ภาษากอกบอรอก หรือ ภาษาตรีปุรี เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตรีปุระ ในรัฐตรีปุระ และบริเวณใกล้เคียงในบังกลาเทศ เป็นภาษาตระกูลทิเบต-พม่า คำว่า กอกบอรอก มาจาก “kok” แปลว่า “ภาษา” และ “borok” ที่แปลว่าผู้ชาย ซึ่งใช้แทนชาวตรีปุระทั้งหมดด้วย ดังนั้น กอกบอรอก จึงหมายถึง “ภาษาของชาวตรีปุระ”

ภาษากอกบอรอก
ตรีปุรี, ตีปรา
Kok Borok
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย และ บังกลาเทศ
ภูมิภาครัฐตริปุระ, รัฐอัสสัม, รัฐมิโซรัม, ประเทศพม่า, Chittagong hill tracts, Cumilla, Chadpur, สิเลฏ, Rajbari, Feni District, Noakhali District
ชาติพันธุ์ชาวตรีปุรี
จำนวนผู้พูด1,011,294 (อินเดีย) (2011),[1] 400,000+ (บังกลาเทศ)  (2011)[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ตีปราตอนต้น
  • ภาษากอกบอรอก
ระบบการเขียนกอลอมา (เดิม)
อักษรเบงกอล–อัสสัม (ทางการ)
อักษรละติน (ทางการ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-3มีหลากหลาย:
trp – Kokborok
ria – reang
tpe – Tripuri
usi – Usui
xtr – Early Tripuri
นักภาษาศาสตร์xtr Early Tripuri
  ภูมิภาคที่มีผู้พูดภาษากอกบอรอกเป็นส่วนใหญ่
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกจัดให้ภาษากอกบอรอกอยู่ในกลุ่มภาษาที่มีความเสี่ยง

ประวัติ แก้

ภาษากอกบอรอกเริ่มปรากฏในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 เมื่อเริ่มมีพงศาวดารของกษัตริย์ตรีปุระ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าราชรัตนกิจ เขียนด้วยภาษากอกบอรอก อักษรที่ใช้เขียนภาษากอกบอรอกเรียกว่าอักษรกอลอมา ผู้เขียนคือ คุรลอเบนดรา ชอนไต

ในเวลาต่อมา มีพราหมณ์ 2 คน คือ สุเกรสวัร และวเนศวัร ได้แปลพงศาวดารนี้เป็นภาษาสันสกฤตและแปลต่อเป็นภาษาเบงกอลเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนฉบับเดิมที่เขียนด้วยภาษากอกบอรอกสูญหายไป ภาษากอกบอรอกถูกลดฐานะเป็นเพียงภาษาทั่วไปของสามัญชนตลอดสมัยราชอาณาจักรตรีปุระ ในขณะที่ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-25 ภาษากอกบอรอกเป็นภาษาราชการของรัฐตรีปุระเมื่อ พ.ศ. 2522 ปัจจุบันถือเป็นภาษาประจำชาติภาษาหนึ่งของอินเดีย

ไวยากรณ์ แก้

บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก

การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียง แก้

ภาษากอกบอรอกจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีความใกล้เคียงกับภาษาโบโด และภาษาดิมาซา ในรัฐอัสสัม รวมทั้งภาษากาโรที่ใช้พูดในบังกลาเทศ

ระบบเสียง แก้

โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ดังนี้

สระ แก้

มี 6 เสียง คือ a e i o u และ w (อา เอ อี ออ อู และ อือ ตามลำดับ) เสียง w ใกล้เคียงกับเสียง ü ในภาษาเยอรมัน และเสียง u ในภาษาฝรั่งเศส

สระ[3]
หน้า กลาง หลัง
สูง i [i] ŵ [ə] u [u]
สูง-กลาง e [e]  
ต่ำ-กลาง     o [ɔ]
ต่ำ   a [a]  

พยัญชนะ แก้

พยัญชนะ
  ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ปลายลิ้น-
หลังปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไม่ก้อง p t t͡ʃ k  
ธนิต t͡ʃʰ  
ก้อง b d d͡ʒ ɡ  
เสียดแทรก ไม่ก้อง   s     h
นาสิก m n   ŋ  
เหลว   l, r      
เปิด w   j    

สระประสม แก้

ได้แก ai wi ui oi (อัย อืย อุย และออย ตามลำดับ)

พยางค์ แก้

คำส่วนใหญ่เกิดจากการรวมรากศัพท์กับปัจจัยหรืออุปสรรค ตัวอย่างเช่น

  • kuchuk (กูชุก) มาจากรากศัพท์ chuk หมายถึงสูง รวมกับอุปสรรค ku

ไม่มีคำในภาษากอกบอรอกที่ขึ้นต้นด้วย ng ตำแหน่งท้ายพยางค์จะมีสระอะไรก็ได้ยกเว้น w พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ p k m n ng r l เสียง y ที่เป็นตัวสะกดมักพบในสระประสม เช่น ai wi

กลุ่มพยัญชนะ แก้

กลุ่มของพยัญชนะที่พบในภาษากอกบอรอกมักเป็นเสียงควบกล้ำของ r หรือ l กับพยัญชนะอื่น เช่น p หรือ ph

วรรณยุกต์ แก้

มีสองเสียงคือเสียงสูงและเสียงต่ำ เสียงสูงแสดงโดยเติม h หลังสระ เช่น Lai (ไล) = ง่าย laih (ไหล) = ข้าม Cha (ชา) = ถูก Chah (ฉา) = กิน

สำเนียง แก้

ชุมชนชาวตรีปุระประกอบด้วยเผ่าและเผ่าย่อยมากมายกระจายอยู่ในรัฐตรีปุระ อัสสัม ไมโซรัม และจังหวัดใกล้เคียงในบังกลาเทศโดยเฉพาะบริเวณจิตตะกอง เผ่าหลักๆจะมีสำเนียงเป็นของตนเอง ที่มีความแตกต่างระหว่างกันเล็กน้อย สำเนียงตะวันตกที่ใช้พูดบริเวณเมืองหลวงอาร์คาตาลาที่พูดโดยเผ่าเดบบาร์มาเป็นสำเนียงมาตรฐานที่ใช้ในโรงเรียนและการเขียนและเป็นที่เข้าใจโดยั่วไปในฐานะภาษากลางของชาวตรีปุระในระหวางหุบเขา มีการใช้ภาษานี้สอนในมหาวิทยาลัยในระดับบัณฑิตศึกษา

การเขียน แก้

ภาษากอกบอรอกมีอักษรเป็นของตนเองเรียกกอลอมาซึ่งสาบสูญไปแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ราชอาณาจักรตรีปุระใช้อักษรเบงกอลเขียนภาษากอกบอรอก ตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราชและตรีปุระเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย มีการใช้อักษรโรมันโดยเฉพาะในองค์กรอกชน ปัญหาการใช้ตัวอักษรเป็นปัญหาการเมืองในตรีปุระ โดยฝ่ายซ้ายเสนอให้ใช้อักษรเบงกอล ในขณะที่ชาวคริสต์สนับสนุนให้ใช้อักษรโรมัน ปัจจุบันคงมีการใช้อักษรสองชนิดควบคู่กัน

ตัวเลข แก้

มีทั้งเลขฐาน 10 และเลขฐาน 20 การนับเลขได้แก่

sa = 1; nwi = 2; tham = 3; brwi = 4; ba = 5; dok = 6; sni = 7; char = 8; chuku =9; chi = 10; rasa = 100; saisa = 1,000 rwjag = 100,000; chisa = 10 + 1 = 11

อ้างอิง แก้

  1. Census of India 2011 - Languages and Mother tongues
  2. Kokborok ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    reang ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Tripuri ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Usui ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Early Tripuri ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. Veikho, Sahiinii Lemaina; Mushahary, Jitamoni (2015). "A preliminary acoustic study of vowels and tones in Kokborok". Nepalese Linguistics. 30: 161–166.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้