ไทรย้อยใบแหลม

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก ไทร)

ไทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus benjamina) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อย

ไทรย้อยใบแหลม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: กุหลาบ
Rosales
วงศ์: วงศ์ขนุน
Moraceae
เผ่า: Ficeae
Ficeae
สกุล: โพ
Ficus
สกุลย่อย: F. subg. Urostigma
Ficus subg. Urostigma
L. 1767[1]
สปีชีส์: Ficus benjamina
ชื่อทวินาม
Ficus benjamina
L. 1767[1]
ขอบเขตกระจายพันธุ์ของไทรย้อยใบแหลม
ชื่อพ้อง[1]
Synonymy
  • Ficus benjamina var. bracteata Corner
  • Ficus benjamina var comosa (Roxb.) Kurz
  • Ficus benjamina subsp. comosa (Roxb.) Panigrahi & Murti
  • Ficus benjamina var. comosa King
  • Ficus benjamina var. haematocarpa (Blume ex Decne.) Miq.
  • Ficus benjamina var. nuda (Miq.) M.F.Barrett
  • Ficus benjamina f. warringiana M.F.Barrett
  • Ficus comosa Roxb.
  • Ficus cuspidatocaudata Hayata
  • Ficus dictyophylla Wall. [Invalid]
  • Ficus haematocarpa Blume ex Decne.
  • Ficus lucida Aiton
  • Ficus neglecta Decne.
  • Ficus nepalensis Blanco
  • Ficus nitida Thunb.
  • Ficus notobor Buch.-Ham. ex Wall. [Invalid]
  • Ficus nuda (Miq.) Miq.
  • Ficus papyrifera Griff.
  • Ficus parvifolia Oken
  • Ficus pendula Link
  • Ficus pyrifolia Salisb. [Illegitimate]
  • Ficus reclinata Desf.
  • Ficus retusa var. nitida (Thunb.) Miq.
  • Ficus striata Roth
  • Ficus umbrina Elmer
  • Ficus xavieri Merr.
  • Urostigma benjaminum var. nudum Miq.
  • Urostigma neglectum Miq. Unresolved
  • Urostigma nudum Miq.

ความเชื่อเกี่ยวกับไทร

แก้

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น จนมีคำโบราณกล่าวว่า "ร่มโพธิ์ร่มไทร" ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวันตกผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

ไทรย้อยใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

 
ใบของไทรย้อยใบแหลม

ลักษณะทั่วไป

แก้

ไทร เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงสูงสุด 10 เมตร โดยประมาณ มีรากอากาศย้อยสวยงาม น้ำยางขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี
ดอก เป็นดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน

สรรพคุณ

แก้

ตำรายาไทยใช้ รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

การปลูก

แก้

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 1- 2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะ

การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและ เพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง 2 วิธี ดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Ficus benjamina L.". World Checklist of Selected Plant Families (WCSP). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 2015-07-19 – โดยทาง The Plant List.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Frith, H.J.; Rome, F.H.J.C. & Wolfe, T.O. (1976): Food of fruit-pigeons in New Guinea. Emu 76(2): 49–58. HTML abstract