มาณิกกวาจกรร
มาณิกกวาจกรร (มาณิกฺกวาจกรฺ [มาณิกกะวาจะกรร], ทมิฬ: மாணிக்கவாசகர், อักษรโรมัน: Māṇikkavācakar, แปลตรงตัว 'ผู้มีวาจาประดุจมณี')[1] เป็นสันตะและกวีชาวทมิฬในสมัยศตวรรษที่ 9 ผู้ประพันธ์บทสวดบูชาพระศิวะ ติรุวสกัม, ติรุกโกไวยรร, ติรุเวมปาไว และเชื่อกันว่าอาจเป็นขุนนางในราชสำนักของกษัตริย์ปาณฑยะ วรคุณวรมันที่สอง (ครองราชย์ปี 862–885)[1]
มาณิกฺกวาจกรฺ | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ติรุวาตวูรฏิกัฬ ติรุวาตวูร |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
ปรัชญา | ลัทธิไศวะ, ภักติ |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
งานเขียน | ติรุวสกัม, ติรุกโกไวยรร, ติรุเวมปาไว |
เกียรติยศ | นาฬวาร์ |
มาณิกกวาจกรรได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในองค์สี่นาฬวาร์ ซึ่งเป็นสี่สันตะองค์สำคัญของลัทธิไศวะ อีกสามองค์ได้แก่นายันมาร์อัปปาร์, สุนทรรร และ สัมพันธรร[2] โดยสามองค์หลังประพันธ์เจ็ดเล่มแรก (เตวารัม) ของติรุมุไรความยาวสิบสองเล่ม ซึ่งเป็นวรรณกรรมสำคัญของไศวะสิทธานตะ ส่วน ติรุวสกัม และ ติรุกโกไวยรร ของมาณิกกวาจกรรเป็นเล่มที่แปด แปดเล่มแรกนี้รวมกันถือว่าเป็นพระเวททมิฬในนิกายไศวะ[3]
งานประพันธ์ของมาณิกกวาจกรรมีลักษณะโดดเด่นที่การแสดงออกซึ่งความเศร้าหมองกลัดกลุ้มจากการต้องแยกห่างจากพระเจ้า และความสุขอัศจรรย์จากการได้สัมผัสถึงพระเจ้า[3]: 48 และความเร่าร้อนทางศาสนาอย่างเหลือล้น[4] ในงานประพันธ์เหล่านี้ยังมีการเขียนแสดงความักคุ้นกับพระเจ้า ลักษณะซึ่งปรากฏเช่นกันในยุคภักติ ผ่านการเขียนถึงพระเจ้าว่าเป็น "เจ้าบ่าวจากสวรรค์"[5] หรือ นิตยมณวาฬาร์ (Nityamanavaalar; "เจ้าบ่าวนิรันดร์")[6] ที่ซึ่งประสงค์ยิ่งที่จะได้รวมกันเป็นหนึ่งผ่าน "การสมรส"[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Mukherjee, Sujit (1998). A dictionary of Indian literature. Hyderabad: Orient Longman. p. 224. ISBN 9788125014539. สืบค้นเมื่อ 4 June 2022.
- ↑ Verma, Rajeev (2009). Faith & philosophy of Hinduism. Delhi, India: Kalpaz Publications. p. 153. ISBN 9788178357188.
- ↑ 3.0 3.1 Ponnaiah, V. Dr (1952). The Saiva Siddhanta - Theory of Knowledge. Annamalainagar: Annamalai University. p. 43. สืบค้นเมื่อ 4 June 2022.
- ↑ Subramanian, V. K. (2006). 101 mystics of India. New Delhi: Abhinav Publications. p. 57. ISBN 9788170174714.
- ↑ Singh, Upinder (2008). A history of ancient and early medieval India : from the Stone Age to the 12th century. New Delhi: Pearson Education. p. 617. ISBN 9788131711200.
- ↑ Vanmikanathan, G (1985). Periya Puranam - A Tamil classic of the great Saiva saints of South India. Chennai: Sri Ramakrishna Math. p. 50. ISBN 9788171205196. สืบค้นเมื่อ 4 June 2022.
- ↑ Sadarangani, Neeti M. (2004). Bhakti Poetry in Medieval India: Its Inception, Cultural Encounter and Impact (ภาษาอังกฤษ). Sarup & Sons. p. 17. ISBN 978-81-7625-436-6.