กฤษณชนมาษฏมี

(เปลี่ยนทางจาก Janmashtami)

กฤษณชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Krishna Janmashtami) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Janmashtami) หรือ โคกุลาษฏมี (อักษรโรมัน: Gokulashtami) เป็นเทศกาลประจำปีในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองประสูติกาลของพระกฤษณะ อวตารปางที่แปดของพระวิษณุ[1] วันที่ของกฤษณชนมาษฏมีตรงกับในปฏิทินฮินดู ในวันที่แปด (อัษฏมี) ของกฤษณปักษ์ (ปักษ์มืด) ในศราวน หรือภัทรปัท (ขึ้นอยู่กับปฏิทิน) ซึ่งตรงกับช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[1]

กฤษณชนมาษฏมี
เทวรูปแสดงพระกฤษณะครั้นเยาว์
ชื่ออื่นกฤษณาษฏมี, SaatamAatham, โคกุลาษฏมี, ยทุกุลาษฏมี, ศรีกฤษณชยันตี, ศรีชยันตี
จัดขึ้นโดยชาวฮินดู
ประเภทในทางศาสนา (1–2 วัน), ในทางวัฒนธรรม
การเฉลิมฉลองทหิหันที (วันถัดมา), เล่นว่าว, งานเทศกาล, อดอาหาร, ขนมหวานพื้นบ้าน ฯลฯ
การถือปฏิบัติการแสดงดนตรี, พิธีบูชา, การเฝ้ายามนามค่ำคืน, อดอาหาร
วันที่26 สิงหาคม 2567

กฤษณชนมาษฏมีถือเป็นเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลัทธิไวษณพของศาสนาฮินดู[2] ระหว่างเทศกาลมีการแสดงร่ายรำประกอบดนตรีแสดงถึงพระชนมชีพของพระกฤษณะตามที่ระบุไว้ใน ภาควตปุราณะ (เช่น รสลีลา หรือ กฤษณลีลา), การขับร้องบทสรรเสริญในช่วงเที่ยงคืน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกาลประสูติของพระศิวะ, อดอาหาร (อุปวส; upavasa), การเฝ้ายามยามค่ำคืน (ราตรี ชครัน; Jagaran), และเทศกาล (มโหตสว; Mahotsav) ในวันถัดไป[3] ชนมาษฏมีเป็นที่ฉลองกันมากเป็นพิเศษในมถุรา และ วฤนทาวัน และในประเทศอินเดีย[1][4]

ถัดจากเทศกาลชนมาษฏมีคือเทศกาลนันโทตสว (Nandotsav) ที่ซึ่งเฉลิมฉลองเหตุการณ์เมื่อนันทะ บาบา ได้แจกจ่ายของขวัญไปทั่วแก่ชุมชนเพื่อเป็นเกียรติแห่งประสูติกาล[5]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 314–315. ISBN 978-0823931798.
  2. J. Gordon Melton (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 396. ISBN 978-1-59884-205-0.
  3. Edwin Francis Bryant (2007). Sri Krishna: A Sourcebook. Oxford University Press. pp. 224–225, 538–539. ISBN 978-0-19-803400-1.
  4. "In Pictures: People Celebrating Janmashtami in India". สืบค้นเมื่อ 10 August 2012.
  5. Cynthia Packert (2010). The Art of Loving Krishna: Ornamentation and Devotion. Indiana University Press. p. 169. ISBN 978-0-253-00462-8.

บรรณานุกรม

แก้