เลี่ยน

(เปลี่ยนทางจาก Melia azedarach)
เลี่ยน
ใบ ดอกและผล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Meliaceae
สกุล: Melia
สปีชีส์: M.  azedarach
ชื่อทวินาม
Melia azedarach
L.[1]
ชื่อพ้อง

Melia australis Sweet
Melia candollei Sw.
Melia japonica G.Don
Melia sempervirens Sw.

เลี่ยน ชื่อวิทยาศาสตร์: Melia azedarach อยู่ในวงศ์ Meliaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบประกอบ ท้องใบสีเข้มกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก กลีบเรียวยาวสีม่วง ดอกช่อ ผลกลมขนาดเท่าลูกสะเดา เปลือกต้น ดอกและผล ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง อาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ ชัก เป็นอัมพาตได้โดยเฉพาะในเด็ก

การใช้งาน แก้

การใช้งานหลักของพืชชนิดนี้คือการป่าไม้ มีความหนาแน่นปานกลาง สีเป็นสีน้ำตาลอ่อนจนถึงแดงเข้ม ซึ่งมักจะสับสนกับเนื้อไม้ของสัก (Tectona grandis) แต่เมื่อเทียบกับมะฮอกกานี เนื้อไม้ของเลี่ยนทำให้แห้งง่าย ไม่มีการห่อตัวของเนื้อไม้ ทนทานต่อเชื้อรา ใบไม่มีรสขมเท่าสะเดา

เมล็ดแข็ง มีห้าแฉก ใช้ทำลูกประคำหรือลูกปัด กิ่งที่ตัดออกไปและมีผลติดอยู่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ นกฮัมมิงเบิร์ดบางชนิด เช่น Amazilia lactea Chlorostilbon lucidus และ Phaethornis pretrei ช่วยผสมเกสรของพืชชนิดนี้ [2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] ในเคนยาปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ นำใบให้สัตว์เลี้ยงจำพวกวัวกินเพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำนม[3]

ความเป็นพิษ แก้

ผลเป็นพิษต่อมนุษย์เมื่อรับประทานในปริมาณหนึ่ง [4][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] แต่เป็นพิษของมันไม่เป็นอันตรายกับนก นกจึงกินผลและช่วยกระจายเมล็ดได้ สารพิษนั้นเป็นพิษต่อระบบประสาทและเรซินที่ไม่ได้จำแนกชนิด ส่วนใหญ่พบในผล อาการจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการย่อย อาการได้แก่ กระหายน้ำ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย อุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง หายใจขัด หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง มีสารเคมีที่คล้ายอาซาดิเรซติน ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันสะเดา สารเหล่านี้อาจทำให้เนื้อไม้และเมล็ดทนทานต่อศัตรูพืช ใบใช้เป็นสารกำจัดแมลง มักจะไม่รับประทานเพราะเป็นพิษ สารละลายเจือจางของใบเคยใช้เป็นยาทำให้มดลูกคลายตัว

พืชรุกราน แก้

พืชชนิดนี้เป็นพืชรุกรานในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา [5][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] นอกจากปัญหาเรื่องความเป็นพิษแล้ว พืชนี้เป็นประโยชน์ในการให้ร่มเงาในสหรัฐ

อ้างอิง แก้

  1. Linneas, C. (1753)
  2. Baza Mendonça & dos Anjos (2005)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2017-02-08.
  4. Russell et al. (1997)
  5. Langeland & Burks