นิกายในศาสนาฮินดู

(เปลี่ยนทางจาก Hindu denominations)

นิกายในศาสนาฮินดู คือประเพณีในศาสนาฮินดู ที่มีการนับถือเทพเจ้าหนึ่งพระองค์หรือมากกว่าเป็นหลัก เช่น พระศิวะ, พระวิษณุ และ พระพรหม[1][2]

ปัญจเทวะ คือเทพเจ้าทั้ง 5 ที่ได้รับการบูชาพร้อมกันในลัทธิสมารตะ

ศาสนาฮินดูไม่มีหลักคำสอนหลักกลาง ในขณะเดียวกันชาวฮินดูเองจำนวนมากก็ไม่ได้อ้างว่าเป็นของนิกายหรือประเพณีใด ๆ [3] อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาเชิงวิชาการนิยมแบ่งออกเป็น 4 นิกายหลัก ได้แก่ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และ ลัทธิสมารตะ[1][4][5] นิกายต่าง ๆ นี้แตกต่างกันที่องค์เทพเจ้าที่บูชาเป็นหลักหรือเป็นศูนย์กลางของนิกายนั้น[6] ลักษณะสำคัญของนิกายในศาสนาฮินดูคือไม่ปฏิเสธแนวคิดอื่น ๆ นอกนิกาย การยกย่องสรรเสริญเทพเจ้าอื่นนอกนิกาย และบ่อยครั้งที่ร่วมเฉลิมฉลองกับนิกายอื่น ๆ อย่างเท่ากันในลักษณะแบบอติเทวนิยม[7] Julius J. Lipner ได้ระบุไว้ว่าการแบ่งนิกายของศาสนาฮินดูนั้นแตกต่างจากในศาสนาหลักอื่น ๆ ของโลก เพราะนิกายของศาสนาฮินดูนั้นคลุมเครือกับการฝึกฝนของบุคคลมากกว่า เป็นที่มาของคำว่า "Hindu polycentrism" (หลากหลายนิยมฮินดู, ฮินดูตามท้องถิ่น)[8]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Lance Nelson (2007), An Introductory Dictionary of Theology and Religious Studies (Editors: Orlando O. Espín, James B. Nickoloff), Liturgical Press, ISBN 978-0814658567, pages 562–563
  2. Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7, pages 377, 398
  3. Werner 1994, p. 73
  4. Flood 1996, p. 113, 134, 155–161, 167–168.
  5. Nath 2001, p. 31.
  6. SS Kumar (2010), Bhakti – the Yoga of Love, LIT Verlag Münster, ISBN 978-3643501301, pages 35–36
  7. George Lundskow (2008). The Sociology of Religion: A Substantive and Transdisciplinary Approach. SAGE Publications. pp. 252–253. ISBN 978-1-4522-4518-8.
  8. Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7, pages 371–375