ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก

ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก มีลักษณะคล้ายกับตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าอื่นๆ ไม่มีการผันรูปกริยา มีการผันคำนามตามการกโดยเติมปัจจัยต่อท้ายนาม

การเรียงประโยค แก้

  • ประธาน-กรรม- กริยา เช่น Naisok ไนซอก mai ไม (ข้าว) chao เชา (กิน) = ไนซอกกินข้าว
  • คำแสดงความเป็นเจ้าของ-ประธาน-คำถาม เช่น Nini นีนี (ของคุณ) mung มุง (ชื่อ) tamo ตามอ (อะไร) = คุณชื่ออะไร
  • ประธาน-กริยา-คำถาม เช่น Nwng นืง (คุณ) thangnaide ทังไนเด (จะไป) = คุณจะไปหรือ
  • ประธาน-คำถาม-กริยา เช่น Nwng นืง (คุณ) tamoni bagwi ตามอนี บักวี (ทำไม) phai ไพ (มา) = คุณมาทำไม
  • ประธาน-กริยา-คำสั่ง เช่น Nwng นืง (คุณ) thangdi ทังดี (จงไป) = คุณจงไป

บุคคล แก้

ภาษากอกโบรอกไม่มีการเปลี่ยนรูปกริยาตามบุคคล

จำนวน แก้

มี 2 แบบ คือ พหูพจน์ กับเอกพจน์ คำที่ใช้แสดงพหูพจน์ มี 2 คำ คือ rok และ sung ใช้ต่อท้ายคำนามหรือสรรพนาม rok ใช้ได้ทั่วไป แต่ sung ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลเท่านั้น คำนามที่มีคุณศัพท์ขยาย จะแสดงพหูพจน์ทีคุณศัพท์แทน เช่น

Bwrwirok Teliamura o thangnai = ผู้หญิงเหล่านั้นจะไปที่เตลิอมุระ (Teliamura)

O bwrwi naithokrok kaham rwchabo = ผู้หญิงสวยเหล่านั้นร้องเพลงได้ดี

เพศ แก้

มี 4 เพศ คือ บุรุษลึงค์ (เพศชาย) สตรีลึงค์ (เพศหญิง) อลึงค์ (เพศไม่ปรากฏ) และ นปุงสกลึงค์ (ไม่มีเพศ) เช่น borok (ผู้ชาย) เป็นบุรุษลึงค์ bwrwr (ผู้หญิง) เป็น สตรีลึงค์ chwari (เด็ก) เป็น อลึงค์ buphang (ต้นไม้) เป็น นปุงสกลึงค์

การเปลี่ยนเพศของคำ แก้

ทำได้หลายวิธี เช่น

  • ใช้คำต่างกัน เช่น bwsai (สามี) – bihik (ภรรยา) ; phayong (พี่ชาย) – hanok (พี่สาว)
  • เติม -in ต่อท้ายรูปบุรุษ คำที่ลงท้ายด้วย a ตัด a ทิ้งไป เช่น sikla (ชายหนุ่ม) – sikli (หญิงสาว) ; achu (ปู่) – achui (ย่า)
  • เติม jwk ต่อท้ายรูปบุรุษ เช่น bwsa (ลูกชาย) – bwsajwk (ลูกสาว) ; kwra (พ่อตา) – kwrajwk (แม่ยาย)
  • คำที่เป็นอลึงค์ ทำให้อยู่ในรูปบุรุษโดยเติมปัจจัย sa, chwla, joa ทำให้อยู่ในรูปสตรีโดยเติม ma, jwk, bwrwi เช่น pun (แพะ) - punjua (แพะตัวผู้) – punjuk (แพะตัวเมีย) ; tok (ไก่) tokchwla (ไก่ตัวผู้) – tokma (ไก่ตัวเมีย) ; takhum (เป็ด) – takhumchwla (เป็ดตัวผู้) – takhumbwrwi (เป็ดตัวเมีย)

การกและการลงท้ายการก แก้

ภาษากอกโบรอก มีการกประธาน การกกรรม การกเครื่องมือ การกคำนาม การกความเป็นเจ้าของ และการกสถานที่ การลงท้ายของแต่ละการกคือ o (ประธาน) nu (กรรม) ha (เครื่องมือ) ni (คำนาม) ni (ความเป็นเจ้าของ) และ o (สถานที่) โดยการลงท้ายเหล่านี้ ใช้ต่อท้ายคำนามและคำสรรพนาม ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบของคำนาม

คำคุณศัพท์ แก้

วางต่อจากคำที่ขยาย ซึ่งใช้กับคำคุณศัพท์ดั้งเดิมเท่านั้น คำคุณศัพท์ ทิ่เป็นคำยืม อาจเรียงแบบอื่นได้ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ คำคุณศัพท์บริสุทธิ์ คำคุณศัพท์ประกอบ คำคุณศัพท์ขยายกริยา และคำคุณศัพท์ชนิดเค (k) ระดับแรกเป็นได้ทั้งคำดั้งเดิมและคำยืม ส่วนแบบที่ 4 พบเฉพาะคำดั้งเดิมเท่านั้น

อ้างอิง แก้

  • A simplified Kokborok Grammar, by Prof. Prabhas Chandra Dhar, 1987