ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง
บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด (อังกฤษ: Thai Honda Co., Ltd.) เป็นบริษัทที่อยู่ในเครือฮอนด้าในประเทศไทย โดยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ มีสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และสำนักงานฝ่ายขายและการตลาดอยู่ที่ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัทฯทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย
สัญลักษณ์รถจักรยานยนต์ฮอนด้า | |
ประเภท | บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ |
---|---|
อุตสาหกรรม | อุตสาหกรรมยานยนต์ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2508 |
สำนักงานใหญ่ | |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | ดร.อารักษ์ พรประภา ประธานบริษัท มร.ยูอิจิ ชิมิซุ ประธานกรรมการบริหาร |
ผลิตภัณฑ์ | รถจักรยานยนต์ |
เว็บไซต์ | www.thaihonda.co.th |
ประวัติ
แก้ธุรกิจรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยการนำเข้าของ บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักงานใหญ่จาก บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาฮอนด้าได้ตัดสินใจก่อสร้างโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าขึ้นในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการก่อตั้ง บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2508
ในช่วงแรกของการประกอบกิจการรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ฮอนด้าต้องประสบปัญหาไม่น้อยในการจัดจำหน่าย เนื่องจากการแข่งขันกันเองระหว่างผู้จัดจำหน่าย 3 ราย ซึ่งต่างก็มีหุ้นส่วนในบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งได้สิทธิในการจำหน่ายรถที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้เหมือนกัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2529 ได้มีนโยบายจากฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ให้ยุบรวมฝ่ายขายรวมกับ บริษัท พี.ไทยแลนด์ แมชินเนอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารายใหญ่ในขณะนั้น เพื่อจัดช่องทางการจำหน่ายใหม่ จึงก่อให้เกิด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ขึ้นมา เพื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 35 ปี
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เอ.พี.ฮอนด้า ได้เริ่มต้นธุรกิจบิ๊กไบค์ในประเทศไทย โดยการเปิดศูนย์ ฮอนด้าบิ๊กวิง (Honda BigWing)[1] เพื่อจัดจำหน่ายรถฮอนด้าบิ๊กไบค์ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่น ก่อนที่ฮอนด้าจะขึ้นไลน์ผลิตรถบิ๊กไบค์ขนาดกลางในเมืองไทย ในเวลาต่อมา[2] และได้นำมาจำหน่ายที่ศูนย์นี้ด้วยเช่นกัน
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เอ.พี.ฮอนด้า ได้เปิดตัว คับเฮ้าส์ (Cub House)[3] เพื่อจัดจำหน่ายรถกลุ่มพิเศษที่ฮอนด้าเรียกว่า รถมูลค่าเพิ่ม แยกออกจากการจำหน่ายรถทั่วไป และรถบิ๊กไบค์ เนื่องจากมีกลุ่มฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เอ.พี.ฮอนด้า ได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เกิดเป็นบริษัท ไทยฮอนด้่า จำกัด กลายเป็นบริษัทผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายจักรยานยนต์ฮอนด้า รวมถึงเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้า ในประเทศไทย[4]
รูปแบบการดำเนินธุรกิจ
แก้ไทยฮอนด้า ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าในประเทศไทย และได้มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ฮอนด้าบางรุ่น จากประเทศญี่ปุ่น โดยในส่วนของรถจักรยานยนต์ทั่วไป จะถูกจัดจำหน่ายผ่านศูนย์ฮอนด้าวิงเซ็นเตอร์ (Honda Wing Center) ในขณะที่รถกลุ่มพิเศษจำหน่ายผ่านร้านคับเฮ้าส์ (CUB House) ในขณะที่รถบิ๊กไบค์ ถูกจัดจำหน่ายผ่านศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิง (Honda BigWing) ซึ่งปัจจุบันมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ
ประเภทของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ที่ผลิตในประเทศไทยในปัจจุบัน
แก้ประเทศไทยถือเป็นฐานผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารายใหญ่ของโลก เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
- Underbone : Wave Series, Super Cub
- Minibike : GROM, Monkey
- Scooter : Scoopy, Giorno+, PCX, ADV, Click, Forza
- Sport bike : CBR Series
- Classic : Rebel Series, CL Series