กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม

(เปลี่ยนทางจาก Blue Ocean Strategy)

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (อังกฤษ: Blue Ocean Strategy) เป็นหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เขียนโดย W. Chan Kim และ Renée Mauborgne จากสถาบันกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (The Blue Ocean Strategy Institute) ที่อินซีด (INSEAD) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเชื่อของผู้เขียนว่า องค์การสามารถสร้างความเติบโตและผลกำไรในระดับสูง จากการก่อเกิดอุปสงค์ในช่องทางการตลาดที่ไร้การแข่งขัน ซึ่งเรียกว่า "น่านน้ำสีคราม" (blue ocean) มากกว่าจะไปแข่งขันตัวต่อตัว กับผู้จัดหาวัตถุดิบรายอื่นของลูกค้าที่รู้จักในอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว [1]

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม  
หน้าปกหนังสือของการพิมพ์ครั้งแรก
ผู้ประพันธ์W. Chan Kim และ Renée Mauborgne
ชื่อเรื่องต้นฉบับBlue Ocean Strategy
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาภาษาอังกฤษ
ประเภทการจัดการ
สำนักพิมพ์Harvard Business School Press
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2548
ชนิดสื่องานพิมพ์ (ปกแข็ง)
หน้า256 หน้า
ISBN1591396190
OCLC56421900
658.8/02 22
LC ClassHF5415.153 .K53 2005

ภาพรวม แก้

น่านน้ำสีแดง (red ocean) และ น่านน้ำสีคราม (blue ocean) เป็นอุปมาเชิงเปรียบเทียบที่อธิบายลักษณะของการแข่งขันในตลาด

น่านน้ำสีแดง หมายถึงอุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในทุกวันนี้ คือพื้นที่ว่างในการตลาดที่รู้จัก (known market space) ในน่านน้ำสีแดง ขอบเขตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นและเป็นที่ยอมรับ และมีกฎเกณฑ์แห่งเกมการแข่งขัน บริษัทต่างๆ ในกลุ่มนี้พยายามเอาชนะคู่แข่งขัน โดยการแก่งแย่งส่วนแบ่งอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มากกว่า เมื่อพื้นที่ว่างในการตลาดหนาแน่นมากขึ้น การคาดหวังต่อการเติบโตและผลกำไรจะลดลง ผลิตภัณฑ์จะกลายเป็นโภคภัณฑ์ (commodity) หรือไม่ก็สินค้าเฉพาะทาง (niche) และทำให้การแข่งขันในน่านน้ำเข้มข้นดุเดือดมากขึ้น จึงเป็นที่มาของวลีน่านน้ำสีแดง [2]

ในทางตรงข้าม น่านน้ำสีคราม หมายถึงอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ยังไม่มีในทุกวันนี้ คือพื้นที่ว่างในการตลาดที่ยังไม่รู้จัก (unknown market space) เป็นการแข่งขันที่ยังไม่มีมลทิน ในน่านน้ำสีคราม อุปสงค์ถูกสร้างขึ้นแทนที่จะต้องแก่งแย่งแข่งขัน มีโอกาสเหลือเฟือสำหรับการเติบโตทั้งในด้านการเข้าสู่ตลาดและการแสวงหาผลกำไร การแข่งขันยังเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือประเด็น เนื่องจากกฎเกณฑ์แห่งเกมการแข่งขันกำลังรอคอยที่จะถูกสร้างขึ้น น่านน้ำสีครามจึงเป็นการอุปมาช่องทางการตลาดที่มีศักยภาพกว้างกว่าและลึกกว่าซึ่งยังไม่เคยค้นพบมาก่อน [2]

อ้างอิง แก้

  1. Kim and Mauborgne. Blue Ocean Strategy. Harvard Business School Press. 2005.
  2. 2.0 2.1 "A conversation with W.Chan Kim and Renee Mauborgne" (PDF). INSEAD. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้