เอ็ทมุนท์ ฮุสเซิร์ล

(เปลี่ยนทางจาก Edmund Husserl)

เอ็ทมุนท์ กุสทัฟ อัลเบร็ชท์ ฮุสเซิร์ล (เยอรมัน: Edmund Gustav Albrecht Husserl) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันเชื้อสายออสเตรีย เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรากฏการณ์วิทยา ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยาที่ฮุสเซิร์ลคิดขึ้นมาถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอย่างยิ่งใหญ่ที่แยกออกจากปฏิฐานนิยม (positivism), ธรรมชาตินิยม (naturalism) และวัตถุนิยม (materialism) อย่างสิ้นเชิง ฮุสเซิร์ลเห็นว่าแทนที่มนุษย์จะอธิบายบรรดาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลกแห่งชีวิตของเราโดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ทั่วไป มนุษย์ควรจะพยายามทำความเข้าใจโครงสร้างความหมายของโลกแห่งชีวิตว่ามันประกอบขึ้นได้อย่างไร

เอ็ทมุนท์ ฮุสเซิร์ล
ฮุสเซิร์ลในคริสต์ทศวรรษ 1910
เกิด8 เมษายน ค.ศ. 1859
พร็อสนิทซ์, จักรวรรดิออสเตรีย จักรวรรดิออสเตรีย
เสียชีวิต27 เมษายน ค.ศ. 1938(1938-04-27) (79 ปี)
ไฟรบวร์ค, ประเทศเยอรมนี นาซีเยอรมนี
การศึกษามหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
(1876–1878)
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
(1878–1881)
มหาวิทยาลัยเวียนนา
(1881–1883, 1884–1886)
มหาวิทยาลัยฮัลเลอ
(1886–1887)
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักปรากฏการณ์วิทยา
Logical objectivism[1]
สถาบันมหาวิทยาลัยฮัลเลอ
มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค
ความสนใจหลัก
ญาณวิทยา, ภววิทยา, ปรัชญาคณิตศาสตร์

โดยทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยาของฮุสเซิร์ลนี้ การค้นหาความจริงที่ปรากฏอยู่โดยไม่มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ผู้ศึกษาเป็นอิสระจากกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี โดยให้บุคคลอธิบายเรื่องราวและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ตนเองประสบพบเจอโดยตัดอคติและตัดความเอนเอียงในเรื่องที่ศึกษา รวมทั้งขจัดความคิดเห็นของตนออกจากสิ่งที่ตนเองกำลังศึกษา (bracketing) เน้นที่จุดมุ่งหมาย (intentionality) และสาระสำคัญ (essences) ที่บุคคลนั้นรับรู้มา

อ้างอิง

แก้
  1. Penelope Rush, "Logical Realism", in: Penelope Rush (ed.), The Metaphysics of Logic, Cambridge University Press, 2014, pp. 13–31.
  2. Rollinger 1999, p. 126.
  3. 3.0 3.1 Sebastian Luft (ed.), The Neo-Kantian Reader, Routledge 2015, pp. 461–3.
  4. James R. O'Shea Wilfrid Sellars and His Legacy, Oxford University Press, 2016, p. 4.
  5. Hilary Putnam. Realism with a Human Face. Edited by James Conant. Harvard University Press. 1992. p. xlv.
  6. Edmund Husserl, Logical Investigations, Volume 1, Routledge & Keegan Paul, 2001: Introduction by Dermot Moran, p. lxiv: "Husserl ... visited England in 1922 intent on establishing relations with English philosophers ... He delivered a number of lectures which were attended by Gilbert Ryle..."