โอลิมปิก แดม (อังกฤษ: Olympic Dam) เป็นศูนย์กลางเหมืองแร่ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างจากเมืองแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 550 กิโลเมตร ที่นี่เป็นแหล่งแร่ทองแดง, ทอง, เงิน และยูเรเนียมขนาดมหึมา มีทั้งกิจกรรมขุดแร่ใต้ดิน และโรงงานแยกแร่ในที่เดียวกัน โอลิมปิก แดมนี้ เป็นแหล่งแร่ยูเรเนียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าแร่ยูเรเนียมจากที่นี่จะเป็นแหล่งรายได้ส่วนน้อยเท่านั้น

Clarke and Robinson shafts (centre)

การใช้ประโยชน์ แก้

 
ผลผลิตของแร่ธาตุที่ได้จากเหมืองแร่ โอลิมปิก แดม

โอลิมปิก แดมถูกค้นพบใน พ.ศ. 2518 โดยบริษัทเวสเทิร์นไมน์นิง คอร์ปูเรชัน (อังกฤษ: Western Mining Corpulation) หรือ ดับบิวเอ็มซี รีซอร์ซเซส (อังกฤษ: WMC Resources) ในปัจจุบัน เริ่มดำเนินการขุดแร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2530 ปัจจุบัน ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท บีเฮชพี บิลลิตัน (อังกฤษ: BHP Billiton) บริษัทแม่ของดับบิวเอ็มซี รีซอร์ซเซส โดยมีการโดนทรัพย์สินในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน การขุดเหมืองนี้ใช้เทคนิกวิศวกรรมที่เรียกว่า "Sublevel Open Stopping" โดยใช้เครื่องมือสมัยใหม่ที่ให้ประสิทธิผลสูง จากการสำรวจในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 พบว่า โอลิมปิก แดมผลิตแร่ได้ถึง 9.1 ล้านตันต่อปี เป็นเหมืองแร่ที่มีกำลังผลิตสูงสุดในออสเตรเลีย และใน พ.ศ. 2548นี้เอง มีการขุดทองแดงมากกว่า 220,000 และ ยูเรเนียม ออกไซด์ 4,500 ตัน ทองแดงและยูเรเนียม ออกไซด์ที่ขุดได้นี้จะถูกส่งไปยังพอร์ท แอดิเลด คนงานในเหมืองส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง ร็อซบี ดาว์นส์และอันดามูกา มีเที่ยวบินโดยสารเดินทางสู่โอลิมปิกแดมสามารถลงจอดได้ที่ท่าอากาศยานโอลิมปิกแดม

โอลิมปิก แดมใช้น้ำบาดาลจากอ่างเก็บน้ำ เกรท อาเทเซียวันละ 35 ล้านลิตร กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำบาดาลสูงที่สุดในซีกโลกใต้ [1]

การขยายกำลังผลิต แก้

แผนการขยายกำลังผลิตนั้น มีเป้าหมายอยู่ที่ 40ล้านตันต่อปี โดยมุ่งผลิตทองแดงปีละ 450,000 ตัน และยูเรเนียม ออกไซด์ปีละ 14,000 ตัน แผนการขยายากำลังผลิตจะเริ่มลงมือในช่วงกลางปีพ.ศ. 2551 และจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2556[2]

ปีพ.ศ. 2550 บริษัทบีเฮชพี บิลลิตันกลายเป็นที่สนใจต่อสื่อมวลชนเนื่องจากความล่าช้าในการส่งรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(อังกฤษ: environmental impact statement) สำหรับแผนการขยายกำลังผลิตที่โอลิมปิก แดม และความไม่เหมาะสมในแผนการขยายกำลังผลิต[2]

อ้างอิง แก้

  1. "Indigenous nuclear campaigner wins national environment award". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  2. 2.0 2.1 Uranium mining and the question of corporate social responsibility

แหล่งข้อมูลอื่น แก้