ไฟของนักบุญเอลโม

ปรากฏการณ์สภาพอากาศ

ไฟของนักบุญเอลโม (อังกฤษ: St. Elmo's fire) เป็นปรากฏฎการณ์ในทางสภาพอากาศอย่างหนึ่ง ที่พลาสมาแบบส่องสว่างถูกสร้างขึ้นจากปรากฏการณ์โคโรนาซึ่งเป็นการปล่อยประจุไฟฟ้าจากวัตถุที่มีปลายแหลม ในสภาพบรรยากาศที่มีสนามแม่เหล็กสูง (เช่น ในขณะที่กำลังมีพายุ หรือในระหว่างการระเบิดของภูเขาไฟ) แสงไฟของนักบุญเอลโมจะปรากฏเป็นแสงเรืองสีฟ้าสดใส หรือเป็นสีม่วง และมักมีลักษณะเป็นแสงพวยพุ่งออกจากวัตถุที่เป็นแท่งยาว ๆ หรือมีปลายแหลม เช่น เสากระโดงเรือ บราลี ส่วนยอดของปราสาท จนไปถึงปลายปีกเครื่องบิน

ไฟของนักบุญเอลโมปรากฏขึ้นบนเรือที่กำลังแล่นในทะเล

ไฟของนักบุญเอลโม ถูกตั้งชื่อตามนักบุญเอราสมุส แห่งฟอร์เมีย (St. Erasmus of Formia) ซึ่งชาวอิตาลีเรียกว่า นักบุญเอลโม โดยถือกันว่าท่านเป็นนักบุญผู้คุ้มครองกะลาสีและนักเดินเรือ

ปรากฏการณ์ ไฟของนักบุญเอลโม เป็นที่รู้จักกันมาแต่สมัยกรีกโบราณ โดยนักเดินเรือชาวกรีกเรียกแสงประเภทนี้ว่า เฮเลแน (กรีก: Ἑλένη, "คบเพลิง") หากปรากฏเป็นแสงเดี่ยว ๆ แต่จะเรียกว่า คาสตอร์กับโพลีเดวเคส (Kastor and Polydeukes) หากเกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์แสงคู่ (ซึ่งเป็นชื่อของฝาแฝดผู้เป็นพี่น้องกับเฮเลน เจ้าหญิงแห่งรัฐสปาร์ตา ซึ่งถูกเจ้าชายปารีสแห่งกรุงทรอยลักพาตัว)