อักษรตัวต้นประดิษฐ์

(เปลี่ยนทางจาก Historiated initial)

อักษรตัวต้นประดิษฐ์[1] (อังกฤษ: Historiated initial หรือ Inhabited initial) เป็นอักษรตัวแรกของย่อหน้าหรือบางส่วนของบทเขียนที่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรตัวที่ตามมาที่จะประกอบด้วยภาพตกแต่ง ส่วนความหมายที่เฉพาะเจาะจงของ “อักษรตัวต้นตกแต่ง” (อังกฤษ: Inhabited initial) ที่ตกแต่งด้วยรูปลักษณ์ของคนหรือสัตว์จะใช้ในการตกแต่งเท่านั้นโดยไม่มีเนื้อหาเช่น “อักษรตัวต้นประดิษฐ์” อักษรดังกล่าวพบเป็นครั้งแรกในศิลปะเกาะเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8[2] ตัวอย่างของงานแรกที่ใช้อักษรตัวต้นประดิษฐ์พบใน “หนังสือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบีด” ซึ่งเป็นหนังสือต้นฉบับศิลปะเกาะที่เขียนขึ้นระหว่างราวปี ค.ศ. 731 ถึงปี ค.ศ. 746

อักษรตัวต้นประดิษฐ์
Historiated initial

อักษรตัวต้นประดิษฐ์ที่เก่าที่สุดเท่าที่ทราบจาก “หนังสือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบีด”, คริสต์ศตวรรษที่ 8

อักษรตัวต้นที่นิยมเขียนกันจะเป็น “สีแดงและน้ำเงิน โดยสีทั้งสองจะแผ่ออกไปตกแต่งถึงขอบหนังสือ โดยการเขียนด้วยปากกาและตกแต่งอย่างวิจิตรตามธรรมเนียมนิยมของสมัย”[3] นอกจากนั้นขนาดและการตกแต่งก็ยังเป็นเครื่องแสดงความสำคัญและสถานที่ที่สร้างหนังสืออีกด้วย อักษรตัวต้นที่เริ่มตอนใหม่ของหนังสือ โดยเฉพาะตอนสำคัญอาจจะใช้เนื้อที่มากกว่าปกติและตกแต่งด้วยความบรรจงกว่าปกติ ในหนังสือที่หรูหราก็อาจจะตกแต่งด้วยอักษรตัวต้นประดิษฐ์ทั้งหน้าก็ได้[4] ทั้งขนาดและความอลังการของหนังสือสะท้อนให้เห็นถึงฐานะของหนังสือเองและผู้เป็นเจ้าของ หนังสือที่สำหรับใช้ประจำวัน หรือใช้โดยนักบวช หรือใช้โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมักจะมีการตกแต่งเพียงเล็กน้อย และแทบจะไม่มีการใช้อักษรตัวต้นประดิษฐ์ แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ได้รับการสั่งให้ทำโดยผู้จ้างผู้มีฐานะดี หรือสำหรับสำนักสงฆ์สำคัญ ก็จะได้รับการตกแต่งอย่างหรูหราด้วยภาพที่เขียนประดับด้วยทองหรือเงิน วัสดุที่ใช้ในการเขียนภาพก็แตกต่างกันออกไป บางครั้งก็จะเป็นเพียงการตกแต่งด้วยทองหรือเงินเท่านั้น แต่บางครั้งก็จะเพิ่มเติมด้วยวัสดุที่หายากเช่นสีน้ำเงินจากหินลาพิส ลาซูไล หรือสีม่วง หนังสือที่ตกแต่งด้วยวัสดุดังกล่าวมักจะเป็นของผู้เป็นนักสะสมหรือขุนนาง แต่ถ้าแต่งด้วยสีแดง, ดำ หรือหมึกสีน้ำเงินก็จะเป็นหนังสือที่ใช้กันโดยทั่วไป

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  2. "Glossary: Medieval Manuscript Terms". LeavesofGold.org. Philadelphia Museum of Art. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  3. Clemens & Graham (2007), p. 27.
  4. Clemens & Graham (2007), p. 29.
  • Clemens, Raymond; Graham, Timothy (2007). Introduction to Manuscript Studies. Ithaca: Cornell University Press. ISBN 9780801438639.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Butterfield, Ardis (2003). "Articulating the Author: Gower and the French Vernacular Codex". The Yearbook of English Studies. Leeds, UK: Modern Humanities Research Association. 33: 80–96. OCLC 479737930.
  • Echard, Siân (2008). Printing the Middle Ages. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. ISBN 9780812240917.
  • Echard, Siân; Partridge, Stephen (2004). The Book Unbound: Editing and Reading Medieval Manuscripts and Texts. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 9780802087560.
  • Ritzenthaler, Mary Lynn (2010). Preserving Archives and Manuscripts (2nd ed.). Chicago: Society of American Archivists. ISBN 9781931666329.
  • Smith, Margaret M (1994). "The Design Relationship between the Manuscript and the Incunable". ใน Myers, Robin; Harris, Michael (eds.) (บ.ก.). A Millennium of the Book: Production, Design & Illustration in Manuscript & Print, 900-1900. Winchester: St Paul's Bibliographies. pp. 23–43. ISBN 9781873040256. {{cite book}}: |editor2-first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อักษรตัวต้นประดิษฐ์