็นการปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลักการในการก่อตั้ง NHS คือการเป็นระบบสุขภาพที่ครอบคลุม เป็นสากล และไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการตามความจำเป็นทางการแพทย์ ไม่ใช่ตามอำนาจการจ่ายของบุคคล[3] แต่ละระบบให้บริการสุขภาพที่มีระดับไม่มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ยกเว้นเพียงบริการทันตกรรมและบริการโดยจักษุแพทย์[4] ในประเทศอังกฤษ ผู้ป่วยของเอ็นเอชเอสจะต้องจ่ายค่ายา ยกเว้นผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้ได้รับประโยชน์พิเศษจากรัฐบาล[5]

เอ็นเอชเอสในทั้งสี่ประเทศรวมกันว่าจ้างงานจำนวน 1.6 ล้านตำแหน่งในปี 2015–2016 ด้วยงบประมาณรวม 136,700 ล้านปอนด์[6] ในปี 2014 ผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 2,165,043 คน คิดเป็นอังกฤษ 1,789,586 คน, สกอตแลนด์ 198,368 คน, เวลส์ 110,292 คน และไอร์แลนด์เหนือ 66,797 คน[7] ในปี 2017 ในสหราชอาณาจักรมีพยาบาลขึ้นทะเบียนแล้วรวม 691,000 คน ลดลง 1,783 คนจากปีก่อน เป็นครั้งแรกที่จำนวนพยาบาลในระบบลดลงนับตั้งแต่ปี 2008 ทุก ๆ 24 ชั่วโมงจะมีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบหนึ่งล้านคน และด้วยจำนวนผู้ให้บริการ 1.7 ล้านคน เอ็นเอชเอสเป็นผู้จ้างงานที่ใหญ่ที่สุดอันดับห้าของโลก[8] และยังถือเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่ไม่ใช่ทางการทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก[9]

สำหรับการซื้อยา เอ็นเอชเอสทั้งสี่มีอำนาจทางตลาดที่สูงมากจนส่งผลต่อราคายาในระดับโลก และโดยทั่วไปแล้วจะพยายามคิดราคายาให้ต่ำ[10] ระบบการประเมินยาของสหราชอาณาจักรยังถูกนำไปประบใช้หรือนำไปใช้ในอีกหลายประเทศทั่วโลก[11]

ผู้มีสิทธิเข้ารับการรักษา

แก้

ทุกบุคคลที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรสามารถใช้บริการของเอ็นเอชเอสได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการเต็มจำนวน อย่างไรก็ตาม มีทันตกรรมเอ็นเอชเอส และบริการจักษุแพทย์ที่เรียกค่าบริการตามมาตรฐานที่ตั้งไว้แตกต่างกันไปตามสี่ระบบของสี่ประเทศ[12] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องจ่ายค่ายาเอง ยกเว้นเพียงบางส่วนเท่านั้น[5]

อะไนริน เบวัน เขียนเกี่ยวกับการครอบคลุมระบบเอ็นเอชเอสถึงผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศมายังสหราชอาณาจักรไว้ในปี 1952 ว่า "ดูจะเป็นการไม่ฉลาดและใจแคบที่จะสงวนบริการไม่เสียค่าใช้จ่ายนี้ไว้ไม่ให้ผู้เดินทางมาบริเตนได้รับบริการ เราจะแยกผู้เดินทางเข้ามาออกจากทุกคนอย่างไรเล่า? พบเมืองบริเตนทุกคนต้องพกบัตรประชาชนติดตัวไปตลอดทุกที่ที่ไป เพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ใช่ผู้เดินทางมาบริเตนงั้นหรือ? ถ้าจะแยกแพะกับแกะออกจากกัน ทั้งคู่ [ทั้งแพะและแกะ] ก็ต้องระบุตัวตนของตนเองไว้ด้วย ความพยายามที่เริ่มต้นเป็นการเก็บเอ็นเอชเอสไว้กับแค่พวกเรา ในภายหลังจะกลายมาเป็นเหตุรำคาญใจสำหรับทุก ๆ คนแทน"[13]

การขยายสิทธิรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไปยังบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองสหราชอาณาจักรถูกจำกัดอย่างมาก และมีข้อกำหนดควบคุมการเก็บค่าบริการสุขภาพของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศประกาศใช้ใหม่ในปี 2015[14]

อ้างอิง

แก้
  1. "NHS Identity Guidelines | NHS logo". www.england.nhs.uk. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.
  2. "Health funding in Northern Ireland - Northern Ireland Affairs Committee - House of Commons".
  3. Choices, NHS. "The principles and values of the NHS in England". www.nhs.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-11-23.
  4. "NHS entitlements: migrant health guide – Detailed guidance". UK Government. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  5. 5.0 5.1 "Who can get free prescriptions". NHS. 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  6. "10 truths about Britain's health service". Guardian. 18 January 2016. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.
  7. Cowper, Andy (23 May 2016). "Visible and valued: the way forward for the NHS's hidden army". Health Service Journal. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  8. Triggle, Nick (2018-05-24). "10 charts that show why the NHS is in trouble" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
  9. Tombs, Robert (2014). The English and Their History. Vintage Books. p. 864.
  10. "The UK has much to fear from a US trade agreement". www.newstatesman.com (ภาษาอังกฤษ). 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
  11. "US takes aim at the UK's National Health Service". POLITICO. 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
  12. Kilic Y, Korolewicz J, Stein A. What is the NHS? [ลิงก์เสีย]
  13. Bevan, Aneurin (1952). In Place of Fear. สืบค้นเมื่อ 2 April 2018.
  14. "Guidance on overseas visitors hospital charging regulations". UK Government. 6 April 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016. Links to many relevant documents: Guidance on implementing the overseas visitor hospital charging regulations 2015; Ways in which people can be lawfully resident in the UK; Summary of changes made to the way the NHS charges overseas visitors for NHS hospital care; Biometric residence permits: overseas applicant and sponsor information; Information sharing with the Home Office: guidance for overseas patients; Overseas chargeable patients, NHS debt and immigration rules: guidance on administration and data sharing; Ordinary residence tool; and documents on Equality analysis.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้