ลิงลมชวา
ลิงลมชวา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Lorisidae |
สกุล: | Nycticebus |
สปีชีส์: | N. javanicus |
ชื่อทวินาม | |
Nycticebus javanicus É. Geoffroy, 1812 | |
แผนที่กระจายพันธุ์ของลิงลมชวา | |
ชื่อพ้อง[4] | |
ลิงลมชวา (อังกฤษ: Java slow loris; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nycticebus javanicus) เป็นไพรเมตจำพวกลิงลมชนิดหนึ่ง เดิมเคยถือเป็นชนิดย่อยของลิงลมใต้ (N. coucang) เป็นเวลาหลายปี โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า N. coucang javanicus [3] จนการประเมินอีกครั้งของสัณฐานวิทยาและพันธุศาสตร์ในปี ค.ศ. 2000 จึงถูกจัดออกให้เป็นชนิดต่างหาก โดยเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับลิงลมใต้และลิงลมเหนือ (N. bengalensis) โดยมีความแตกต่างกันที่ความยาวและสีขน
ลิงลมชวา จะพบอาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบของเกาะชวา ในอินโดนีเซียเท่านั้น มีน้ำหนักระหว่าง 565 ถึง 687 กรัม (1.246 และ 1.515 ปอนด์)[5] มีขนสีเหลืองเทา ในด้านตรงข้ามกับส่วนหัว, คอ และไหล่เป็นสีครีม เช่นเดียวกับลิงลมบอร์เนียว (N. menagensis) โดยไม่มีฟันหน้าสองซี่[6]
ลิงลมชวา เหมือนกับลิงลมชนิดอื่น ๆ คือ เป็นสัตว์ที่มีลิ้น 2 ลิ้น คือ ลิ้นสั้น กับ ลิ้นยาว ใช้ประโยชน์ในการกินอาหารแตกต่างกัน รวมถึงมีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะพิเศษที่สามารถบิดตัวได้คล้ายงูอีกด้วย จึงใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสภาพของขนและสียังสามารถแฝงตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติได้ด้วย ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนการเช่นนี้มานานกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว [7]
เป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินในเวลากลางคืนโดยลำพัง ปกติจะเคลื่อนไหวเชื่องช้า แต่จะรวดเร็วมากเมื่อเวลาจับอาหาร โดยกินแมลง และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ บนต้นไม้เป็นอาหารหลัก และมีผลไม้หรือลูกไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารรอง รวมถึงสามารถจับสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง นก หรือ ค้างคาว กินได้ด้วย โดยมีกระดูกสันหลังแบบพิเศษ และมีมือที่เก็บซ่อนนิ้วเพื่อให้จับเหยื่อและเคลื่อนที่ไปทั่วได้โดยไม่เป็นที่สังเกต นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีพิษที่มีสภาพคล้ายน้ำมันที่ซ่อนอยู่ในข้อศอก มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ ลิงลมชวาจะใช้ผสมกับน้ำลายเมื่อกัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงจำพวกเดียวที่มีพิษ พิษนี้มีความร้ายแรงถึงขนาดมีมนุษย์เสียชีวิตมาแล้ว[7]
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการมีพิษนี้ แต่พิษนี้ใช้ประโยชน์ได้ในการล่าเหยื่อ หรืออาจจะใช้ประโยชน์ในการกำจัดปรสิตตามตัว เพราะลิงลมจะไม่มีเห็บหรือหมัดตามตัวเหมือนสัตว์ในอันดับไพรเมตจำพวกอื่น สันนิษฐานว่าลิงลมชวาอาจจะได้พิษนี้มาจากแมลงหรือแมงมีพิษจำพวกต่าง ๆ ที่กินเป็นอาหาร เช่น มด และกิ้งกือ ซึ่งเป็นอาหารโปรดของลิงลม เพราะพบพิษลักษณะเดียวกันนี้ในมดและกิ้งกือ อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้อีกว่า มีพิษไว้สำหรับสู้กับลิงลมชวาเพศเดียวกันตัวอื่น โดยเฉพาะตัวผู้ เพื่อประกาศอาณาเขตและแย่งชิงคู่ครอง เพราะลิงลมชวาจะต่อสู้กันเองด้วยการกัดและเหวี่ยงอย่างรุนแรง ซึ่งอาจบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นตายได้[7]
ลิงลมชวา จัดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ โดยจัดเป็นลิงลมชนิดที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ที่สุด จากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง มีมูลค่าการซื้อขายที่สูงและเป็นที่นิยมมากในตลาดค้าสัตว์ป่าหรือตลาดมืด โดยผู้ขายมักจะตัดเขี้ยวของลิงลมชวาออกเพื่อไม่ให้ไปกัดผู้เลี้ยง ด้วยกรรไกรตัดเล็บหรือคีม ซึ่งทำให้ลิงลมชวาได้รับบาดเจ็บอาจถึงตายได้[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nekaris, K.A.I. , Shekelle, M.; Wirdateti, Rode-Margono, E.J.; Nijman, V. (2020). "Nycticebus javanicus". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T39761A204495100. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-2.RLTS.T39761A204495100.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Appendices I, II and III" (PDF). Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES). 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-24.
- ↑ 3.0 3.1 "Nycticebus javanicus É. Geoffroy Saint-Hilaire, 1812". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ Thomas, O. (1921). "Two new species of slow-loris". Annals and Magazine of Natural History. 9. 8: 627–628. doi:10.1080/00222932108632631.
- ↑ Nekaris, K.A.I.; Jaffe, S. (2007). "Unexpected diversity of slow lorises (Nycticebus spp.) within the Javan pet trade: implications for slow loris taxonomy". Contributions to Zoology. 76 (3): 187–196. doi:10.1163/18759866-07603004. S2CID 45718454. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
- ↑ Groves, Colin P. (1971). "Systematics of the genus Nycticebus". Proceedings of the Third International Congress of Primatology 1. Zürich, Switzerland. pp. 44–53.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "จอมซนแห่งเกาะชวา". ไทยพีบีเอส. 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ "ยังไม่ทันได้รู้จักก็จะสูญพันธุ์เสียแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nycticebus javanicus ที่วิกิสปีชีส์