ในทางดาราศาสตร์ ไลเบรชัน (libration) คือรูปแบบการโคจรของดวงจันทร์ซึ่งทำให้สามารถเห็นพื้นผิวได้เกินกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวทั้งหมดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ถึงแม้ว่าดวงจันทร์จะหันด้านใกล้เข้าหาโลกเสมอเนื่องจากไทดัลล็อก (tidal locking) ไลเบรชันสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เดียวกันกับวัตถุโคจรอื่นๆ ซึ่งถูกล็อกให้แสดงให้เห็นเพียงด้านเดียว ในขณะที่การโคจรเกิดซ้ำไปซ้ำมา ไลเบรชันจะปรากฏขึ้นโดยเป็นการโยกไปข้างหน้าแล้วไปข้างหลัง (หรือขึ้นแล้วลง) ของผิวหน้าวัตถุซึ่งสามารถสังเกตได้จากวัตถุแม่ ดังเช่นการโยกไปมาของตาชั่งรอบจุดสมดุล

จำลองมุมมองของดวงจันทร์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือน แสดงให้เห็นถึงการเกิดไลเบรชันทั้งละติจูดและลองจิจูด

ในกรณีเฉพาะของการเกิดไลเบรชันของดวงจันทร์ ภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองของพื้นผิวดวงจันทร์ไปอย่างช้าๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แสดงว่าพื้นผิวของดวงจันทร์ถึงร้อยละ 59 สามารถสังเกตได้จากโลก

การเกิดไลเบรชันสามารถเกิดได้สามกรณี:

  • ไลเบรชันในลองจิจูด เกิดจากการที่วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกค่อนข้างรี ดังนั้นการหมุนของดวงจันทร์ในบางครั้งจึงล้ำหน้าหรือล้าหลังตำแหน่งโคจรของดวงจันทร์เอง
  • ไลเบรชันในละติจูด เกิดจากการที่แกนของดวงจันทร์หมุนเอียงอย่างเล็กน้อยกับระนาบวงโคจรจนตั้งฉากกับระนาบของวงโคจรรอบโลก สาเหตุที่เกิดคล้ายกับสาเหตุที่ทำให้เกิดฤดูกาลจากการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์
  • ไลเบรชันประจำวัน (Diurnal libration) เกิดจากการแกว่งไปมาอย่างเล็กน้อยของดวงจันทร์เนื่องจากการหมุนของโลกซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งผู้สังเกตที่อยู่บนพื้นผิวโลกจะมองเห็นด้านหนึ่งก่อนและหลังจากนั้นจะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางโลกไปยังจุดศูนย์กลางดวงจันทร์ ทำให้ผู้สังเกตได้มองเห็นส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ก่อนและจะเห็นอีกส่วนหนึ่งในภายหลัง สาเหตุนี้เกิดจากการที่ผู้สังเกตอยู่บนพื้นผิวโลก ไม่ได้อยู่ที่จุดศูนย์กลาง

อ้างอิง แก้

  • J. D. Mulhollan, E. C. Silverberg (1972). "Measurement of Physical Librations Using Laser Retroreflectors". Earth, Moon, and Planets. 4: 155–159. doi:10.1007/BF00562923.
  • Atlas of the Universe. Philip's. 2003. ISBN 0-540-08242-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Authour= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้