กรู ฮาเล็ม บรึนต์ลันน์

(เปลี่ยนทางจาก Gro Harlem Brundtland)

กรู ฮาเล็ม บรึนต์ลันน์ (นอร์เวย์: Gro Harlem Brundtland, ออกเสียง: [ˈɡruː ˈhɑ̀ːlɛm ˈbrʉ̀ntlɑnː] ( ฟังเสียง); ชื่อเมื่อเกิด กรู ฮาเล็ม; Gro Harlem, 20 เมษายน 1939) เป็นนักการเมืองชาวนอร์เวย์ อดีตนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์สามสมัย (1981, 1986–1989 และ 1990–1996) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกจากปี 1998 ถึง 2003 ประธานคณะกรรมการบรึนต์ลันน์ผู้ทำรายงานบรึนต์ลันน์เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรู ฮาเล็ม บรึนต์ลันน์
กรู ฮาเล็ม บรึนต์ลันน์ เมื่อกุมภาพันธ์ 2011
นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน 1990 – 25 ตุลาคม 1996
กษัตริย์โอลาฟที่ห้า
ฮาราด์ที่ห้า
ก่อนหน้าจาน พี. ซายส์
ถัดไปธอร์บยอร์น ยาคลานด์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤษภาคม 1986 – 16 ตุลาคม 1989
กษัตริย์โอลาฟที่ห้า
ก่อนหน้าKåre Willoch
ถัดไปJan P. Syse
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ 1981 – 14 ตุลาคม 1981
กษัตริย์โอลาฟที่ห้า
ก่อนหน้าOdvar Nordli
ถัดไปKåre Willoch
อธิบดีองค์การอนามัยโลก คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม 1998 – 21 กรกฎาคม 2003
Secretary-Generalโกฟี อานนาน
ก่อนหน้าฮิโรชิ นากาจิมะ
ถัดไปลี จงวุก
หัวหน้าพรรคแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
1981–1992
ก่อนหน้าReiulf Steen
ถัดไปThorbjørn Jagland
รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน 1974 – 8 ตุลาคม 1979
นายกรัฐมนตรีTrygve Bratteli
Odvar Nordli
ก่อนหน้าTor Halvorsen
ถัดไปRolf A. Hansen
สมาชิกรัฐสภานอร์เวย์
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 1977 – 30 กันยายน 1997
เขตเลือกตั้งออสโล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
กรู ฮาเล็ม

(1939-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1939 (85 ปี)
Bærum, Akershus, ประเทศนอร์เวย์
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
คู่สมรสArne Olav Brundtland
บุตร4
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออสโล (Cand.Med.)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (MPH)
ลายมือชื่อ

บรึนต์ลันน์ศึกษาในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ เธอเป็นสมาชิกของพรรคแรงงาน และเข้าร่วมคณะรัฐบาลในปี 1974 ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม เธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของนอร์เวย์[1] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1981 และออกจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม 1981 ก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งเมื่อ 9 พฤษภาคม 1986 ถึง 16 ตุลาคม 1989 ก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งในสมัยที่สามเมื่อ 3 พฤศจิกายน 1990 เธอเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานนับตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1992 หลังจากเธอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยฉับพลันในปี 1996 ก่อนจะเข้าสู่ฐานะผู้นำระดับนานาชาติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสาธารณสุข เธอขึ้นเป็นอธิบดีองค์การอนามัยโลก และเป็นทูตพิเศษเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในปี 2007 ถึง 2010[2] นอกจากนี้ยังเป็นรองประธานดิเอลเดอส์ และอดีตรองประธานของกลุ่มสังคมนิยมสากล

บรึนต์ลันน์มีมุมมองทางการเมืองอยู่ในปีกกลางของพรรค เธอสนับสนุนการเป็นสมาชิกของนอร์เวย์ในสหภาพยุโรปในประชามติปี 1994 ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เธอได้รับการเรียกขานเป็น "มารดาของชาติ"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Worth, William E., บ.ก. (4 February 1981). "Norway picks prime minister". The Journal Herald. Vol. 174 no. 40. Dayton, Ohio. p. 8 – โดยทาง Newspapers.com.
  2. "UN Secretary-General Ban Ki-moon Appoints Special Envoys on Climate Change". United Nations. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-08-03.
  3. Gro Harlem Brundtland

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
แม่แบบ:S-dip
ก่อนหน้า กรู ฮาเล็ม บรึนต์ลันน์ ถัดไป
ตำแหน่งทางการเมือง
สมัยก่อนหน้า
Tor Halvorsen
รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม
1974–1979
สมัยต่อมา
Rolf Arthur Hansen
สมัยก่อนหน้า
Odvar Nordli
นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์
1981
สมัยต่อมา
Kåre Willoch
สมัยก่อนหน้า
Kåre Willoch
นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์
1986–1989
สมัยต่อมา
Jan Syse
สมัยก่อนหน้า
Jan Syse
นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์
1990–1996
สมัยต่อมา
Thorbjørn Jagland
วาระในพรรคการเมือง
สมัยก่อนหน้า
Reiulf Steen
หัวหน้าพรรคแรงงาน
1981–1992
สมัยต่อมา
Thorbjørn Jagland
สมัยก่อนหน้า
ฮิโรชิ นากาจิมะ
อธิบดีองค์การอนามัยโลก
1998–2003
สมัยต่อมา
ลี จงวุก