วงศ์กบลิ้นส้อม
(เปลี่ยนทางจาก Dicroglossidae)
วงศ์กบลิ้นส้อม | |
---|---|
กบดอยช้าง (Nanorana aenea) กบในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศไทย[1] | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Dicroglossidae Anderson, 1871 |
วงศ์ย่อย | |
|
วงศ์กบลิ้นส้อม (อังกฤษ: Fork-tongued frogs[2]) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบ จัดอยู่ในวงศ์ Dicroglossidae[2]
กบในวงศ์นี้มีกระดูกนาซัลเป็นชิ้นกว้างและอยู่ชิดกับกระดูกฟรอนโทพาไรทัล กระดูกหน้าอกมีด้านท้ายแยกจากกันเป็นสองแฉก อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันมาก ทั้งพื้นดิน, ใกล้แหล่งน้ำ และบนต้นไม้ วางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนเจริญเติบโตภายในไข่และลูกอ๊อดออกจากไข่มีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย[3]
จัดเป็นกบที่มีขนาดลำตัวเล็กหรือปานกลาง พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และบางส่วนของยุโรป เดิมเคยจัดอยู่รวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์กบแท้ (Ranidae) โดยจัดเป็นวงศ์ย่อย ใช้ชื่อว่า Dicroglossinae[3]
การจำแนก
แก้แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย
Dicroglossinae Anderson, 1871 — 162 ชนิด ใน 13 สกุล:[4]
- Allopaa Ohler & Dubois, 2006 (สองชนิด)
- Chrysopaa Ohler & Dubois, 2006 (ชนิดเดียว)
- Euphlyctis Fitzinger, 1843 (หกชนิด)
- Fejervarya Bolkay, 1915 (16 ชนิด)
- Hoplobatrachus Peters, 1863 (ห้าชนิด)
- Limnonectes Fitzinger, 1843 (61 ชนิด)
- Minervarya Dubois, Ohler, & Biju, 2001 (สองชนิด)
- Nannophrys Günther, 1869 (สี่ชนิด)
- Nanorana Günther, 1896 (28 ชนิด)
- Ombrana Dubois, 1992 (ชนิดเดียว)
- Quasipaa Dubois, 1992 (11 ชนิด)
- Sphaerotheca Günther, 1859 (ห้าชนิด)
- Zakerana Howlader, 2011 (20 ชนิด)
Occidozyginae Fei, Ye, & Huang, 1990 — 20 ชนิด ในสองสกุล:[5]
- Ingerana Dubois, 1987 (แปดชนิด)
- Occidozyga Kuhl & Van Hasselt, 1822 (12 ชนิด)
อ้างอิง
แก้- ↑ van Dijk, P.P. & Chan-ard, T. (2004). "Nanorana aenea". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 Frost, Darrel R. (2014). "Dicroglossidae Anderson, 1871". Amphibian Species of the World: an Online Reference. Version 6.0. American Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
- ↑ 3.0 3.1 วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 343. ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ Frost, Darrel R. (2014). "Dicroglossinae Anderson, 1871". Amphibian Species of the World: an Online Reference. Version 6.0. American Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
- ↑ Frost, Darrel R. (2014). "Occidozyginae Fei, Ye, and Huang, 1990". Amphibian Species of the World: an Online Reference. Version 6.0. American Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Dicroglossidae