ไมตรีปาละ สิริเสนะ

ไมตรีปาละ สิริเสนะ (อักษรโรมัน: Maithripala Sirisena; สิงหล: මෛත්‍රීපාල සිරිසේන; เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวศรีลังกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่เจ็ดของศรีลังกา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558[1][2] ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[ต้องการอ้างอิง] เป็นประธานาธิบดีศรีลังกาคนแรกที่มาจากมณฑลกลางเหนือ (North Central Province) และไม่ได้มาจากกลุ่มอภิสิทธิชนทางการเมืองตามขนบประเพณี[3]

ไมตรีปาละ สิริเสนะ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017

เขาเข้าสู่การเมืองกระแสหลักเมื่อ พ.ศ. 2532 ด้วยการเป็นสมาชิกรัฐสภาศรีลังกา และได้ว่าการหลายกระทรวงตั้งแต่ พ.ศ. 2537[4] ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้ารับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2558 คือ เลขาธิการพรรคเสรีภาพศรีลังกา (Sri Lanka Freedom Party) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เขาเป็นบุคคลที่กลุ่มฝ่ายค้านมีมติร่วมกันให้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[5][6] ชัยชนะที่เขาได้รับในการเลือกตั้งดังกล่าวนั้น มองกันว่า "เหนือความคาดหมาย" (surprise) เพราะเขาได้รับคะแนนเสียงจากเขตเลือกตั้งแถบชนบทซึ่งชนกลุ่มใหญ่เป็นชาวสิงหล ทั้งได้คะแนนเสียงจากชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมและทมิฬที่ถูกพรรครัฐบาลทอดทิ้งเนื่องจากนโยบายปรองดองหลังสงครามและการแบ่งแยกดินแดนที่ทวีความรุนแรงเรื่อย ๆ[3][7][8][9] เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว มีข่าวว่า สิริเสนะให้คำมั่นว่า จะดำเนินโครงการ "ปฏิรูป 100 วัน" (100-day reform) เพื่อจัดสมดุลใหม่ให้แก่ฝ่ายบริหารภายใน 100 วันนับแต่วันได้รับเลือกตั้ง โดยจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ จะปราบทุจริต จะสืบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จะยกเลิกรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 18 ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาก จะกลับไปใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 17 และจะตั้งรนิล วิกรมสิงหะ (Ranil Wickremesinghe) หัวหน้าพรรคร่วมแห่งชาติ (United National Party) เป็นนายกรัฐมนตรี[10][11][12] แต่ภายหลังเขาแถลงว่า โครงการนี้เป็นความคิดของใครก็ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่ของเขา[13][14]

เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อหน้ากนกสปาปติ ศรีปวัน (Kanagasabapathy Sripavan) ประธานศาลสูงสุด ณ จัตุรัสเอกราช เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:20 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น)[15][16] สาบานตนเสร็จแล้วเขาก็ตั้งวิกรมสิงหะเป็นนายกรัฐมนตรีทันที[17][18] ทั้งแถลงว่า จะอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงวาระเดียว[19] เขายังประกาศโอนอำนาจที่สำคัญของประธานาธิบดีไปให้รัฐสภาโดยสมัครใจในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558[20][21]

เขาเป็นที่กล่าวขวัญเพราะสร้างความประหลาดใจหลายประการให้ชาวศรีลังกา เช่น ออกกิจจานุเบกษา (gazette) ทุกวันศุกร์มาตั้งแต่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และในปีเดียวกันนั้น เขายังถอดวิกรมสิงหะออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่วิกรมสิงหะเป็นผู้สนับสนุนหลักให้เขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2558 แล้วเขาตั้งมหินทะ ราชปักษะ (Mahinda Rajapaksa) อดีตประธานาธิบดีซึ่งเคยเป็นคู่แข่งของเขา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน นอกจากนี้ เขายังสั่งปิดประชุมรัฐสภา ทั้งหมดทั้งมวลนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญศรีลังกา จึงนำไปสู่วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ[22][23][22][24]

อ้างอิง แก้

  1. "Sirisena to be sworn in as Sri Lanka's new president". Gulf Times. Agence France-Presse. 9 January 2015.
  2. Balachandran, P. K. (9 January 2015). "Sirisena Finally Romps Home With 51.28 Per Cent". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-07-22.
  3. 3.0 3.1 Burke, Jason (9 January 2015). "Sri Lanka election result: Who is new President Maithripala Sirisena?". The Guardian.
  4. "All you need to know about Maithripala Sirisena". The Hindu. 9 January 2015.
  5. "Central & South Asia Sri Lanka minister to challenge president". Al Jazeera. 21 November 2014.
  6. "Maithiripala Sirisena of SLFP emerges as common opposition candidate contesting Rajapaksa". TamilNet. 21 November 2014.
  7. "Sirisena Calls for Peace After Surprise Sri Lanka Victory". Bloomberg News. 9 January 2015.
  8. Crabtree, James (9 January 2015). "Maithripala Sirisena faces task of repairing Sri Lanka's image". Financial Times.
  9. Burke, Jason; Perera, Amantha (10 January 2015). "Sri Lanka's new president promises 'no more abductions, no more censorship'". The Guardian.
  10. Bastians, Dharisha (22 พฤศจิกายน 2014). "No Maithri for Mahinda". Daily FT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014.
  11. Mallawarachi, Bharatha (21 November 2014). "Sri Lanka leader to face health minister in polls". San Francisco Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-22.
  12. Srinivasan, Meera (22 November 2014). "Chandrika returns to politics". The Hindu.
  13. ""I have no idea who came up with the 100 day program" – President – Sri Lanka Latest News". Sri Lanka News – Newsfirst | Breaking News and Latest News provider | Political | Sports | International | Business (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-05-31. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  14. "100-day programme was the 'stupidest' thing done – President". www.adaderana.lk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  15. "Sirisena sworn in as Sri Lanka president". Al Jazeera. 9 January 2015.
  16. "Maithri sworn in". The Daily Mirror (Sri Lanka). 9 January 2015.
  17. Srinivasan, Meera (9 January 2015). "Sirisena deposes Rajapaksa". The Hindu.
  18. "Ranil new Prime Minister". The Daily Mirror (Sri Lanka). 9 January 2015.
  19. "Sri Lanka's new president appoints PM". Special Broadcasting Service. Australian Associated Press. 10 January 2015.
  20. Maithripala’s finest hour The Sunday Times, Retrieved 4 May 2015
  21. The Monk and the Man who changed history เก็บถาวร 2016-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sunday Observer, Retrieved 4 May 2015
  22. 22.0 22.1 "Sri Lankan Strongman's Return Sparks 'Constitutional Crisis'". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  23. Diplomat, Tasnim Nazeer, The. "Sri Lanka's Constitutional Crisis and the Right to Press Freedom". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  24. "House of Cards in the Indian Ocean". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-11-04. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.