สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย)

(เปลี่ยนทางจาก National Council (Austria))

สภาแห่งชาติ (เยอรมัน: Nationalrat, อังกฤษ: National Council) เป็นหนึ่งในสองสภาของรัฐสภาออสเตรียและมักจะถูกจำกัดความว่าเป็นสภาล่างของประเทศออสเตรีย โดยมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมากกว่าสภาแห่งสหพันธ์

สภาแห่งชาติ

Nationalrat
สมัยที่ 27
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาออสเตรีย
ประวัติ
ก่อตั้ง10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 (1920-11-10)
ก่อนหน้าสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้บริหาร
โวล์ฟกัง โซบอทกา, ÖVP
ตั้งแต่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2017
ดอริส บูเรส, SPÖ
ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
นอร์เบิร์ท โฮเฟอร์, FPÖ
ตั้งแต่ 23 ตุลาคน ค.ศ. 2019
โครงสร้าง
สมาชิก183 คน
กลุ่มการเมืองใน
สภาแห่งชาติ
ฝ่ายรัฐบาล (97)
  •   ÖVP (71)
  •   Greens (26)

ฝ่ายค้าน (86)

การเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ
ระบบสัดส่วน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติครั้งล่าสุด
29 กันยายน ค.ศ. 2019
ที่ประชุม
ปีกเรอดอเท็น
พระราชวังโฮฟบวร์ค
กรุงเวียนนา  ออสเตรีย
เว็บไซต์
parlament.gv.at

สภาแห่งชาติเป็นสภานิติบัญญัติในระดับสหพันธ์ของออสเตรีย ซึ่งการผ่านกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในระดับสหพันธ์จะต้องผ่านจากสภาแห่งชาติก่อน โดยจะส่งต่อให้สภาแห่งสหพันธ์เพื่อยืนยันมติ โดยหลังจากผ่านการลงมติในสภาแห่งสหพันธ์หรือหากไม่ทำการพิจารณาภายในแปดสัปดาห์จะถือว่าร่างกฎหมายนี้บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ หากในกรณีสภาแห่งสหพันธ์ใช้สิทธิยับยั้งร่างกฎหมายนี้ สภาแห่งชาติสามารถยังบังคับใช้ให้เป็นกฎหมายได้โดยการลงมติซ้ำเพื่อผ่านร่างกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยจำเป็นต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่าปกติ จึงหมายความได้ว่าสภาแห่งสหพันธ์ไม่มีอำนาจจริงในการระงับยับยั้งการนิติบัญญัติเนื่องจากสภาแห่งชาติสามารถลงมติซ้ำเพื่อบังคับใช้ได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสามกรณี[1]

  • กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆ ที่จำกัดอำนาจหน้าที่ของรัฐในสหพันธ์
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆ ของสภาแห่งสหพันธ์
  • สนธิสัญญาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตอำนาจของรัฐในสหพันธ์

การรับรองของสภาแห่งชาติเป็นสิ่งที่จำเป็นในการใช้เอกสิทธิของการประชุมร่วมรัฐสภา ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวเพื่อการลงประชามติเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือการเคลื่อนไหวเพื่อการประกาศสงครามซึ่งจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากพิเศษถึงสองในสามในสภาแห่งชาติ มีเพียงกรณีเดียวที่สภาแห่งสหพันธ์สามารถเคลื่อนไหวได้คือการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง[2]


อ้างอิง

แก้
  1. "The Responsibilities of the Federal Council – The Federal Council's Right of Objection". Website of the Austrian Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  2. "Federal Assembly - Responsibilities and Legal Principles". parlament.gv.at. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2009. สืบค้นเมื่อ 18 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้