เจอรอนโทพลาสต์

(เปลี่ยนทางจาก Gerontoplast)

เจอรอนโทพลาสต์ (อังกฤษ: gerontoplast; กรีกโบราณ: γέρων - ชายชรา, πλαστός - ถูกขึ้นรูป) เป็นพลาสติดที่พัฒนามาจากคลอโรพลาสต์ในใบแก่ ทำหน้าที่ควบคุมการแยกสลายองค์ประกอบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงระหว่างการเสื่อมสภาพตามอายุ (senescence) ให้ดำเนินไปได้ เพื่อนำผลิตภัณฑ์จากการแยกสลายไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่พืชต้องการ[1][2] โดยทั่วไปการพัฒนาของเจอรอนโทพลาสต์เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของตั้งกรานา การสูญเสียเยื่อหุ้มไทลาคอยด์และการสะสมตัวของพลาสโทโกลบูล (plastoglobule) ในปริมาณสูง คำว่า Gerontoplast มีการนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1977 เพื่อนำมาอธิบายกระบวนการชราภาพของใบไม้[3]

ใบแปะก๊วยในฤดูใบไม้ร่วง
ใบแปะก๊วยในสภาพปกติ

การกลายสภาพคลอโรพลาสต์เป็นเจอรอนโทพลาสต์ แก้

กระบวนการชราภาพของใบนำมาซึ่งการแยกชิ้นส่วนของออร์แกเนลล์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของเซลล์ คลอโรพลาสต์ที่รับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปากใบเป็นออร์แกเนลล์สุดท้ายที่จะถูกย่อยสลายระหว่างการชราภาพและทำให้พืชยังคงมีสีเขียว[2] การก่อตัวของเจอรอนโทพลาสต์จากคลอโรพลาสต์ในระหว่างการชราภาพเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอย่างใหญ่หลวงของไทลาคอยด์เมมเบรนด้วยการก่อตัวร่วมกันของพลาสโตโกลบูลินกับสารที่เป็นไลโพฟิลิก (lipophilic) อย่างไรก็ตามเยื่อหุ้มของคลอโรพลาสต์ยังคงสภาพสมบูรณ์ตลอดกระบวนการดังกล่าว[3]

อ้างอิง แก้

  1. CTD, Gerontoplast
  2. 2.0 2.1 Wise, Robert (13 September 2007). The Structure and Function of Plastids. Springer Science & Business Media. p. 11–12. ISBN 9781402065705.
  3. 3.0 3.1 Biswal, Udaya; Mukesh, Raval (2003). Transformation of Chloroplast to Gerontoplast. Chloroplast Biogenesis. pp. 155–242. doi:10.1007/978-94-017-0247-8_4. ISBN 978-90-481-6415-8.